เจ้าพนักงานประเมินและอำนาจเจ้าพนักงานประเมิน (ตอนที่ 3)
บทความวันที่ 5 มี.ค. 2561 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 7273 ครั้ง
บทความวันที่ 5 มี.ค. 2561 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 7273 ครั้ง
เจ้าพนักงานประเมินและอำนาจเจ้าพนักงานประเมิน (ตอนที่ 3)
3. การลดหรืองดเบี้ยปรับเงินเพิ่ม
3.1
การลดหรืองดเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากรประเมิน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 27 ทวิ
วรรคสอง มาตรา 67 ตรี วรรคสาม มาตรา 89 วรรคสอง และมาตรา 91/21 (6) อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ได้ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 81/2542 กำหนดหลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา
89 และมาตรา 91/21 (6)
ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2542 โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันออกคำสั่งนี้เป็นต้นไป
ดังต่อไปนี้
“ข้อ 1 ให้ยกเลิก
(1) คำสั่งกรมสรรพากรที่
ท.ป. 11/2529 เรื่อง ระเบียบการงด
หรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้และภาษีการค้าตามมาตรา 22 มาตรา 26
มาตรา 67 ตรี และมาตรา 89 ลงวันที่ 10 กันยายน 2529
(2) คำสั่งกรมสรรพากรที่
ท.ป. 37/2534 เรื่อง ระเบียบการงด หรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา
89 และภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/21 (6) ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 50/2537
ลงวันที่ 7 กันยายน 2537
ข้อ 2 ให้บุคคลที่จะต้องเสียเบี้ยปรับตามมาตรา
22 มาตรา 26 มาตรา 89 หรือมาตรา 91/21 (6) ทำคำร้องเป็นหนังสือยื่นต่อเจ้าพนักงาน
ประเมินแสดงเหตุที่ของดหรือลดเบี้ยปรับนั้น
เว้นแต่กรณีอธิบดีกรมสรรพากรพิจารณาเห็น
สมควรจะสั่งให้งดหรือลดเบี้ยปรับโดยไม่ต้องมีคำร้องก็ได้
การยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่ง
ให้ยื่นก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือ แจ้งการประเมิน
ถ้าได้รับหนังสือแจ้งการประเมินแล้ว ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ
พิจารณาอุทธรณ์ตามกฎหมายต่อไป
ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระ
ภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการ หรือกรณีผู้ประกอบกิจการที่เสียภาษีธุรกิจ
เฉพาะได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีธุรกิจเฉพาะพร้อมกับการยื่นแบบแสดงราย
การนั้น โดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือ ให้ถือว่า
แบบแสดงรายการดังกล่าวเป็นคำร้องตามวรรคหนึ่ง
คำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือตามวรรคสาม
หมายความถึง กรณีเจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจพบความผิดและได้มีการบันทึกความผิดไว้ใน
หนังสือหรือบันทึกข้อความแล้ว
(ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 127/2546)
ข้อ 3
เจ้าพนักงานประเมินจะพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับให้ได้เฉพาะกรณีเจ้า พนักงานประเมินเห็นว่า
บุคคลที่จะต้องเสียเบี้ยปรับไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีและได้ให้ความ
ร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนด้วยดี
ข้อ 4 การลดเบี้ยปรับตามมาตรา 22 หรือมาตรา 26
ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจพิจารณาสั่งลดได้ แต่ต้องให้เสียไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
ของเบี้ยปรับ
ข้อ 5 การลดเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (1) มาตรา 89 (2) มาตรา 89 (3) และมาตรา 89 (4)
ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจพิจารณาสั่งลดได้
โดยให้ลดลงคงเสียตามอัตราและเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีตามมาตรา
83/7 ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือแบบนำส่งภาษีและชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม
พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการหรือแบบนำส่งนั้น โดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจ
สอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือ ให้เสียเบี้ยปรับดังนี้
(ก) ถ้าชำระภายใน 15 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม
ให้เสียร้อยละ 2 ของเบี้ยปรับ
(ข) ถ้าชำระภายหลัง 15 วัน
แต่ไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 5
ของเบี้ยปรับ
(ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่
ป. 117/2545)
(ค) ถ้าชำระภายหลัง 30 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม
ให้เสียร้อยละ 10 ของเบี้ยปรับ
(ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 117/2545)
(ง) ถ้าชำระภายหลัง 60 วัน
นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 20 ของเบี้ยปรับ
(2) ในกรณีเจ้าพนักงานประเมินได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษี
หรือผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีตามมาตรา 83/7 ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.71) หรือแบบนำส่งภาษี
และผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือผู้มีหน้าที่นำส่งภาษี ตามมาตรา 83/7 ได้มายื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือแบบนำส่งภาษี
และชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการหรือแบบนำส่งนั้น
(ก) ภายในกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือดังกล่าว
ให้เสีย ร้อยละ 40 ของเบี้ยปรับ
(ข) พ้นกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือดังกล่าว ให้เสียร้อยละ 50
ของเบี้ยปรับ
(3) ในกรณีเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบการกระทำความผิดในการ
เสียภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีตามมาตรา
83/7
และได้มีการบันทึกความผิดไว้ในหนังสือหรือบันทึกข้อความแล้ว
ให้เสียเบี้ยปรับดังนี้
(ก) ถ้าการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น
ภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 40
ของเบี้ยปรับ
(ข) ถ้าการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อ
พ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 50
ของเบี้ยปรับ
(4) ในกรณีที่มีการตรวจพบการกระทำความผิดตาม
(3) แล้ว แต่ เจ้าพนักงานประเมินยังไม่ได้ดำเนินการประเมินภาษีให้เสร็จสิ้น
และผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือ ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีตามมาตรา 83/7 ได้มายื่นแบบแสดงรายการภาษี
หรือแบบนำส่งภาษีและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการหรือแบบนำส่งนั้น
ก่อนที่จะได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน
ให้ถือว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจพบการกระทำ
ความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือผู้มีหน้าที่นำส่งภาษี
ให้เจ้าพนักงาน ประเมินมีอำนาจพิจารณาสั่งลดเบี้ยปรับได้ ตามอัตราและเงื่อนไขตาม
(3)
ข้อ 6 การลดเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (5) และมาตรา 89 (10)
ซึ่งไม่ใช่กรณีมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ
ให้เจ้าพนักงานประเมินมี อำนาจพิจารณาสั่งลดได้
โดยให้ลดลงคงเสียตามอัตราและเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(ก) ถ้าการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นภายใน หนึ่งปี
นับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 40 ของเบี้ยปรับ
(ข) ถ้าการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อพ้น
