ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจประมวลรัษฎากร และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
สุเทพ พงษ์พิทักษ์

รถยนต์ที่มีที่นั่ง 10 คนตามกฎหมายของกรมสรรพสามิต แตกต่างจาก รถยนต์ 10 ที่นั่งที่จดทะเบียนกับกรมขนส่งหรือไม่ อย่างไร

บทความวันที่ 27 มี.ค. 2562  .  เขียนโดย อจ.สุเทพ  .  เข้าชม 20704 ครั้ง

รถยนต์ที่มีที่นั่ง 10 คนตามกฎหมายของกรมสรรพสามิต แตกต่างจาก รถยนต์ 10 ที่นั่งที่จดทะเบียนกับกรมขนส่งหรือไม่ อย่างไร 

 
เกี่ยวกับรถยนต์นั่งตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต นั้น กฎหมายไม่ได้คำนึงว่าจะมีที่นั่งเกินกว่า 10 คน หรือไม่ก็ได้ แต่ถ้ากล่าวถึงรถยนต์โดยสาร จึงจะกล่าวถึงรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน เพราะจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในอัตราเดียวกับรถยนต์นั่ง 
ในทางภาษีอากร โดยเฉพาะตามประมวลรัษฎากร อ้างถึงก็แต่เฉพาะรถยนต์นั่ง หรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต เท่านั้นดังนี้ 


1. กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล 
        1.1 ตามมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษากร ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 กำหนดให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตจากมูลค่าต้นทุนเฉพาะส่วนที่ไม่เกินหนึ่งล้านบาทเท่านั้น ดังต่อไปนี้
             “มาตรา 5 การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาจากมูลค่าต้นทุนเฉพาะส่วนที่ไม่เกินหนึ่งล้านบาท เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาจากมูลค่าต้นทุนทั้งหมด
             (1) ทรัพย์สินซึ่งมีไว้ใช้ในกิจการให้เช่ารถยนต์ ทั้งนี้ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะต้องไม่นำทรัพย์สินดังกล่าวไปใช้ในกิจการอื่น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
             (2) ทรัพย์สินที่เป็นรถยนต์ต้นแบบที่ใช้เพื่อการวิจัย พัฒนา หรือทดสอบสมรรถนะที่ได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิตตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิตทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งต้องได้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป 
       1.2 ตามมาตรา 65 ตรี (20) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับมาตรา 4 – มาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยรายจ่ายที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ (ฉบับที่ 315) พ.ศ. 2540
             “มาตรา 4 รายจ่ายต่อไปนี้ ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ 
                 (1) มูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่งและรถยนต์ โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต เฉพาะส่วนที่เกิน คันละหนึ่งล้านบาท 
                 (2) ค่าเช่าทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มี ที่นั่งไม่เกินสิบคนตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต เฉพาะส่วนที่เกินคันละสาม หมื่นหกพันบาทต่อเดือนในกรณีที่เช่าเป็นรายเดือนหรือรายปี หรือค่าเช่าส่วนที่เกินคันละ หนึ่งพันสองร้อยบาทต่อวันในกรณีที่เช่าเป็นรายวัน เศษของเดือนให้คิดเป็นวัน หากเช่า ไม่ถึงหนึ่งวัน ให้คำนวณค่าเช่าตามส่วนของระยะเวลาที่เช่า ทั้งนี้ โดยรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ด้วย 
             มาตรา 5 บทบัญญัติมาตรา 4 (1) ไม่ใช้บังคับกับรายจ่ายที่เกิดจากซื้อหรือ การเช่าซื้อทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนตามกฎหมาย ว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ในกรณีที่ 
                 (1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบธุรกิจซื้อขายหรือ ให้เช่าซื้อรถยนต์ประเภทดังกล่าวไว้เพื่อเป็นสินค้า หรือ 
                 (2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบธุรกิจให้เช่ารถยนต์ มีรถยนต์ประเภทดังกล่าวไว้เพื่อการให้เช่า เฉพาะมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือหลังจากหักค่า สึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร

             มาตรา 5/1 บทบัญญัติมาตรา 4 (2) ไม่ใช้บังคับกับรายจ่ายที่เกิดจากการเช่าทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบธุรกิจให้เช่ารถยนต์ได้เช่ารถยนต์ประเภทดังกล่าวไว้เพื่อการให้เช่า
             มาตรา 6 บทบัญญัติมาตรา 4 ไม่ใช้บังคับกับรายจ่ายที่เป็นมูลค่าต้นทุนของ หรือค่าเช่าทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนตามกฎหมายว่า ด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ที่เกิดจากการซื้อ การเช่าซื้อ หรือการเช่าที่ได้ทำสัญญาก่อน วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2539” 


2. กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม 

        ตามมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 (1) และ (11) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม 
        “ข้อ 2 ภาษีซื้อดังต่อไปนี้ ไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
            (1) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ เช่า หรือรับโอนรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต และภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือการรับบริการที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
                 ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับสำหรับการขายรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต และการให้บริการเช่ารถยนต์ดังกล่าวของตนเองโดยตรง และการให้บริการรับประกันวินาศภัยสำหรับรถยนต์ดังกล่าว
            (11) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ หรือรับโอนรถยนต์ที่มิใช่รถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต เพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และต่อมาได้มีการดัดแปลงรถยนต์ดังกล่าวเป็นรถยนต์นั่ง หรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ทั้งนี้ เฉพาะที่ได้กระทำภายในสามปีนับแต่เดือนภาษีที่ได้รถยนต์ไว้ในครอบครอง 
                  ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับสำหรับการขายรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต และการให้บริการเช่ารถยนต์ดังกล่าวของตนเองโดยตรง”


เกี่ยวกับรถยนต์นั่งที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522
        ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่ง ไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับรถยนต์นั่งที่มีที่นั้งไม่กิน 10 คน มีแต่การรับจดทะเบียนรถยนต์นั่งไม่เกิน 7 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจำกัดเวลาแล่นของรถยนต์ที่ไม่ใช่รถยนต์นั่งหรือหรือรถยนต์นั่งที่มีที่นั่งไม่เกิน 7 คน เช่น 
        ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต รถกระบะตอนเดียวไม่ว่าจะมี cab หรือไม่ ถือเป็นรถยนต์บรรทุก จึงไม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต ในขณะที่รถยนต์กระบะสองตอน (สี่ประตู) ถือเป็นรถยนต์นั่ง ซึ่งต้องเสียภาษีสรรพสามิต 
        ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่ง รถกระบะตอนเดียวซึ่งเป็นรถบรรทุก ย่อมไม่สามารถนำเข้าไปแล่นในสถานที่ห้ามแล่นในช่วงเวลาที่กฎหมายกำหนด (ติดเวลา) หากเจ้าของได้นำรถยนต์กระบะตอนเดียวมาจดทะเบียนเป็นรถยนต์นั่งตามกฎหมายว่าด้วยขนส่ง ก็ย่อมสามารถแล่นเข้าในเขตห้ามรถบรรทุกแล่นได้ แต่ห้ามนำมาใช้ในการบรรทุก
        อย่างไรก็ตาม แม้จะได้จดทะเบียนเป็นรถยนต์นั่งตามกฎหมายว่าด้วยขนส่งแล้วก็ตาม สภาพรถยนต์กระบะยังคงเป็นรถยนต์บรรทุกตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต และมีผลต่อภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่ได้กล่าวข้างต้น กล่าวคือ 


        อนึ่ง นับแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 มีผลใช้บังคับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ออก

กฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560  ประเภทที่ 06.03 รถยนต์กระบะที่ออกแบบสำหรับให้มีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กิโลกรัม 
       (1) ที่ไม่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลังที่นั่งคนขับ (No Cab) ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะที่อธิบดีประกาศกำหนด 
            (ก) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ลูกบาศก์เซนติเมตร และมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เกิน 200 กรัม/กิโลเมตร 
            (ข) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ลูกบาศก์เซนติเมตร และมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิน 200 กรัม/กิโลเมตร 
       (2) ที่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลังที่นั่งคนขับ (Space Cab) ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะที่อธิบดีประกาศกำหนด 
            (ก) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ลูกบาศก์เซนติเมตร และมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เกิน 200 กรัม/กิโลเมตร 
            (ข) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ลูกบาศก์เซนติเมตร และมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิน ๒๐๐ กรัม/กิโลเมตร 
       (3) รถยนต์กระบะ 4 ประตู (Double Cab) ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะที่อธิบดี ประกาศกำหนด 
            (ก) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ลูกบาศก์เซนติเมตร และมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เกิน 200 กรัม/กิโลเมตร 
            (ข) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ลูกบาศก์เซนติเมตร และมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิน 200 กรัม/กิโลเมตร 
            (ค) ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 3,250 ลูกบาศก์เซนติเมตร  
       (4) รถยนต์กระบะ 4 ประตู (Double Cab) แบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า (Hybrid Electric Vehicle) ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และ คุณลักษณะที่อธิบดีประกาศกำหนด 
            (ก) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ลูกบาศก์เซนติเมตร และมีการปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ไม่เกิน 175 กรัม/กิโลเมตร และต้องปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัย ประเภทระบบความปลอดภัยเชิงป้องกันก่อนเกิดเหตุ (Active Safety) ที่อธิบดีประกาศกำหนด 
       (5) รถยนต์กระบะแบบพลังงานไฟฟ้า (Electric Powered Vehicle) 
       (6) รถยนต์ต้นแบบที่ผลิตหรือนำเข้ามาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปวิจัย พัฒนา หรือทดสอบ สมรรถนะ ที่ไม่เคยมีการจำหน่ายในท้องตลาด เป็นการทั่วไปในราชอาณาจักร และไม่เคยได้รับ ยกเว้นภาษีสรรพสามิตมาก่อน หรือเคยได้รับ ยกเว้นภาษีสรรพสามิตมาแล้ว แต่ได้ยุติการวิจัย พัฒนา หรือทดสอบสมรรถนะ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศก าหนด 
       (7) อื่น ๆ นอกจาก (1) ถึง (6) 
            (ก) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ลูกบาศก์เซนติเมตร และมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เกิน 200 กรัม/กิโลเมตร 
            (ข) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ลูกบาศก์เซนติเมตร และมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิน 200 กรัม/กิโลเมตร 
            (ค) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ลูกบาศก์เซนติเมตร ตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศก าหนด 
            (ง) ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 3,250 ลูกบาศก์เซนติเมตร  

       ดังนั้น รถยนต์กระบะสองตอน จึงถูกเปลี่ยนจาก "รถยนต์นั่ง" มาเป็นรถยนต์กระบะ ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ที่ใช้ภาษีซื้อได้ ใม่ต้องห้ามตามมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 (1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) นับแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป

        รถยนต์กระบะตอนเดียว และรถยต์กระบะสองตอบ จึงไม่เป็นรถยนต์นั่งตามกฎหมายว่าด้ายพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรต่อไปดังนี้   


        1. ผู้ประกอบการสามารถใช้ภาษีซื้อสำหรับรถยนต์กระบะตอนเดียวได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) ไม่ว่าจะได้มาโดยการซื้อ เช่าซื้อ หรือเช่าก็สามารถนำภาษีซื้อมาใช้เป็นเครดิตหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ 
        2. รถยนต์กระบะตอนเดียวไม่จำกัดมูลค่าต้นทุนในการคำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527
        3. มูลค่าต้นทุนรถยนต์กระบะตอนเดียวในส่วนที่เกิน 1 ล้านบาท ไม่เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (20) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 315) พ.ศ. 2540

ในภาพอาจจะมี รถยนต์