ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจประมวลรัษฎากร และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
สุเทพ พงษ์พิทักษ์

หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะของรถยนต์กระบะที่ออกแบบ สําหรับให้มีน้ําหนักรถรวมน้ําหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กิโลกรัม ที่ไม่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลังที่นั่งคนขับ (No Cab) และที่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลังที่นั่่งคนขับ (Space Cab) )

บทความวันที่ 7 ธ.ค. 2562  .  เขียนโดย อจ.สุเทพ  .  เข้าชม 2949 ครั้ง

        อธิบดีกรมสรรพสามิตอาศัยอํานาจตามความใน (1) ของประเภทที่ 06.03 รถยนต์กระบะที่ออกแบบสําหรับให้มีน้ําหนักรถรวมน้ําหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กิโลกรัม ในบัญชีท้ายกฎกระทรวงกําหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 อธิบดีกรมสรรพสามิต ได้ออกประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะของรถยนต์กระบะที่ออกแบบ สําหรับให้มีน้ําหนักรถรวมน้ําหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กิโลกรัม ที่ไม่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลังที่นั่งคนขับ (No Cab) ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560 ไว้ดังต่อไปนี้
        "ข้อ 1 รถยนต์กระบะที่ออกแบบสําหรับให้มีน้ําหนักรถรวมน้ําหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กิโลกรัม ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใน (ก) และ (ข) ของ (1) ของประเภทที่ 06.03 ในบัญชีท้ายกฎกระทรวงกําหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ต้องมีคุณลักษณะและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ดังนี้
             1.1 รถยนต์กระบะบรรทุกที่มีน้ําหนักบรรทุกตั้งแต่ 1,000 กิโลกรัมขึ้นไป ต้องมีคุณลักษณะครบถ้วนทุกข้อ ดังต่อไปนี้
                  1.1.1 มีน้ําหนักรถไม่น้อยกว่า 1,200 กิโลกรัม และมีน้ําหนักบรรทุกไม่น้อยกว่า 1,000 กิโลกรัม
                  1.1.2 ระบบกันสะเทือนหลังแบบแหนบ
                  1.1.3 ระยะด้านนอกตัวรถยนต์จากแนวขอบด้านหน้าส่วนที่กว้างที่สุดของบานประตูจนถึงด้านหลังสุดของห้องคนขับในแนวระนาบเดียวกันให้มีความยาวไม่เกิน 140 เซนติเมตร
                  1.1.4 ระยะด้านนอกตัวรถยนต์จากแนวขอบด้านหลังของบานประตูจนถึงด้านหลังสุดของห้องคนขับในแนวระนาบเดียวกันมีความยาวไม่เกิน 30 เซนติเมตร ระยะดังกล่าวจะต้องเป็นผนังทึบและไม่สามารถเลื่อนหรือเปิดได้ โดยจะต้องไม่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลังที่นั่งคนขับ (ยกเว้นเครื่องมือประจํารถ เช่น เครื่องมือซ่อมรถ แม่แรง)
                  1.1.5 มีความยาวกระบะไม่น้อยกว่า 150 เซนติเมตร หรือมีความยาวกระบะบรรทุกไม่น้อยกว่าหนึ่งในสองของระยะความยาวที่วัดในแนวระนาบเดียวกันจากขอบประตูด้านหน้าส่วนที่กว้างที่สุดจนถงดึ ้านหลังสุดของกระบะ
             1.2 รถยนต์กระบะบรรทุกขนาดเบาที่มีน้ําหนักบรรทุกน้อยกว่า 1,000 กิโลกรัมต้องมีคุณลักษณะครบถ้วนทุกข้อ ดังต่อไปนี้
                  1.2.1 มีน้ําหนักรถน้อยกว่า 1,200 กิโลกรัม และน้ําหนักบรรทุกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของน้ําหนักรถ
                  1.2.2 ระยะด้านนอกตัวรถยนต์จากแนวขอบด้านหน้าส่วนที่กว้างที่สุดของบานประตูจนถึงด้านหลังสุดของห้องคนขับในแนวระนาบเดียวกันให้มีความยาวไม่เกิน 140 เซนติเมตร
                  1.2.3 ระยะด้านนอกตัวรถยนต์จากแนวขอบด้านหลังของบานประตูจนถึงด้านหลังสุดของห้องคนขับในแนวระนาบเดียวกันมีความยาวไม่เกิน 30 เซนติเมตร และระยะดังกล่าว
จะต้องเป็นผนังทึบหรือจะต้องไม่ใช่หน้าต่าง กระจก วัตถุอื่นใดซึ่งสามารถหมุนขึ้น-ลง หรือเลื่อนไปด้านขางได ้ ้ โดยจะต้องไม่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลังที่นั่งคนขับ
                  1.2.4 มีความยาวกระบะไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร หรือมีความยาวกระบะบรรทุกไม่น้อยกว่าหนึ่งในสองของระยะความยาวที่วัด (ในแนวระนาบเดียวกัน) จากขอบประตูด้านหน้าส่วนที่กว้างที่สุดจนถึงด้านหลังสุดของกระบะ
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/…/2561/E/119_2/27.PDF