กำหนดหนึ่งปี นับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 50
ของเบี้ยปรับ
ข้อ 7 การลดเบี้ยปรับตามมาตรา 89
(10) กรณีมีสินค้า ขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ
ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจพิจารณาสั่งลดได้ โดยให้
ลดลงคงเสียตามอัตราและเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้นำฐานภาษีซึ่งมีการกระทำความผิด
กรณีมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษี
มูลค่าเพิ่มพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการแล้ว
ไม่ว่าการยื่นแบบแสดงรายการภาษีนั้นจะ ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่
ให้เสียเบี้ยปรับดังนี้
(ก) ถ้าการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น
ภายในสองปี นับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 10 ของเบี้ยปรับ
(ข) ถ้าการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อ
พ้นกำหนดสองปี นับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 20
ของเบี้ยปรับ
(2)
ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ได้นำฐานภาษีซึ่งมีการกระทำความผิด
กรณีมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
ให้เสียร้อยละ 30 ของเบี้ยปรับ
ข้อ 8
การลดเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (8)
ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจพิจารณาสั่งลดได้
โดยให้ลดลงคงเสียตามอัตราและเงื่อนไขดัง ต่อไปนี้
(1) ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้นำฐานภาษีซึ่งมีการกระทำความผิดตาม
มาตรา 89 (8) ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม
พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการแล้ว ไม่ว่าการยื่นแบบแสดงรายการภาษีนั้นจะถูกต้องครบ
ถ้วนหรือไม่ ให้เสียเบี้ยปรับดังนี้
(ก) ถ้าการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ภายในสองปี
นับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 0.5
ของเบี้ยปรับ
(ข) ถ้าการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อ
พ้นกำหนดสองปี นับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 1
ของเบี้ยปรับ
(2) ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ได้นำฐานภาษีซึ่งมีการกระทำความผิด
ตามมาตรา 89 (8) ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
ให้เสีย ร้อยละ 10 ของเบี้ยปรับ
ข้อ 9 การลดเบี้ยปรับตามมาตรา 89
(9) ให้เจ้าพนัก
งานประเมินมีอำนาจพิจารณาสั่งลดได้ แต่ต้องให้เสียไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
ของเบี้ยปรับ
ข้อ 10
การงดหรือลดเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (6)
และมาตรา 89 (7) เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจพิจารณาสั่งงดหรือลดได้
เว้นแต่อธิบดีกรมสรรพากรจะสั่งเป็นอย่างอื่น ข้อ 11
การงดหรือลดเบี้ยปรับนอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในคำสั่งนี้ ให้
กระทำได้เมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบหมาย
(ดู คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 120/2545)
(ดู คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 121/2545)
(ดู คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 127/2546)
ข้อ 12 ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องเสียเบี้ยปรับหลายกรณีตามมาตรา 89
ให้เจ้าพนักงานประเมินสั่งเรียกเก็บเบี้ยปรับได้เพียงกรณีเดียว ซึ่ง
เป็นกรณีที่จะทำให้เรียกเก็บได้เงินเป็นจำนวนมาก และอาจพิจารณาสั่งลดให้อีกตามข้อ
5 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 หรือข้อ 11 สำหรับกรณีที่เรียกเก็บนั้น
ส่วนกรณีอื่นให้งด
ข้อ 13
ให้นำความในข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 11 และข้อ 12
มาใช้บังคับสำหรับการงดหรือลดเบี้ยปรับตามมาตรา 91/21 (6) โดยอนุโลม
(ดู คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 121/2545)
(ดู คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 127/2546)
ข้อ 14 ให้บุคคลที่จะต้องเสียเงินเพิ่ม
ตามมาตรา 67 ตรี ทำคำร้องเป็น
หนังสือยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินแสดงเหตุที่ของดหรือลดเงินเพิ่มนั้น
เว้นแต่กรณีอธิบดีกรม
สรรพากรพิจารณาเห็นสมควรจะสั่งให้งดหรือลดเงินเพิ่มโดยไม่ต้องมีคำร้องก็ได้
การยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่ง
ให้ยื่นก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือ แจ้งการประเมิน
ถ้าได้รับหนังสือแจ้งการประเมินแล้ว ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณา
อุทธรณ์ตามกฎหมายต่อไป
ในกรณีบุคคลตามวรรคหนึ่งได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษี
เงินได้นิติบุคคลกลางปี โดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็น
หนังสือ ให้ถือว่าแบบแสดงรายการดังกล่าวเป็น
คำร้องตามวรรคหนึ่ง
คำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือตามวรรคสาม
หมายความถึง กรณีเจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจพบความผิดและได้มีการบันทึกความผิด
ไว้ในหนังสือหรือบันทึกข้อความแล้ว
ข้อ 15 เจ้าพนักงานประเมินจะพิจารณางดหรือลดเงินเพิ่มให้ได้เฉพาะกรณี
เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่า
บุคคลที่จะต้องเสียเงินเพิ่มไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีและได้ให้
ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนด้วยดี
ข้อ 16 การลดเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี ให้เจ้าพนัก
งานประเมินมีอำนาจพิจารณาสั่งลดได้ ดังต่อไปนี้
(1) กรณีบุคคลที่จะต้องเสียเงินเพิ่มได้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระ
ภาษีพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการ โดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวน
โดยตรงเป็นหนังสือ ให้ลดเงินเพิ่มได้ แต่ต้องเสียในอัตราและตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(ก) ถ้าชำระภายใน 2 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ ให้เสียร้อยละ 0.10 ของเงินภาษีที่ต้องชำระ
(ข) ถ้าชำระภายหลัง 2 วัน แต่ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้น
กำหนดเวลายื่นรายการ ให้เสียร้อยละ 0.50
ของเงินภาษีที่ต้องชำระ
(2) กรณีอื่นนอกจาก
(1) ให้เสียร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษ
ของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ แต่ไม่เกินเงินเพิ่มตามที่กฎหมายกำหนด
ข้อ 17 การงดหรือลดเงินเพิ่มนอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในคำสั่งนี้
ให้
กระทำได้เมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบหมาย
ข้อ 18 คำสั่งกรมสรรพากรที่ถูกเลิกโดยคำสั่งนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีการค้า
ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปสำหรับการจัดเก็บภาษีการค้าที่ต้องชำระอยู่ก่อนหรือในและหลังวันที่
คำสั่งฉบับนี้ใช้บังคับ”
3.2 แนวปฏิบัติเกี่ยวกับเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการคำนวณเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา
89 และมาตรา 89/1 ในบางกรณี กรมสรรพากรได้ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.
81/2542 เรื่อง การคำนวณเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89
และมาตรา 89/1 ลงวันที่ 24 มกราคม 2542 ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก
(1) คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 30/2535 เรื่อง
การคำนวณเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89 และมาตรา
