ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจประมวลรัษฎากร และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
สุเทพ พงษ์พิทักษ์

ภาษีกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย

บทความวันที่ 10 พ.ย. 2561  .  เขียนโดย อจ.สุเทพ  .  เข้าชม 2339 ครั้ง

ภาษีกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย

 

โดยที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ที่นําเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพื่อสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยรวม ตราพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 658) พ.ศ. 2561 กําหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรการภาษีดังกล่าวต้องจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ที่มีทุนที่ชําระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินห้าล้านบาทและมีรายได้จากการขายสินค้า และการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินสามสิบล้านบาท ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชี ต่อเนื่องจากพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 602) พ.ศ. 2559 และพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 637) พ.ศ. 2560 กําหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรการภาษีดังกล่าวต้องจดทะเบียนจัดตั้งข้ึนตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ทั้งนี้ เนื่องจากยังมีความจําเป็นต้องส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมดังกล่าวต่อไป  

คุณลักษณะของกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย

ประการแรก ต้องเป็นกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายซึ่งใช้เทคโนโลยีหลักเป็นฐานในกระบวนการผลิตและการให้บริการตามหลักเกณฑ์ ที่สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกําหนด และได้รับการรับรองจากสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

(1) อุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร

(2) อุตสาหกรรมเพื่อประหยัดพลังงาน ผลิตพลังงานทดแทน และพลังงานสะอาด

(3) อุตสาหกรรมฐานเทคโนโลยีชีวภาพ

(4) อุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุข

(5) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมบริการ และอุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์

(6) อุตสาหกรรมวัสดุก้าวหน้า

(7) อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องประดับ

(8) อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน

(9) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และบริการสารสนเทศ

(10) อุตสาหกรรมฐานการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม หรืออุตสาหกรรมใหม่

ประการที่สอง จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ประการที่สาม มีทุนที่ชําระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินห้าล้านบาทและมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินสามสิบล้านบาท

ประการที่สี่ มีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการของกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย หรือรายได้เกี่ยวเนื่องกับการประกอบกิจการ ได้แก่ รายได้จากการจําหน่ายผลพลอยได้และสินค้ากึ่งสําเร็จรูปในกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมา และรายได้จากการจําหน่ายเครื่องจักร ส่วนประกอบ อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ และทรัพย์สินบรรดาที่ใช้ในกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย และหมดสภาพหรือไม่เหมาะสมที่จะใช้งานต่อไป อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของรายได้ทั้งหมดในรอบระยะเวลาบัญชีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น

ประการที่ห้า ยื่นคําร้องขอและได้รับอนุมัติจากอธิบดี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกําหนด

ประการที่หก ไม่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

ประการที่เจ็ด ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากร ประกาศกําหนด  


บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งใช้เทคโนโลยีหลักเป็นฐานในกระบวนการผลิตและการให้บริการตามหลักเกณฑ์ ที่สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกําหนด และได้รับการรับรองจากสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และปฏิบัติตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับกําไรสุทธิเป็นระยะเวลาห้ารอบระยะเวลาบัญชี นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังต่อไปนี้

1. ในกรณีที่รอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ยื่นคําร้องขอและได้รับอนุมัติจากอธิบดีให้นับรอบระยะเวลาบัญชีนั้นเป็นรอบระยะเวลาบัญชีแรก หรือ

2. ในกรณีที่มีการยื่นคําร้องขอและได้รับอนุมัติจากอธิบดี ระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีใด ให้นับรอบระยะเวลาบัญชีนั้นเป็นรอบระยะเวลาบัญชีแรก แม้ว่ามีระยะเวลาน้อยกว่าสิบสองเดือนก็ตาม

ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขาดคุณสมบัติหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด ในรอบระยะเวลาบัญชีใด ให้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เป็นอันระงับเฉพาะในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น

การปฏิบัติตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนด ได้แก่

ประการแรก ต้องยื่นคำร้องขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบคำขออนุมัติเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ (New Start-up) (ร.ม.1) ตามที่แนบท้ายประกาศนี้ โดยต้องกรอกค าขออนุมัติตามแบบ ร.ม.1 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th พร้อมแนบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์เอกสารหนังสือรับรองกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายซึ่งใช้เทคโนโลยีหลักเป็นฐานในกระบวนการผลิตและการให้บริการที่ออกโดยส านักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติในรูปแบบของไฟล์ PDF เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย โดยให้ยื่นคำร้องขภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 และต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรตามคำร้องขอนั้นด้วย

ประการที่สอง ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งดำเนินกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายและได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรแล้ว และประสงค์จะขอเพิ่มกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายหรือเพิ่มประเภทสินค้าหรือบริการในอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อขอรับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้ยื่นคำขอตามแบบแจ้งเพิ่่มกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ (ร.ม.2) ต่ออธิบดีกรมสรรพากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประสงค์จะขอเพิ่มกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายหรือเพิ่มประเภทสินค้าหรือบริการในอุตสาหกรรมเป้าหมายตามวรรคหนึ่ง จะต้องได้รับการรับรองจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะต้องแนบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์เอกสารหนังสือรับรองที่ออกโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติในรูปแบบของไฟล์ PDF ไปพร้อมกับคำขอด้วย

ประการที่สาม การคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งดำเนินกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในมาตรา 65 มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร

กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย มีรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้และรายได้จากกิจการอื่น ให้คำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของแต่ละกิจการแยกต่างหากจากกัน หากรายจ่ายใดไม่สามารถแยกกันได้โดยชัดแจ้งว่า ส่วนใดเป็นรายจ่ายของกิจการใด ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉลี่ยรายจ่ายดังกล่าวตามส่วนของรายได้แล้วให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลฉบับเดียว