ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจประมวลรัษฎากร และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
สุเทพ พงษ์พิทักษ์

คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 324/2563 ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563

บทความวันที่ 31 มี.ค. 2563  .  เขียนโดย อจ.สุเทพ  .  เข้าชม 2314 ครั้ง

คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528

แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 324/2563 ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563

(ซึ่งสังเกตได้จากไฺฮไลท์ไว้ด้วยแถบสีเหลีอง)


คำสั่งกรมสรรพากร

ที่ ท.ป. 4/2528

เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร

มีหน้าที่ หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

---------------------------------------------

 

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และกฎกระทรวงฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตามหมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตราดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ยกเลิกคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2528

ข้อ 2 ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินคำนวณหักภาษีไว้ทุกครั้งที่จ่ายเงินได้พึงประเมินแต่ละครั้งในอัตราร้อยละของเงินได้พึงประเมินตามที่ระบุในคำสั่งนี้

ข้อ 3 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นแต่ไม่รวมถึง กลุ่มเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 0.75 เฉพาะผู้จ่ายเงินและสำหรับการซื้อสินค้าในกรณีดังต่อไปนี้

          (1) ยางแผ่นหรือยางชนิดอื่นอันผลิตขึ้นหรือได้มาจากส่วนใด ๆ ของต้นยางพาราเฉพาะกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออกหรือผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจากยางดังกล่าว ไม่ว่าจะใช้ยางนั้นเป็นส่วนใหญ่หรือไม่

          (2) มันสำปะหลัง ไม่ว่าจะเป็นหัวหรือจัดทำเป็นผง แป้ง เส้น ก้อน แท่ง ฝอย ชิ้น เม็ด หรือจัดทำในลักษณะอื่น เฉพาะกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออก

          (3) ปอ เฉพาะกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออกหรือผู้ผลิตกระสอบป่าน ผ้ากระสอบป่าน ด้ายทอกระสอบป่าน หรือทอผ้ากระสอบป่าน เชือกหรือผลิตภัณฑ์ใด ๆ ที่ผลิตจากปอ ไม่ว่าจะใช้ปอนั้นเป็นส่วนใหญ่หรือไม่

          (4) ข้าวโพด เฉพาะกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออกหรือผู้ผลิตน้ำมันพืชหรืออาหารสัตวทุกชนิด

          (5) อ้อย เฉพาะกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ผลิตน้ำตาลทุกชนิด

          (6) เมล็ดกาแฟ ไม่ว่าจะคั่วแล้วหรือไม่ เฉพาะกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออกหรือผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจากกาแฟ

          (7) ผลปาล์มน้ำมัน ไม่ว่าเป็นส่วนใดของผล เฉพาะกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มหรือผู้ผลิตน้ำมันพืช

          ทั้งนี้ สำหรับการซื้อสินค้าตามวรรคหนึ่งที่มีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 281/2560 ใช้บังคับสำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป)

          "(8) สินค้าตาม (1) ถึง (7) เฉพาะกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร แต่ไม่รวมถึงกลุ่มเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์"

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 280/2560 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป)

          (9) สินค้าตาม (1) ถึง (8) เฉพาะกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรแต่ไม่รวมถึงกลุ่มเกษตรกรตามกฎหมาย ว่าด้วยสหกรณ์"

(ยกเลิกโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 280/2560 ใช้บังคับสำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป )

ข้อ 3/1 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น

          (1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย นอกจากที่ระบุใน (2) หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 3.0

          “(1/1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย นอกจากที่ระบุใน (2) หักภาษี ณ ที่จ่ายส าหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.5”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ 1 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 324/2563 ใช้บังคับวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป)

          (2) มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้แต่ไม่รวมถึง มูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา 47 (7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 10.0

(ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 120/2545)

ข้อ 3/2 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น

          (1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย นอกจากที่ระบุ ใน (2) หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 3.0

          “(1/1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย นอกจากที่ระบุใน (2) หักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินเฉพาะที่เป็นค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น ที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.5”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ 2 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 324/2563 ใช้บังคับวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป)

          (2) มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้แต่ไม่รวมถึง มูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา 47 (7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 10.0

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.101/2544 ใช้บังคับ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป)

          “ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับสำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินเฉพาะที่เป็นการโอนทรัพย์สินที่มิใช่เงินสด เพื่อตอบแทนการได้สิทธิในการดำเนินการตามสัญญาที่กระทำกับรัฐวิสาหกิจก่อนการนำทุนบางส่วนหรือทั้งหมดมาเปลี่ยนสภาพเป็นหุ้นในรูปแบบของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยทุนรัฐวิสาหกิจ โดยสัญญาดังกล่าวต้องเป็นสัญญาที่กระทำก่อนวันที่คำสั่งกรมสรรพากรนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสัญญาที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมภายหลังจากวันที่คำสั่งกรมสรรพากรนี้ใช้บังคับในส่วนสาระสำคัญของระยะเวลาการได้สิทธิ หรือ มูลค่าทรัพย์สินที่ต้องส่งมอบ”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.139/2547 ใช้บังคับ 12 เมษายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป)