89/1 ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2535
(2) คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 38/2536 เรื่อง
การคำนวณเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89 (10) ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน
2536
ข้อ 2 กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
(ภ.พ.30) หรือยื่นแบบแสดงรายการภาษีเมื่อพ้นกำหนดเวลา
ให้คำนวณเบี้ยปรับสองเท่าของจำนวนภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษีตามมาตรา 89 (2)
จำนวนภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษีตามวรรคหนึ่ง
หมายความถึง จำนวนภาษีที่ต้องเสียตามมาตรา 82/3 วรรคสอง
ข้อ 3
กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30)
ไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด
อันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีขายหรือจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไปตามมาตรา
89 (4) ทั้งนี้ ไม่ว่าจะได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในกำหนดเวลาหรือยื่นแบบแสดงรายการภาษีเมื่อพ้นกำหนดเวลา
ให้คำนวณเบี้ยปรับดังนี้
(1) กรณีแสดงจำนวนภาษีขายไว้ขาดไป
และแสดงจำนวนภาษีซื้อไว้ถูกต้อง
ให้คำนวณเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีขายที่แสดงไว้ขาดไป
(2) กรณีแสดงจำนวนภาษีขายไว้ขาดไป และแสดงจำนวนภาษีซื้อไว้ขาดไป
ให้คำนวณเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีขายที่แสดงไว้ขาดไป
(3) กรณีแสดงจำนวนภาษีขายไว้ขาดไป
และแสดงจำนวนภาษีซื้อไว้เกินไป
ให้คำนวณเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีขายที่แสดงไว้ขาดไป
และคำนวณเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินไป
(4) กรณีแสดงจำนวนภาษีขายไว้เกินไป
และแสดงจำนวนภาษีซื้อไว้ถูกต้อง ไม่ต้องคำนวณเบี้ยปรับแต่อย่างใด
(5) กรณีแสดงจำนวนภาษีขายไว้เกินไป
และแสดงจำนวนภาษีซื้อไว้ขาดไป ไม่ต้องคำนวณเบี้ยปรับแต่อย่างใด
(6) กรณีแสดงจำนวนภาษีขายไว้เกินไป และแสดงจำนวนภาษีซื้อไว้เกินไป
ให้คำนวณเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินไป
(7)
กรณีแสดงจำนวนภาษีขายไว้ถูกต้อง และแสดงจำนวนภาษีซื้อไว้ขาดไป
ไม่ต้องคำนวณเบี้ยปรับแต่อย่างใด
(8) กรณีแสดงจำนวนภาษีขายไว้ถูกต้อง
และแสดงจำนวนภาษีซื้อไว้เกินไป
ให้คำนวณเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินไป
ข้อ 4 กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี
(ภ.พ.30)
ภายในกำหนดเวลาไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาดอันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษีคลาดเคลื่อนไป
ให้คำนวณเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีที่เสียคลาดเคลื่อนตามมาตรา 89 (3)
จำนวนภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษีตามวรรคหนึ่ง
หมายความถึง จำนวนภาษีที่ต้องเสียตามมาตรา 82/3 วรรคสอง
จำนวนภาษีที่เสียคลาดเคลื่อนตามวรรคหนึ่ง
หมายความถึงผลต่างระหว่างจำนวนภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อตามแบบแสดงรายการภาษีกับจำนวนภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อที่พึงต้องเสียในเดือนภาษีนั้น
จำนวนภาษีที่เสียคลาดเคลื่อนตามวรรคสาม
ได้แก่
(1) กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี
(ภ.พ.30)
แสดงจำนวนภาษีที่ต้องชำระไว้น้อยกว่าจำนวนภาษีที่พึงต้องชำระในเดือนภาษีนั้น ให้คำนวณเบี้ยปรับตามวรรคหนึ่ง
(2) กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี
(ภ.พ.30) แสดงจำนวนภาษีที่ขอคืนไว้มากกว่าจำนวนภาษีที่พึงได้คืนในเดือนภาษีนั้น
ไม่ต้องคำนวณเบี้ยปรับตามวรรคหนึ่ง
(3) กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี
(ภ.พ.30) แสดงจำนวนภาษีที่ขอคืน
แต่ในเดือนภาษีนั้นนอกจากไม่มีจำนวนภาษีที่พึงได้คืนแล้ว
ยังมีจำนวนภาษีที่พึงต้องชำระอีกด้วย
ให้คำนวณเบี้ยปรับตามวรรคหนึ่งเฉพาะจำนวนภาษีที่พึงต้องชำระ
ข้อ 5 กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี
(ภ.พ.30) ภายในกำหนดเวลาไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด
อันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีขายหรือจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไปตามข้อ 3
และยังเป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษีตามข้อ 4
คลาดเคลื่อนไปด้วย ให้คำนวณเบี้ยปรับตามข้อ 3 และยังต้องคำนวณเบี้ยปรับตามข้อ 4
ด้วย แต่ให้เรียกเก็บเบี้ยปรับเพียงกรณีเดียวซึ่งเป็นกรณีที่จะทำให้เรียกเก็บเบี้ยปรับได้เงินเป็นจำนวนมากกว่า
ข้อ 6 กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี
(ภ.พ.30) ภายในกำหนดเวลาไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด
และต่อมาได้มีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมสำหรับเดือนภาษีนั้นตามมาตรา
83/4 ให้คำนวณเบี้ยปรับตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5
การยื่นแบบแสดงรายการภาษี
(ภ.พ.30) เพิ่มเติมภายในกำหนดเวลาไม่ต้องคำนวณเบี้ยปรับตามวรรคหนึ่ง
ข้อ 7 กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30)
เมื่อพ้นกำหนดเวลา โดยได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด
และต่อมาได้มีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมสำหรับเดือนภาษีนั้นตามมาตรา
83/4 ให้คำนวณเบี้ยปรับตามข้อ 2 ของจำนวนภาษีที่ต้องเสียเพิ่มเติมนั้น
ถ้าการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมตามวรรคหนึ่งได้ปรับปรุงจำนวนภาษีขายและหรือจำนวนภาษีซื้อที่ได้แสดงไว้คลาดเคลื่อนไปตามข้อ
3 ให้คำนวณเบี้ยปรับตามข้อ 3 ด้วย แต่ให้เรียกเก็บเบี้ยปรับตามข้อ 3
หรือเบี้ยปรับตามวรรคหนึ่งเพียงกรณีเดียว
ซึ่งเป็นกรณีที่จะทำให้เรียกเก็บเบี้ยปรับได้เงินเป็นจำนวนมากกว่า
ข้อ 8
ให้นำหลักเกณฑ์การคำนวณเบี้ยปรับตามข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ
7 มาใช้บังคับโดยอนุโลมเพียงเท่าที่ไม่ขัดกัน สำหรับกรณีดังต่อไปนี้
(1) การยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.31)
ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีซึ่งได้คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/16
(2) การยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.36)
ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามมาตรา 82/1 (2) โดยวิธีนำส่งภาษีตามมาตรา
83/7
(3) การยื่นใบขนสินค้าตามแบบที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด
(ใบขนสินค้าขาเข้า) ของผู้นำเข้าที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/8
ข้อ 9 กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจพบว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ได้จัดทำใบกำกับภาษีและส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
ให้คำนวณเบี้ยปรับสองเท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษีตามมาตรา 89 (5)
ไม่ให้นำหลักเกณฑ์การคำนวณเบี้ยปรับตามวรรคหนึ่งมาใช้บังคับในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้นำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีที่ไม่ได้จัดทำตามวรรคหนึ่งไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีแล้ว
โดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือ
คำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือตามวรรคสองหมายความถึง
กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจพบความผิดและได้มีการบันทึกความผิดไว้ในแบบ
ต.ป.05 หรือแบบ ต.6 แล้ว
ข้อ 10 กรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนกระทำผิดดังต่อไปนี้
(1) ไม่ได้จัดทำรายงานภาษีขายตามมาตรา 87
(1)