        และอธิบดีกรมสรรพสามิตอาศัยอํานาจตามความใน (2) ของประเภทที่ 06.03 รถยนต์กระบะที่ออกแบบสําหรับให้มีน้ําหนักรถรวมน้ําหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กิโลกรัม ในบัญชีท้ายกฎกระทรวงกําหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ได้ออกประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะของรถยนต์กระบะที่ออกแบบ
สําหรับให้มีน้ําหนักรถรวมน้ําหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กิโลกรัม ที่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลังที่นั่งคนขับ (Space Cab) ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560 ไว้ดังต่อไปนี้
        "ข้อ 1 รถยนต์กระบะที่ออกแบบสําหรับให้มีน้ําหนักรถรวมน้ําหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กิโลกรัม ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใน (ก) และ (ข) ของ (2) ของประเภทที่ 06.03 ในบัญชีท้ายกฎกระทรวงกําหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ต้องมีคุณลักษณะและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ดังนี้
             1.1 รถยนต์กระบะบรรทุกที่มีน้ําหนักบรรทุกตั้งแต่ 1,000 กิโลกรัมขึ้นไปต้องมีคุณลักษณะครบถ้วนทุกข้อ ดังต่อไปนี้
                  1.1.1 มีน้ําหนักรถไม่น้อยกว่า 1,200 กิโลกรัม และมีน้ําหนักบรรทุกไม่น้อยกว่า 1,000 กิโลกรัม
                  1.1.2 ระบบกันสะเทือนหลังแบบแหนบ
                  1.1.3 ระยะด้านนอกตัวรถยนต์จากแนวขอบด้านหลังของบานประตูจนถึงด้านหลังสุดของห้องคนขับในแนวระนาบเดียวกันมีความยาวไม่เกิน 65 เซนติเมตร
                  1.1.4 มีความยาวกระบะไม่น้อยกว่า 150 เซนติเมตร หรือมีความยาวกระบะบรรทุกไม่น้อยกว่าหนึ่งในสองของระยะความยาวที่วัด (ในแนวระนาบเดียวกัน) จากขอบประตูด้านหน้าส่วนที่กว้างที่สุดจนถึงด้านหลังสุดของกระบะ
            1.2 รถยนต์กระบะบรรทุกขนาดเบาที่มีน้ําหนักบรรทุกน้อยกว่า 1,000 กิโลกรัม ต้องมีคุณลักษณะครบถ้วนทุกข้อ ดังต่อไปนี้
                  1.2.1 มีน้ําหนักรถน้อยกว่า 1,200 กิโลกรัม และน้ําหนักบรรทุกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของน้ําหนักรถ
                  1.2.2 ระยะด้านนอกตัวรถยนต์จากแนวขอบด้านหลังของบานประตูจนถึงด้านหลังสุดของห้องคนขับในแนวระนาบเดียวกันมีความยาวไม่เกิน 65 เซนติเมตร
                  1.2.3 มีความยาวกระบะไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร หรือมีความยาวกระบะบรรทุกไม่น้อยกว่าหนึ่งในสองของระยะความยาวที่วัดในแนวระนาบเดียวกันจากขอบประตูด้านหน้าส่วนที่กว้างที่สุดจนถึงด้านหลังสุดของกระบะ"
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/…/2561/E/119_2/32.PDF

        ดังจะเห็นได้ว่า หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะคุณลักษณะของรถยนต์กระบะที่ออกแบบ สําหรับให้มีน้ําหนักรถรวมน้ําหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กิโลกรัม ที่ไม่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลังที่นั่งคนขับ (No Cab) และรถยนต์กระบะที่ออกแบบ สําหรับให้มีน้ําหนักรถรวมน้ําหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กิโลกรัม ที่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลังที่นั่งคนขับ (Space Cab) ตามที่อธิบดีกรมสรรพสามิตประกาศกำหนด นั้น ไม่มีเงื่อนไข เกี่ยวกับการจดทะเบียนเป็นรถยนต์กระบะบรรทุกตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ แต่อย่างใด ซึ่งต่างไปจากหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะของรถยนต์กระบะสี่ประตู (Double Cab) ที่กำหนดให้ต้องจดทะเบียนเป็นรถยนต์กระบะบรรทุกตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ 

ตามข้อ 2 ของประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะของรถยนต์กระบะสี่ประตู (Double Cab) ลงวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2562 อธิบดีกรมสรรพสามิตกำหนดคุณลักษณะของรถยนต์กระบะสี่ประตู (Double Cab) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ลูกบาศก์เซนติเมตร ตามความใน (3) ของประเภทที่ 06.03 รถยนต์กระบะที่ออกแบบสำหรับให้มีนำหนักรถรวมนำหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กิโลกรัม ในบัญชีท้ายกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ไว้ ดังต่อไปนี้
       "ข้อ 2 รถยนต์กระบะสี่ประตู (Double Cab) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใน (ก) - (ง) และที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 3,250 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใน (จ) ของ (3) ของประเภทที่ 06.03 ในบัญชีท้ายกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562 ต้องมีคุณลักษณะครบถ้วนทุกข้อ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี
            2.1 ตัวถังวางบนโครงสร้าง (Frame Construction) แบบแชสซีส์ของรถยนต์กระบะที่ออกแบบสำหรับให้มีน้ำหนักรถไม่น้อยกว่า 1,200 กิโลกรัม มีน้ำหนักบรรทุกไม่น้อยกว่า 1,000 กิโลกรัม และมีน้ำหนักรถรวมนำหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กิโลกรัม ซึ่งเป็นแบบเดียวกับรุ่นที่มีการผลิตในประเทศ มีการจัดจำหน่ายทั่วไปหรือส่งออกเป็นปกติวิสัย และจดทะเบียนเป็นรถยนต์กระบะบรรทุกตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
            2.2 ระบบกันสะเทือนหลังแบบแหนบ
            2.3 ระยะด้านนอกตัวรถยนต์จากแนวขอบด้านหน้าส่วนที่กว้างที่สุดของบานประตูจนถึงด้านหลังสุดของห้องคนขับในแนวระนาบเดียวกัน มีความยาวเกินกว่า 180 เซนติเมตร
            2.4 ส่วนท้ายเป็นกระบะเปิดโล่งจนถึงท้ายรถ โดยไม่มีหลังคา และมีความยาวของกระบะไม่น้อยกว่า 120 เซนติเมตร"
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/…/P…/2562/E/154/T_0031.PDF
RATCHAKITCHA.SOC.GO.TH