ข้อ 3/3 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นแต่ไม่รวมถึง กลุ่มเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะผู้จ่ายเงินซึ่งเป็นผู้ซื้อข้าวและเป็นผู้ส่งออกให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น

          (1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 0.5 สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป

          (2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 0.5 สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป

          คำว่า “ข้าว” หมายความว่า ข้าวสาร ปลายข้าว ข้าวกล้อง ปลายข้าวกล้อง ข้าวนึ่ง  และปลายข้าวนึ่ง ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียว”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 281/2560 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป )

ข้อ 4 ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ หักภาษี ณ ที่จ่าย

          (1) ธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และบริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น

              (ก) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทยนอกจากที่ระบุใน (ข) แต่ไม่รวมถึงธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และบริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0

              (ข) มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ตามมาตรา 47 (7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 10.0

          (2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งมิใช่ ผู้จ่ายเงินได้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตาม (1) เป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจ หลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัท บริหารสินทรัพย์ หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0

          “(3) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งมิใช่ผู้จ่ายเงินได้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตาม (1) เป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออกและจำหน่ายครั้งแรกในราคา ต่ำกว่าราคาไถ่ถอน เงินได้ที่ได้รับจากการถือศุกูก ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น

              (ก) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทยนอกจากที่ระบุใน (ข) แต่ไม่รวมถึงธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์และบริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0

              (ข) มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ตามมาตรา 47 (7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่ายโดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 10.0”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 205/2556 ใช้บังคับสำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป)

          “(4) บุคคล บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากรให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นกองทุนรวมที่เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 15.0

                          ในกรณีที่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่มีการออกจำหน่ายในครั้งแรก ของตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้นั้น ให้ถือว่าผู้ออกตั๋วเงินหรือผู้ออกตราสารแสดงสิทธิในหนี้ให้แก่กองทุนรวมที่เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งเป็นผู้ทรงคนแรกของตั๋วเงินหรือตราสาร แสดงสิทธิในหนี้นั้น เป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน และให้เรียกเก็บภาษีเงินได้จากกองทุนรวมดังกล่าวในอัตราที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง และให้ถือว่าภาษีที่เรียกเก็บนั้นเป็นภาษีที่หักไว้”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.319/2563 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป)

ข้อ 5 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย สถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม กองทุนรวมที่เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยแต่ไม่รวมถึงกองทุนรวมตราสารหนี้และกิจการร่วมค้า ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไร หรือประโยชน์อื่นใดตามมาตรา 40 (4) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้อัตราร้อยละ 10.0 กรณีจ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศประกอบกิจการในประเทศไทย หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย แต่ไม่รวมถึง

          (1) บริษัทจดทะเบียน เฉพาะกรณีที่ผู้จ่ายมิใช่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

          (2) บริษัทจำกัด นอกจาก (1) ซึ่งถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผล และบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่ได้ถือหุ้น ในบริษัทจำกัดผู้รับเงินปันผลไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม

          กองทุนรวมตราสารหนี้ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า กองทุนรวมที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ลงทุนในตราสารหนี้ตามสัดส่วนที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.319/2563 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป)

ข้อ 6  ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้จ่ายค่าเช่าหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สิน ตามมาตรา 40 (5)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ไม่รวมถึงค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น

          (1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 5.0

         (2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย นอกจากที่ระบุใน (3) หักภาษี ณ ที่จ่ายโดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 5.0

         (3) มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา 47 (7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่ายโดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 10.0

          (4) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย นอกจากที่ระบุใน (3) เฉพาะที่เป็นค่าเช่าเรือตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมพาณิชย์นาวีที่ใช้ในการขนส่งระหว่างประเทศ หักภาษี ณ ที่จ่ายโดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0

          “ความในวรรคหนึ่ง ไม่ให้ใช้บังคับกับการจ่ายเงินค่าเช่าตามสัญญาให้เช่าทรัพย์สินแบบลีสซิ่งที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

          (1) ผู้ให้เช่าเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนที่ได้รับชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 60 ล้านบาท และเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร

          (2) ผู้เช่าเป็นนิติบุคคล

          (3) กำหนดเวลาเช่าต้องมีระยะเวลาตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป เว้นแต่ทรัพย์สินที่ให้เช่าเป็นทรัพย์สินที่ผู้ให้เช่ายึดมาจากผู้เช่ารายอื่น ระยะเวลาในการให้เช่าอาจไม่ถึง 3 ปีก็ได้

          คำว่า “การให้เช่าทรัพย์สินแบบลีสซิ่ง” หมายความว่า สัญญาให้เช่าทรัพย์สิน ซึ่งผู้ให้เช่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินและนำออกให้เช่าโดยให้คำมั่นว่า เมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่า ผู้เช่ามีสิทธิเลือกที่จะซื้อทรัพย์สินที่เช่าหรือส่งคืนทรัพย์สินนั้นแก่ผู้ให้เช่าก็ได้”

(ยกเลิกโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 259/2559 ใช้บังคับสำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป)

(ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 259/2559)

ข้อ 7  ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้จากวิชาชีพอิสระ ตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากรให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น

          (1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคลนอกจากที่ระบุใน (2) เฉพาะที่เป็นผู้มีภูมิลำเนาในประเทศไทย หรืออยู่ในประเทศไทย หรือประกอบกิจการในประเทศไทย แล้วแต่กรณี หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 3.0

          “(1/1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล นอกจากที่ระบุใน (2) เฉพาะที่เป็นผู้มีภูมิลำเนาในประเทศไทย หรืออยู่ในประเทศไทย หรือประกอบกิจการในประเทศไทยแล้วแต่กรณีหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.5”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ 3 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 324/2563 ใช้บังคับวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป)

          (2) มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา 47 (7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่ายโดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 10.0

ข้อ 8 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน เฉพาะที่เป็นค่าจ้างทำของ ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น 

          (1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เฉพาะค่าจ้างทำของที่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (7) หรือ (8) แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 3.0

          “(1/1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เฉพาะค่าจ้างทำของที่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (7) หรือ (8) แห่งประมวลรัษฎากรหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.5”   

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ 4 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 324/2563 ใช้บังคับวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป)

          (2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 3.0

(ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 73/2541)

          “(2/1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม หักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยค านวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.5”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ 5 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 324/2563 ใช้บังคับวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป)

          (3) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ประกอบกิจการในประเทศไทย โดยมีสำนักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย หักภาษี ณ ที่จ่ายโดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 3.0

(ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 8/2528)

(ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 20/2531)

          “(3/1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ประกอบกิจการในประเทศไทย โดยมีส านักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย หักภาษี ณ ที่จ่ายส าหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.5”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ 6 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 324/2563 ใช้บังคับวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป)

          “เฉพาะค่าจ้างทำของที่เป็นเงินได้จากการรับเหมาก่อสร้างที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ ให้ใช้บังคับสำหรับสัญญาจ้างที่ทำขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 เป็นต้นไป ”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.21/2530 ใช้บังคับ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 เป็นต้นไป)

(ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.125/2546)

ข้อ 9 ให้บุคคล บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากรให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น

          (1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคลเฉพาะที่เป็นรางวัลในการประกวด การแข่งขัน การชิงโชค หรือการอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน หักภาษี  ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 5.0

          “(2) นักแสดงสาธารณะ

              “(ก) กรณีมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศ หักภาษี ณ ที่จ่ายโดยคำนวณหักไว้ตามอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา เว้นแต่นักแสดงสาธารณะที่เป็น นักแสดงภาพยนตร์หรือโทรทัศน์ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศ เฉพาะกรณีที่มีการดำเนินการถ่ายทำ ภาพยนตร์หรือโทรทัศน์ในประเทศไทยโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และได้รับอนุญาตให้ถ่ายทำในประเทศไทยจากคณะอนุกรรมการพิจารณาคำขออนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย ตามระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ว่าด้วยการขออนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย พ.ศ. 2544 หักภาษี ณ ที่จ่ายโดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 10.0”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 111/2545 ใช้บังคับ 28 กันยายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป)

(ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 120/2545)

              (ข) กรณีนอกจาก (ก) หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 5.0

คำว่า “นักแสดงสาธารณะ” หมายความว่า นักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุและโทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพหรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใด ๆ”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.31/2534 ใช้บังคับ 1 กันยายน พ.ศ. 2534 เป็นต้นไป)

(ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 102/2544)

ข้อ 10 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินที่เป็นค่าโฆษณาให้แก่ผู้รับซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือภาษีเงินได้นิติบุคคลหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 2.0

(ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 6/2528)