(2) ไม่ได้จัดทำรายงานมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา
87 วรรคสอง
(3) ไม่ได้จัดทำรายงานอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดตามมาตรา
87/1
(4) ลงรายการในรายงานภาษีขาย
รายงานมูลค่าของฐานภาษี หรือรายงานอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
ไม่ถูกต้องครบถ้วน
ทั้งนี้
ให้คำนวณเบี้ยปรับสองเท่าของเงินภาษีซึ่งคำนวณจากฐานภาษีที่ไม่ได้จัดทำรายงาน หรือไม่ได้ลงรายการในรายงานให้ถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา
89 (10) แล้วแต่กรณี
การลงรายการในรายงานภาษีขาย
รายงานมูลค่าของฐานภาษี หรือรายงานอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดไม่ถูกต้องครบถ้วนตามวรรคหนึ่ง
ไม่ให้นำไปใช้กับกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินได้คำนวณมูลค่าของฐานภาษีเพิ่มขึ้นตามราคาตลาดของสินค้าหรือบริการ
ตามมาตรา 79/3 (1)
ฐานภาษีที่ไม่ได้จัดทำรายงานตามวรรคหนึ่ง
หมายความถึง ฐานภาษีตามส่วน 3 ในหมวด 4 แห่งประมวลรัษฎากร
จากการที่ประกอบการจดทะเบียนได้ขายสินค้าหรือได้ให้บริการไปแล้ว
และมีหน้าที่ต้องลงรายการในรายงานตามมาตรา 87
แต่ไม่รวมถึงฐานภาษีของสินค้าที่ยังไม่ได้ขายซึ่งตรวจนับได้
ฐานภาษีที่ไม่ได้ลงรายการในรายงานให้ถูกต้องครบถ้วนตามวรรคหนึ่งหมายความถึง
ฐานภาษีตามส่วน 3 ในหมวด 4 แห่งประมวลรัษฎากร
จากการที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ขายสินค้าหรือได้ให้บริการไปแล้ว และมีหน้าที่ต้องลงรายการในรายงานตามมาตรา
87 แต่ลงรายการในรายงานไม่ถูกต้องครบถ้วน
โดยไม่รวมถึงฐานภาษีของสินค้าที่ยังไม่ได้ขายซึ่งตรวจนับได้
ข้อ 11
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ได้เก็บและรักษารายงานภาษีขาย รายงานมูลค่าของฐานภาษี
หรือรายงานอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ไว้ ณ สถานประกอบการที่ทำงานตามมาตรา
87/3 ให้ถือว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ได้จัดทำรายงานตามข้อ 10 (1)(2)
หรือ (3) แล้วแต่กรณี
กรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ได้เก็บและรักษารายงานภาษีขาย
รายงานมูลค่าของฐานภาษี หรือรายงานอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ไว้ ณ
สถานประกอบการตามวรรคหนึ่ง
ถ้าเจ้าพนักงานประเมินพิจารณาเห็นว่ามีเหตุอันสมควรให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนำรายงานภาษีขาย
รายงานมูลค่าของฐานภาษี หรือรายงานอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
มาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการตรวจสอบภายในระยะเวลาที่กำหนด และผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถนำรายงานดังกล่าวมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการตรวจสอบได้
ให้ถือว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดทำรายงานภาษีขายตามมาตรา 87 (1)
หรือรายงานมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 87 วรรคสอง
หรือรายงานอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดตามมาตรา 87/1 แล้วแต่กรณี
กำหนดเวลาตามวรรคสองต้องไม่เกิน
7 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานประเมินตรวจพบการกระทำความผิด ทั้งนี้
เว้นแต่อธิบดีกรมสรรพากรจะสั่งเป็นอย่างอื่น
ข้อ 12 กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ได้จัดทำรายงานภาษีซื้อ ตามมาตรา 87 (2)
หรือลงรายการในรายงานภาษีซื้อไม่ถูกต้องครบถ้วน
หรือลงรายการในรายงานภาษีซื้อไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามมาตรา 87 และมาตรา
87/3 วรรคสอง หรือไม่ได้เก็บและรักษารายงานภาษีซื้อไว้ ณ
สถานประกอบการทำรายงานตามมาตรา 87/3 ไม่ต้องคำนวณเบี้ยปรับตามมาตรา 89
(10)
ข้อ 13 ให้นำหลักเกณฑ์การคำนวณเบี้ยปรับตามข้อ 10 และข้อ 11
มาใช้บังคับในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ได้จัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ตามมาตรา
87 (3) และมาตรา 87 วรรคสอง
หรือลงรายการในรายงานสินค้าและวัตถุดิบไม่ถูกต้องครบถ้วน
หรือไม่ได้เก็บและรักษารายงานสินค้าและวัตถุดิบไว้ ณ สถานประกอบการที่ทำงานตามมาตรา
87/3
ข้อ 14
ในการตรวจปฏิบัติการ
หรือการตรวจสอบทั่วไปกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ได้จัดทำรายงานหรือไม่ได้ลงรายการในรายงานให้ถูกต้องครบถ้วนตามข้อ
10 ข้อ 11 และข้อ 13
ถ้าเจ้าพนักงานประเมินไม่มีหลักฐานข้อหนึ่งข้อใดดังต่อไปนี้ เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจประเมินเบี้ยปรับตามมาตรา
89 (10)
(1) ปรากฏแก่เจ้าพนักงานประเมินว่า
ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด
(2) ในกรณีเจ้าพนักงานประเมินมีหลักฐานแสดงว่า
ผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นแบบแสดงรายการภาษีโดยแสดงจำนวนภาษีที่ต้องเสียต่ำกว่าความเป็นจริง
(3) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินหรือไม่ยอมตอบคำถามของเจ้าพนักงานประเมินโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
(4) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่สามารถแสดงใบกำกับภาษีในกรณีภาษีซื้อหรือสำเนาใบกำกับภาษีในกรณีภาษีขาย
พร้อมหลักฐานอื่นเพื่อการคำนวณภาษีหรือการเครดิตภาษี
(5) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่เก็บสำเนาใบกำกับภาษีในกรณีภาษีขายและหลักฐานต่าง
ๆ ประกอบการลงรายงานตามที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือ
(6) ปรากฏแก่เจ้าพนักงานประเมินว่าผู้ประกอบการซึ่งต้องยื่นคำขอจดทเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา
85/1 มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีหลักฐานข้อหนึ่งข้อใดตามวรรคหนึ่ง
ให้คำนวณเบี้ยปรับตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 10 ข้อ 11 และข้อ 13
ไม่ให้นำหลักเกณฑ์การคำนวณเบี้ยปรับตามวรรคสองมาใช้บังคับในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้นำภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากฐานภาษีที่ไม่ได้จัดทำรายงาน
หรือไม่ได้ลงรายการในรายงานให้ถูกต้องครบถ้วนตามข้อ 10 ข้อ 11 และข้อ 13
ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีแล้ว
โดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือ
คำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือตามวรรคสามหมายความถึง
กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจพบความผิดและได้มีการบันทึกความผิดไว้ในแบบ
ต.ป.05 หรือแบบ ต.6 แล้ว
ข้อ 15 กรณีมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา
87 (3) หรือมาตรา 87 วรรคสอง หมายความถึง
กรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87 (3)
หรือมาตรา 87 วรรคสอง
แต่เมื่อมีการตรวจนับสินค้าไม่ว่าโดยผู้ประกอบการจดทะเบียนเองหรือเจ้าพนักงานประเมินปรากฏว่ามีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ
ซึ่งถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา77/1 (8)(จ)
ให้คำนวณเบี้ยปรับสองเท่าของเงินภาษีซึ่งคำนวณจากมูลค่าของฐานภาษีตามราคาตลาดของสินค้าในวันที่ตรวจพบตามมาตรา
79/3 (3) และมาตรา 89 (10)
ข้อ 16
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีความรับผิดต้องเสียเบี้ยปรับตามข้อ 10 ข้อ
11 ข้อ 13 หรือข้อ 15 ให้คำนวณเบี้ยปรับทุกกรณี
แต่ให้เรียกเก็บเบี้ยปรับเพียงกรณีเดียวซึ่งเป็นกรณีที่จะทำให้เรียกเก็บเบี้ยปรับได้เงินเป็นจำนวนมากกว่า
ข้อ 17
ให้นำหลักเกณฑ์การคำนวณเบี้ยปรับตามข้อ 10 ข้อ 11 และข้อ 13
มาใช้บังคับสำหรับการทำรายงานแสดงรายรับก่อนหักรายจ่ายที่ต้องเสียภาษีและรายรับที่ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี
ตามมาตรา 91/14 โดยอนุโลมเพียงเท่าที่ไม่ขัดกัน
ข้อ 18
กรณีผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีดังต่อไปนี้ ไม่ได้ยื่นแบบนำส่งภาษี (ภ.พ.36)
หรือยื่นแบบนำส่งภาษี (ภ.พ.36) เมื่อพ้นกำหนดเวลา หรือยื่นแบบนำส่งภาษี (ภ.พ.36)
ไว้ไม่ถูกต้อง ไม่ต้องคำนวณเบี้ยปรับตามมาตรา 89
(1) ผู้ทอดตลาดซึ่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา
83/5 แห่งประมวลรัษฎากร
(2) ผู้จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรซึ่งได้เข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราวตามมาตรา
85/3 ทั้งนี้ ตามมาตรา 83/6 (1)
(3) ผู้จ่ายเงินค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการที่ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
ตามมาตรา 83/6 (2)
ข้อ 19 กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามมาตรา
82/1 โดยวิธีนำส่งภาษีตามมาตรา 83/7 ดังต่อไปนี้
ไม่ได้ยื่นแบบนำส่งภาษี (ภ.พ.36) หรือยื่นแบบนำส่งภาษี (ภ.พ.36) เมื่อพ้นกำหนดเวลา
ให้คำนวณเบี้ยปรับสองเท่าของเงินภาษีที่ต้องนำส่งในเดือนภาษีตามมาตรา 89 (2)
(1) ผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในบริการตามมาตรา 82/1 (2) ซึ่งสินค้าหรือบริการดังกล่าวได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ
0 ตามมาตรา 80/1 (5)
(2) ผู้รับโอนสินค้าตามมาตรา 82/1 (3)(ข)
ซึ่งสินค้าดังกล่าวได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81 (2)(ค)
กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามมาตรา
82/1 โดยวิธีนำส่งภาษีตามมาตรา 83/7 ตามวรรคหนึ่งยื่นแบบนำส่งภาษี
(ภ.พ.36)
ภายในกำหนดเวลาไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาดอันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่นำส่งไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด
ให้คำนวณเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของเงินภาษีที่นำส่งคลาดเคลื่อนตามมาตรา 89 (3)
ข้อ 20 กรณีที่ผู้มีหน้าทีเสียภาษี
หรือผู้มีหน้าที่นำส่งภาษี กระทำผิดดังต่อไปนี้
(1) ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30
หรือใบขนสินค้าขาเข้า) หรือแบบนำส่งภาษี (ภ.พ.36)
(2) ยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30
หรือใบขนสินค้าขาเข้า) หรือแบบนำส่งภาษี (ภ.พ.36) เมื่อพ้นกำหนดเวลา
(3) ยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30 หรือใบขนสินค้าขาเข้า) หรือแบบนำส่งภาษี
(ภ.พ.36)
ภายในกำหนดเวลาโดยยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือแบบนำส่งภาษีไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด
อันเป็นเหตุให้ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีในเดือนภาษีไม่ถูกต้องครบถ้วน
(4) มีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีเพิ่มเติมตามมาตรา
83/4 อันเนื่องจากชำระภาษีในเดือนภาษีไม่ถูกต้องครบถ้วน
ทั้งนี้
ให้คำนวณเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5
ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับตามมาตรา
89/1
ข้อ 21 เงินเพิ่มตามมาตรา
89/1
ให้คำนวณจากเงินภาษีที่ต้องชำระในเดือนภาษีหลังจากนำเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือนภาษีจากการคำนวณภาษีตามมาตรา
82/3 ไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มหรือเครดิตภาษีตามส่วน 8 ของหมวด 4 ในลักษณะ 2
มาหักออก
เครดิตภาษีที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือนภาษีตามวรรคหนึ่ง
หมายความถึงภาษีซื้อที่คงเหลืออยู่จริงจากการคำนวณภาษีตามมาตรา 82/3
วรรคสาม ซึ่งสะสมมาจากเดือนภาษีก่อนและได้แสดงในแบบแสดงรายการในเดือนภาษีที่ผ่านมา
ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนนำเครดิตภาษีมาชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามส่วน
8 ของหมวด 4 ในลักษณะ 2
เกินกว่าจำนวนเครดิตภาษีที่เหลืออยู่จริงในแบบแสดงรายการภาษีของเดือนที่ผ่านมา
อันเป็นเหตุให้การชำระภาษีตามแบบแสดงรายการภาษีไม่ถูกต้องครบถ้วน
ให้คำนวณเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ
โดยไม่ต้องคำนวณเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (3)
ข้อ 22
ให้นำหลักเกณฑ์การคำนวณเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มตามข้อ 2 ถึงข้อ 21มาใช้บังคับในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษีเอง
หรือผู้มีหน้าที่นำส่งภาษียื่นแบบนำส่งภาษีเอง
หรือในกรณีเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีในทุกกรณี
ข้อ 23
กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีความรับผิดต้องเสียเบี้ยปรับตามข้อ 2 ถึงข้อ
21 และในกรณีอื่นตามมาตรา 89 ให้คำนวณเบี้ยปรับทุกกรณี
แต่การงดหรือลดเบี้ยปรับและการเรียกเก็บเบี้ยปรับให้เป็นไปตามระเบียบหรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง
ข้อ 24 ระเบียบ
คำสั่ง หนังสือตอบข้อหารือ หรือทางปฏิบัติใดที่ขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้
ให้เป็นอันยกเลิก”
(ดู ตัวอย่างการคำนวณเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มตามคำสั่งกรมสรรพากรที่
ป. 81/2542 ประกอบ)
จากคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 81/2542
ลงวันที่ 24 มกราคม 2542 ดังกล่าว อาจแยกพิจารณาแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการคำนวณเบี้ยปรับตามมาตรา
89 ได้ดังนี้
3.2.1 เบี้ยปรับตามมาตรา 89 (2)
(1) กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
(ภ.พ.30) หรือยื่นแบบแสดงรายการภาษีเมื่อพ้นกำหนดเวลา ให้คำนวณเบี้ยปรับสองเท่าของจำนวนภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษี
ตามมาตรา 89 (2)
จำนวนภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษี หมายความถึง จำนวนภาษีที่ต้องเสีย ได้แก่ กรณีภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ
ซึ่งคำนวณตามมาตรา 82/3 วรรคสอง (ข้อ 2)
(2)
กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30) เมื่อพ้นกำหนดเวลา
โดยได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด
และต่อมาได้มีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมสำหรับเดือนภาษีนั้นตามมาตรา
83/4 ให้คำนวณเบี้ยปรับตามข้อ 2 ของจำนวนภาษีที่ต้องเสียเพิ่มเติมนั้น
ถ้าการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมดังกล่าวได้ปรับปรุงจำนวนภาษีขาย
และหรือจำนวนภาษีซื้อที่ได้แสดงไว้คลาดเคลื่อนไป ให้คำนวณเบี้ยปรับตามข้อ 3.2.2
ด้วย แต่ให้เรียกเก็บเบี้ยปรับเพียงกรณีเดียว
ซึ่งเป็นกรณีที่จะทำให้เรียกเก็บเบี้ยปรับได้เงินเป็นจำนวนมากกว่า (ข้อ 7)
3.2.2 เบี้ยปรับตามมาตรา 89 (3) และ (4)
(1)
กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30)
ภายในกำหนดเวลาไว้ไม่ถูกต้อง
หรือมีข้อผิดพลาดอันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษีคลาดเคลื่อนไป
ให้คำนวณเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีที่เสียคลาดเคลื่อนตามมาตรา 89 (3)
จำนวนภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษี
หมายความถึง จำนวนภาษีที่ต้องเสีย ได้แก่ กรณีภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ ซึ่งคำนวณตามมาตรา
82/3 วรรคสอง
จำนวนภาษีที่เสียคลาดเคลื่อน
หมายความถึง ผลต่างระหว่างจำนวนภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ
ตามแบบแสดงรายการภาษีกับจำนวนภาษีขาย
หักด้วยภาษีซื้อที่พึงต้องเสียในเดือนภาษีนั้น ได้แก่
(ก)
กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30)
แสดงจำนวนภาษีที่ต้องชำระไว้น้อยกว่าจำนวนภาษีที่พึงต้องชำระในเดือนภาษีนั้น
ให้คำนวณเบี้ยปรับตามวรรคหนึ่ง
(ข)
กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30)
แสดงจำนวนภาษีที่ขอคืนไว้มากกว่าจำนวนภาษีที่พึงได้คืนในเดือนภาษีนั้น
ไม่ต้องคำนวณเบี้ยปรับตามวรรคหนึ่ง
(ค)
กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30) แสดงจำนวนภาษีที่ขอคืน
แต่ในเดือนภาษีนั้นนอกจากไม่มีจำนวนภาษีที่พึงได้คืนแล้ว
ยังมีจำนวนภาษีที่พึงต้องชำระอีกด้วย
ให้คำนวณเบี้ยปรับตามวรรคหนึ่งเฉพาะจำนวนภาษีที่พึงต้องชำระ (ข้อ 4)
(2) เบี้ยปรับตามมาตรา
89 (4)
กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี
(ภ.พ.30) ไว้ไม่ถูกต้อง หรือมีข้อผิดพลาด
อันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีขายหรือจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไปตามมาตรา
89 (4) ทั้งนี้
ไม่ว่าจะได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในกำหนดเวลาหรือยื่นแบบแสดงรายการภาษีเมื่อพ้นกำหนดเวลา
ให้คำนวณเบี้ยปรับดังนี้
(ก)
กรณีแสดงจำนวนภาษีขายไว้ขาดไป และแสดงจำนวนภาษีซื้อไว้ถูกต้อง
ให้คำนวณเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีขายที่แสดงไว้ขาดไป
(ข)
กรณีแสดงจำนวนภาษีขายไว้ขาดไป และแสดงจำนวนภาษีซื้อไว้ขาดไป
ให้คำนวณเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีขายที่แสดงไว้ขาดไป
(ค)
กรณีแสดงจำนวนภาษีขายไว้ขาดไป และแสดงจำนวนภาษีซื้อไว้เกินไป
ให้คำนวณเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีขายที่แสดงไว้ขาดไป
และคำนวณเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินไป
(ง)
กรณีแสดงจำนวนภาษีขายไว้เกินไป และแสดงจำนวนภาษีซื้อไว้ถูกต้อง
ไม่ต้องคำนวณเบี้ยปรับแต่อย่างใด
(จ)
กรณีแสดงจำนวนภาษีขายไว้เกินไป และแสดงจำนวนภาษีซื้อไว้ขาดไป
ไม่ต้องคำนวณเบี้ยปรับแต่อย่างใด
(ฉ)
กรณีแสดงจำนวนภาษีขายไว้เกินไป และแสดงจำนวนภาษีซื้อไว้เกินไป
ให้คำนวณเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินไป
(ช)
กรณีแสดงจำนวนภาษีขายไว้ถูกต้อง และแสดงจำนวนภาษีซื้อไว้ขาดไป
ไม่ต้องคำนวณเบี้ยปรับแต่อย่างใด
(ซ)
กรณีแสดงจำนวนภาษีขายไว้ถูกต้อง และแสดงจำนวนภาษีซื้อไว้เกินไป
ให้คำนวณเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินไป (ข้อ 3)
(3)
กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30)
ภายในกำหนดเวลาไว้ไม่ต้องหรือมีข้อผิดพลาด
อันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไปโดยแสดงจำนวนภาษีขายขาด
หรือจำนวนภาษีซื้อเกิน
และยังเป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษีคลาดเคลื่อนไปด้วย ให้คำนวณเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (4) ตามข้อ
(2) ข้างต้น และยังต้องคำนวณเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (3) ตามข้อ (1) ด้วย
แต่ให้เรียกเก็บเบี้ยปรับเพียงกรณีเดียวซึ่งเป็นกรณีที่จะทำให้เรียกเก็บเบี้ยปรับได้เงินเป็นจำนวนมากกว่า
(ข้อ 5)
(4)
กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30) ภายในกำหนดเวลาไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด
และต่อมาได้มีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมสำหรับเดือนภาษีนั้น ตามมาตรา
83/4 ให้คำนวณเบี้ยปรับตามข้อ (1) (2) และ (3)
การยื่นแบบแสดงรายการภาษี
(ภ.พ.30) เพิ่มเติมภายในกำหนดเวลาไม่ต้องคำนวณเบี้ยปรับ (ข้อ 6)
3.2.3 ให้นำหลักเกณฑ์การคำนวณเบี้ยปรับตามข้อ 4.3.1 และข้อ 4.3.2
มาใช้บังคับโดยอนุโลมเพียงเท่าที่ไม่ขัดกัน สำหรับกรณีดังต่อไปนี้
(1)
การยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.36) ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามมาตรา 82/1 (2)
โดยวิธีนำส่งภาษีตามมาตรา 83/7
(2)
การยื่นใบขนสินค้าตามแบบที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด (ใบขนสินค้าขาเข้า)
ของผู้นำเข้าที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/8 (ข้อ 8)
3.2.4 กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจพบว่า
ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ได้จัดทำใบกำกับภาษี
และส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ให้คำนวณเบี้ยปรับสองเท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษีตามมาตรา
89 (5)
ไม่ให้นำหลักเกณฑ์การคำนวณเบี้ยปรับดังกล่าว
มาใช้บังคับในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้นำภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตามใบกำกับภาษีที่ไม่ได้จัดทำไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีแล้ว
โดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือ
คำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือ
หมายความถึง
กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจพบความผิดและได้มีการบันทึกความผิดไว้ในแบบ
ต.ป.05 หรือแบบ ต.6 แล้ว (ข้อ 9)
3.2.5 เบี้ยปรับตามมาตรา 89 (5) และ (10)
(1) กรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนกระทำผิดดังต่อไปนี้
(ก)
ไม่ได้จัดทำรายงานภาษีขายตามมาตรา 87 (1)
(ข)
ไม่ได้จัดทำรายงานมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 87 วรรคสอง
(ค)
ไม่ได้จัดทำรายงานอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดตามมาตรา 87/1
(ง)
ลงรายการในรายงานภาษีขาย รายงานมูลค่าของฐานภาษี
หรือรายงานอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ไม่ถูกต้องครบถ้วน
ทั้งนี้
ให้คำนวณเบี้ยปรับสองเท่าของเงินภาษีซึ่งคำนวณจากฐานภาษีที่ไม่ได้จัดทำรายงาน
หรือไม่ได้ลงรายการในรายงานให้ถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 89 (10) แล้วแต่กรณี
การลงรายการในรายงานภาษีขาย
รายงานมูลค่าของฐานภาษี
หรือรายงานอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดไม่ถูกต้องครบถ้วนดังกล่าว
ไม่ให้นำไปใช้กับกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินได้คำนวณมูลค่าของฐานภาษีเพิ่มขึ้นตามราคาตลาดของสินค้า
หรือบริการ ตามมาตรา 79/3 (1)
ฐานภาษีที่ไม่ได้จัดทำรายงาน
หมายความถึง ฐานภาษีตามส่วน 3 ในหมวด 4 จากการที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ขายสินค้า หรือได้ให้บริการไปแล้ว
และมีหน้าที่ต้องลงรายการในรายงานตามมาตรา 87
แต่ไม่รวมถึงฐานภาษีของสินค้าที่ยังไม่ได้ขายซึ่งตรวจนับได้
ฐานภาษีที่ไม่ได้ลงรายการในรายงานให้ถูกต้องครบถ้วน
หมายความถึง ฐานภาษีตามส่วน 3 ในหมวด 4 จากการที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ขายสินค้าหรือได้ให้บริการไปแล้ว
และมีหน้าที่ต้องลงรายการในรายงานตามมาตรา 87
แต่ลงรายการในรายงานไม่ถูกต้องครบถ้วน
โดยไม่รวมถึงฐานภาษีของสินค้าที่ยังไม่ได้ขายซึ่งตรวจนับได้ (ข้อ 10)
(2) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ได้เก็บและรักษารายงานภาษีขาย
รายงานมูลค่าของฐานภาษี หรือรายงานอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ไว้ ณ
สถานประกอบการที่ทำรายงานตามมาตรา 87/3
ให้ถือว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ได้จัดทำรายงานตามข้อ (1)(ก)(ข) หรือ (ค)
แล้วแต่กรณี
กรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ได้เก็บและรักษารายงานภาษีขาย
รายงานมูลค่าของฐานภาษี หรือรายงานอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ไว้ ณ
สถานประกอบการตามวรรคหนึ่ง
ถ้าเจ้าพนักงานประเมินพิจารณาเห็นว่ามีเหตุอันสมควรให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนำรายงานภาษีขาย รายงานมูลค่าของฐานภาษี หรือรายงานอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด มาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการตรวจสอบภายในระยะเวลาที่กำหนด
และผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถนำรายงานดังกล่าวมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการตรวจสอบได้
ให้ถือว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดทำรายงานภาษีขายตามมาตรา 87 (1) หรือรายงานมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา
87 วรรคสอง หรือรายงานอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดตามมาตรา 87/1
แล้วแต่กรณี
กำหนดเวลาตามวรรคสองต้องไม่เกิน
7 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานประเมินตรวจพบการกระทำความผิด ทั้งนี้
เว้นแต่อธิบดีกรมสรรพากรจะสั่งเป็นอย่างอื่น (ข้อ 11)
(3)
กรณีมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87 (3) หรือมาตรา 87
วรรคสอง หมายความถึง
กรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87 (3)
หรือมาตรา 87 วรรคสอง แต่เมื่อมีการตรวจนับสินค้าไม่ว่าโดยผู้ประกอบการจดทะเบียนเอง
หรือเจ้าพนักงานประเมินปรากฏว่ามีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ซึ่งถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา
77/1 (8)(จ) ให้คำนวณเบี้ยปรับสองเท่าของเงินภาษี
ซึ่งคำนวณจากมูลค่าของฐานภาษีตามราคาตลาดของสินค้าในวันที่ตรวจพบ ตามมาตรา 79/3
(3) และมาตรา 89 (10) (ข้อ 15)
(4) ให้นำหลักเกณฑ์การคำนวณเบี้ยปรับตามข้อ
4.5.1 และข้อ 4.5.2 มาใช้บังคับในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียน
ไม่ได้จัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ตามมาตรา 87 (3) และมาตรา 87 วรรคสอง
หรือลงรายการในรายงานสินค้าและ วัตถุดิบไม่ถูกต้องครบถ้วน หรือไม่ได้เก็บและรักษารายงานสินค้าและวัตถุดิบไว้
ณ สถานประกอบการที่ทำรายงานตามมาตรา 87/3 (ข้อ 13)
(5) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีความรับผิดต้องเสียเบี้ยปรับตามข้อ (1)(2)(3)
หรือข้อ (4) ให้คำนวณเบี้ยปรับทุกกรณี
แต่ให้เรียกเก็บเบี้ยปรับเพียงกรณีเดียวซึ่งเป็นกรณีที่จะทำให้เรียกเก็บเบี้ยปรับได้เงินเป็นจำนวนมากกว่า
(ข้อ 16)
(6) ในการตรวจปฏิบัติการ หรือการตรวจสอบทั่วไป
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ได้จัดทำรายงานหรือไม่ได้ลงรายการในรายงานให้ถูกต้องครบถ้วนตามข้อ
(1)(2) และ (4) ถ้าเจ้าพนักงานประเมินไม่มีหลักฐานข้อหนึ่งข้อใดดังต่อไปนี้
เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจประเมินเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (10)
(ก)
ปรากฏแก่เจ้าพนักงานประเมินว่า
ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด
(ข)
ในกรณีเจ้าพนักงานประเมินมีหลักฐานแสดงว่า ผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นแบบแสดงรายการภาษีโดยแสดงจำนวนภาษีที่ต้องเสียต่ำกว่าความเป็นจริง
(ค)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมิน หรือ ไม่ยอมตอบคำถามของเจ้าพนักงานประเมินโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
(ง)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่สามารถแสดงใบกำกับภาษีในกรณีภาษีซื้อหรือสำเนา ใบกำกับภาษีในกรณีภาษีขาย
พร้อมทั้งหลักฐานอื่นเพื่อการคำนวณภาษีหรือการเครดิตภาษี
(จ) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่เก็บสำเนาใบกำกับภาษีในกรณีภาษีขายและหลักฐาน
ต่างๆ ประกอบการลงรายงานตามที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือ
(ฉ)
ปรากฏแก่เจ้าพนักงานประเมินว่าผู้ประกอบการซึ่งต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่มตามมาตรา
85/1 มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีหลักฐานข้อหนึ่งข้อใดดังกล่าว
ให้คำนวณเบี้ยปรับตามหลักเกณฑ์ตามข้อ (1) (2) และ (3)
ไม่ให้นำหลักเกณฑ์การคำนวณเบี้ยปรับดังกล่าว
มาใช้บังคับในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้นำภาษีมูลค่าเพิ่ม
ที่คำนวณจากฐานภาษีที่ไม่ได้จัดทำรายงาน
หรือไม่ได้ลงรายการในรายงานให้ถูกต้องครบถ้วนตามข้อ (1) (2) และ (4)
ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีแล้ว
โดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือ
คำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือตามวรรคสามหมายความถึง
กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจพบความผิดและได้มีการบันทึกความผิดไว้ในแบบ
ต.ป.05 หรือแบบ ต.6 แล้ว (ข้อ 14)
อนึ่ง
ให้นำหลักเกณฑ์การคำนวณเบี้ยปรับตามข้อ (1) (2) และข้อ (4) มาใช้บังคับสำหรับการทำรายงานแสดงรายรับก่อนหักรายจ่ายที่ต้องเสียภาษี
และรายรับที่ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี ตามมาตรา 91/14
โดยอนุโลมเพียงเท่าที่ไม่ขัดกัน (ข้อ 17)
3.2.6 กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ได้จัดทำรายงานภาษีซื้อ ตามมาตรา
87 (2) หรือลงรายการในรายงานภาษีซื้อไม่ถูกต้องครบถ้วน
หรือลงรายการในรายงานภาษีซื้อไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามมาตรา 87 และมาตรา
87/3 วรรคสอง หรือไม่ได้เก็บและรักษารายงานภาษีซื้อไว้ ณ
สถานประกอบการที่ทำรายงานตามมาตรา 87/3 ไม่ต้องคำนวณเบี้ยปรับตามมาตรา
89 (10) (ข้อ 12)
3.2.7 เบี้ยปรับเกี่ยวกับนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.36
(1)
กรณีผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีดังต่อไปนี้ ไม่ได้ยื่นแบบนำส่งภาษี (ภ.พ.36)
หรือยื่นแบบนำส่งภาษี (ภ.พ.36) เมื่อพ้นกำหนดเวลา หรือยื่นแบบนำส่งภาษี (ภ.พ.36)
ไว้ไม่ถูกต้อง ไม่ต้องคำนวณเบี้ยปรับตามมาตรา 89
(ก)
ผู้ทอดตลาดซึ่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 83/5
(ข)
ผู้จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร
ซึ่งได้เข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
และไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราวตามมาตรา 85/3 ทั้งนี้
ตามมาตรา 83/6 (1)
(ค) ผู้จ่ายเงินค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการที่ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร ตามมาตรา 83/6 (2) (ข้อ 18)
(2)
กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามมาตรา 82/1 โดยวิธีนำส่งภาษีตามมาตรา 83/7
ดังต่อไปนี้ ไม่ได้ยื่นแบบนำส่งภาษี (ภ.พ.36) หรือยื่นแบบนำส่งภาษี (ภ.พ.36)
เมื่อพ้นกำหนดเวลา ให้คำนวณเบี้ยปรับสองเท่าของเงินภาษีที่ต้องนำส่งในเดือนภาษีตามมาตรา
89 (2)
(ก)
ผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในบริการตามมาตรา 82/1 (2)
ซึ่งสินค้าหรือบริการดังกล่าวได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา
80/1 (5)
(ข) ผู้รับโอนสินค้าตามมาตรา 82/1 (3)(ข)
ซึ่งสินค้าดังกล่าวได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81 (2)(ค)
กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามมาตรา
82/1 โดยวิธีนำส่งภาษีตามมาตรา 83/7 ตามวรรคหนึ่ง ยื่นแบบนำส่งภาษี
(ภ.พ.36) ภายในกำหนดเวลาไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาดอันเป็นเหตุให้
จำนวนภาษีที่นำส่งไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด
ให้คำนวณเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของเงินภาษีที่นำส่งคลาดเคลื่อนตามมาตรา 89 (3)
(ข้อ 19)
4.
การลดเงินเพิ่มอากรแสตมป์
การลดเงินเพิ่มอากรแสตมป์เป็นไปตามมาตรา
3 ตรี และกฎกระทรวงฉบับที่ 129 (พ.ศ. 2512)
“มาตรา 3
ตรี
บุคคลใดจะต้องเสียเงินเพิ่มภาษีอากรตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรนี้
และบุคคลนั้นยินยอมและชำระเงินเพิ่มภาษีอากรตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ในกฎกระทรวงแล้ว
ให้ถือว่าเป็นอันคุ้มบุคคลนั้นมิให้ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มภาษีอากร”
หลักเกณฑ์ที่กำหนดเกี่ยวกับการลดเงินเพิ่มอากรแสตมป์ได้แก่
กฎกระทรวง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 129 (พ.ศ. 2512) ลงวันที่ 11
มีนาคม 2512 ไว้ดังต่อไปนี้
“ข้อ 1 ให้ยกเลิก
(1) กฎกระทรวง ฉบับที่ 80 (พ.ศ.
2496) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยอากรแสตมป์
(2) กฎกระทรวง
ฉบับที่ 84 (พ.ศ. 2496) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยอากรมหรสพ
ข้อ 2
การชำระเงินเพิ่มอากรที่ให้ถือว่าเป็นอันคุ้มบุคคลมิให้ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอากรตามมาตรา
3 ตรี สำหรับอากรแสตมป์และอากรมหรสพให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้
ข้อ 3
บุคคลที่ต้องเสียเงินเพิ่มอากรจะต้องทำคำร้องเป็นหนังสือยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ชี้แจงเหตุผลที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติหมวด
6 และหมวด 7 ลักษณะ 2 โดยสุจริตมิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงอากรและยินยอมชำระเงินเพิ่มอากรภายในสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะพิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1)
กรณีตราสารได้ปิดแสตมป์แล้วแต่มิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์เสียร้อยละ 20
ของเงินเพิ่มอากรที่กำหนดไว้ในมาตรา 113 หรือมาตรา 114
(2) กรณีตราสารมิได้ปิดแสตมป์
เสียร้อยละ 25 ของเงินเพิ่มอากรที่กำหนดไว้ในมาตรา 113 หรือมาตรา 114
(3) กรณีมิได้ออกใบรับตามมาตรา
105 เสียร้อยละ 50 ของเงินเพิ่มอากรที่กำหนดไว้ในมาตรา 114
(4)
กรณีเจ้าของมหรสพเริ่มกระทำกิจการใหม่ และไม่เคยถูกเรียกเงินเพิ่มอากร เสียร้อยละ
20 ของเงินเพิ่มอากรที่กำหนดไว้ในมาตรา 138 ทวิ หรือมาตรา 140
(5) กรณีนอกจาก (4) เสียร้อยละ 25
ของเงินเพิ่มอากรที่กำหนดไว้ในมาตรา 138 ทวิ หรือมาตรา 140 ทวิ
ทั้งนี้
เว้นแต่อธิบดีกรมสรรพากรจะพิจารณาอนุมัติ ให้เสียเงินเพิ่มอากรน้อยกว่า (1) ถึง
(5) แต่ต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 1
ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินอากรโดยเริ่มนับแต่วันที่ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์หรือวันที่ต้องเสียอากรมหรสพ”
หมายเหตุ เกี่ยวกับการลดเงินเพิ่มตามมาตรา 27 และมาตรา 89/1
โดยทั่วไปเงินเพิ่มภาษีตามมาตรา 27
(ใช้กับภาษีเงินได้ทั้งกรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล
รวมทั้งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย) และเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89/1
และเงินเพิ่มตามมาตรา 91/21 (6) ที่กำหนดให้นำความในมาตรา 89/1
ไปใช้บังคับโดยอนุโลม ไม่มีการลดหรืองดเงินเพิ่มดังกล่าวแต่อย่างใด
แต่อย่างไรก็ตาม กรณีอธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาต่างๆ
ตามประมวลรัษฎากร เป็นผลให้ได้รับการลดเงินเพิ่มตามมาตรา 27 และมาตรา
89/1 ลงกึ่งหนึ่ง
5.
บทสรุป
5.1 เจ้าพนักงานประเมินและพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์
เป็นตำแหน่งในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับภาษีอากรประเมินและอากรแสตมป์ตามที่ปรากฏในประมวลรัษฎากรเท่านั้น
และมีขอบเขตแห่งอำนาจที่ชัดเจน
ในอันที่จะรักษาความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีอากรตามเจตนารมณ์ในการตราพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร
5.2 เป็นที่น่าสังเกตว่า
อำนาจประเมินจำนวนภาษีอากรประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและอำนาจสั่งให้เสียอากรแสตมป์พนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์
จะบังเกิดก็ต่อเมื่อผู้ต้องเสียหรือผู้นำส่งภาษีอากรไม่ชำระหรือไม่นำส่งภาษีอากร
หรือชำระหรือนำส่งไว้ไม่ถูกต้อง และไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร
เจ้าพนักงานประเมินก็ดี พนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ก็ดีจะใช้อำนาจไปในทางอื่นที่มิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรไม่ได้เป็นอันขาด
เพราะมีบทกำหนดโทษทั้งตามที่ปรากฏในประมวลรัษฎากร
และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ อาทิ
5.2.1 บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร
มาตรา 10 เจ้าพนักงานผู้ใดโดยหน้าที่ราชการตามลักษณะนี้
ได้รู้เรื่องกิจการของผู้เสียภาษีอากรหรือของผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง ห้ามมิให้นำออกแจ้งแก่ผู้ใด
หรือยังให้ทราบกันไปโดยวิธีใด เว้นแต่จะมีอำนาจที่จะทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา 10 ทวิ เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร
อธิบดีมีอำนาจเปิดเผยรายละเอียดดังต่อไปนี้
(1)
ชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มหรือจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกประเมินเพิ่มเติมของผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้น
(2)
ชื่อผู้เสียภาษีอากรและจำนวนภาษีอากรที่เสีย
(3)ชื่อผู้สอบบัญชี
และพฤติการณ์ของผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต
ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา
13 เจ้าพนักงานผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา
10 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือทั้งปรับทั้งจำ
5.2.1 บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญา หมวด 2 ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
มาตรา 148 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน
ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจหรือจูงใจเพื่อให้บุคคลใดมอบให้หรือหามาให้ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต
และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือประหารชีวิต
มาตรา 149 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัด หรือสมาชิกสภาเทศบาล เรียก รับ
หรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ
เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต
และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือประหารชีวิต
มาตรา 150 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน
กระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งโดยเห็นแก่ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด
ซึ่งตนได้เรียก รับ
หรือยอมจะรับไว้ก่อนที่ตนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต
และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท
มาตรา 151 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน
มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใด
เข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น เนื่องด้วยกิจการนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท
มาตรา 154 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน
มีหน้าที่หรือแสดงว่าตนมีหน้าที่เรียกเก็บหรือตรวจสอบภาษีอากร ค่าธรรมเนียม
หรือเงินอื่นใด โดยทุจริตเรียกเก็บหรือละเว้นไม่เรียกเก็บภาษีอากร
ค่าธรรมเนียมหรือเงินนั้น หรือกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใด
เพื่อให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมนั้นมิต้องเสีย
หรือเสียน้อยไปกว่าที่จะต้องเสีย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี
หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท
มาตรา 155 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน
มีหน้าที่กำหนดราคาทรัพย์สินหรือสินค้าใดๆ
เพื่อเรียกเก็บภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมตามกฎหมาย
โดยทุจริตกำหนดราคาทรัพย์สินหรือสินค้านั้น
เพื่อให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมนั้นมิต้องเสียหรือเสียน้อยไปกว่าที่จะต้องเสีย
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต
และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท
มาตรา 156 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน
มีหน้าที่ตรวจสอบบัญชีตามกฎหมาย โดยทุจริต แนะนำ
หรือกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใด เพื่อให้มีการละเว้นการลงรายการในบัญชี
ลงรายการเท็จในบัญชี แก้ไขบัญชี หรือซ่อนเร้น หรือทำหลักฐานในการลงบัญชีอันจะเป็นผลให้การเสียภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมนั้นมิต้องเสีย
หรือเสียน้อยกว่าที่จะต้องเสีย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี
หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท
มาตรา 157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน
ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 158 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน
ทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือทำให้ไร้ประโยชน์
ซึ่งทรัพย์หรือเอกสารใด อันเป็นหน้าที่ของตนที่จะปกครองหรือรักษาไว้
หรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี
และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
มาตรา 159 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน
มีหน้าที่ดูแล รักษาทรัพย์หรือเอกสารใด กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ โดยถอน
ทำให้เสียหาย ทำลายหรือทำให้ไร้ประโยชน์ หรือโดยยินยอมให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้น
ซึ่งตราหรือเครื่องหมายอันเจ้าพนักงานได้ประทับหรือหมายไว้ที่ทรัพย์หรือเอกสารนั้นในการปฏิบัติการตามหน้าที่
เพื่อเป็นหลักฐานในการยึดหรือรักษาสิ่งนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 161 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน
มีหน้าที่ทำเอกสาร กรอกข้อความลงในเอกสารหรือดูแลรักษาเอกสาร
กระทำการปลอมเอกสารโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี
และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา 162 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน
มีหน้าที่ทำเอกสาร รับเอกสารหรือกรอกข้อความลงในเอกสาร
กระทำการดังต่อไปนี้ในการปฏิบัติการตามหน้าที่
(1)
รับรองเป็นหลักฐานว่า ตนได้กระทำการอย่างใดขึ้นหรือว่าการอย่างใดได้กระทำต่อหน้าตนอันเป็นความเท็จ
(2)
รับรองเป็นหลักฐานว่า ได้มีการแจ้งซึ่งข้อความอันมิได้มีการแจ้ง
(3)
ละเว้นไม่จดข้อความซึ่งตนมีหน้าที่ต้องรับจด หรือจดเปลี่ยนแปลงข้อความเช่นว่านั้น
หรือ
(4)
รับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้น มุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี
และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
มาตรา 164 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน
รู้หรืออาจรู้ความลับในราชการ กระทำโดยประการใดๆ อันมิชอบด้วยหน้าที่
ให้ผู้อื่นล่วงรู้ความลับนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 165 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน
มีหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือคำสั่ง
ซึ่งได้สั่งเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย
ป้องกันหรือขัดขวางมิให้การเป็นไปตามกฎหมายหรือคำสั่งนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