ข้อ 11 ให้บุคคล บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล เฉพาะกรณีที่เป็นผู้ส่งออก หรือผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ใด ๆ จากสัตว์น้ำ และผู้ผลิตอยู่ในบังคับต้องขออนุญาตตั้งโรงงาน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินที่เป็นค่าซื้อสัตว์น้ำทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตและส่วนต่างๆของสัตว์น้ำไม่ว่าจะสดหรือแช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง หรือกระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อรักษาไว้มิให้เปื่อย เน่าในระหว่างการขนส่ง ให้แก่ผู้รับซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือภาษีเงินได้นิติบุคคล หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0

ข้อ 12 ให้บุคคล บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินที่เป็นค่าจ้างทำของให้แก่ผู้รับจ้างซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศประกอบกิจการในประเทศไทย โดยมิได้มีสำนักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทยหักภาษี ณ ที่จ่ายโดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 5.0

(ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 8/2528)

"ข้อ 12/1 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) เฉพาะที่เป็นการจ่ายเงินได้จากการให้บริการอื่น ๆ นอกเหนือจากกรณีที่กำหนดไว้ในข้อ 8 ข้อ 9 (2) ข้อ 10 ข้อ 12 ข้อ 12/3 และข้อ 12/4 แต่ไม่รวมถึงการจ่าย ค่าบริการของโรงแรม ค่าบริการของภัตตาคาร และค่าเบี้ยประกันชีวิต ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น

          (1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 3.0

          “(1/1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.5”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ 7 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 324/2563 ใช้บังคับวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป)

          (2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 3.0

          “(2/1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม หักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.  2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.5”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 324/2563 ใช้บังคับวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป)

          คำว่า “การให้บริการ” หมายความว่า การกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่การขายสินค้า

          คำว่า “ภัตตาคาร” หมายความว่า กิจการขายอาหารหรือเครื่องดื่มไม่ว่าชนิดใด ๆ รวมทั้งกิจการรับจ้างปรุงอาหารหรือเครื่องดื่ม ทั้งนี้ ไม่ว่าในหรือจากสถานที่ซึ่งจัดให้ประชาชนเข้าไปบริโภคได้ ”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 104/2544 ใช้บังคับ 15 กันยายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป)

(ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.112/2545)

(ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.115/2545)

"ข้อ 12/2 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้จ่ายรางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขายให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น

          (1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 3.0

          “(1/1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักภาษี ณ ที่จ่าย ส าหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.5”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ 9 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 324/2563 ใช้บังคับวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป)

          (2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 3.0

          “(2/1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม หักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.5”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ 10 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 324/2563 ใช้บังคับวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป)

          ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับสำหรับการให้รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขายให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้บริโภค หรือเป็นผู้ประกอบการที่นำสินค้าหรือบริการไปใช้ในการประกอบกิจการของตนเองโดยตรง โดยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ

(ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.118/2545)

"ข้อ 12/3 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินค่าเบี้ยประกันวินาศภัย ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการรับประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยในประเทศไทย หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0 ”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 101/2544 ใช้บังคับ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป)

"ข้อ 12/4 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินที่เป็นค่าขนส่ง แต่ไม่รวมถึงการจ่ายค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น

          (1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0

          (2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0

          คำว่า “การขนส่งสาธารณะ ” หมายความว่า การรับส่งผู้โดยสารเป็นการทั่วไปเป็นปกติธุระ”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 104/2544 ใช้บังคับ 15 กันยายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป)

(ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.126/2546)

ข้อ 12/5 ให้บุคคล บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 48 (8) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นการจ่ายเงินได้เพื่อซื้อพลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก และอัญมณีที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทำเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทำขึ้นใหม่ เพชร ไข่มุก และสิ่งทำเทียมเพชรหรือไข่มุกหรือที่ทำขึ้นใหม่ ให้แก่ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งมิใช่ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลและมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 311) พ.ศ. 2540 หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0

          ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับ สำหรับการจ่ายเงินได้เพื่อซื้อพลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก และอัญมณีที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทำเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทำขึ้นใหม่ เพชร ไข่มุกและสิ่งทำเทียมเพชรหรือไข่มุกหรือที่ทำขึ้นใหม่ ให้แก่ผู้จ่ายเงินได้ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าไปเพื่อการบริโภค โดยไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ

          “ทั้งนี้ สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมิน เฉพาะที่จ่ายตั้งแต่วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 และวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 209/2556 ใช้บังคับ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป)

ข้อ 12/6 ให้บุคคล บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นการจ่ายเงินได้เพื่อซื้อเพชร พลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก ไข่มุก และอัญมณีที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทำเทียม วัตถุดังกล่าวหรือที่ทำขึ้นใหม่ ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งมิใช่ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลและมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 311) พ.ศ. 2540 หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0

          ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับ สำหรับการจ่ายเงินได้เพื่อซื้อเพชร พลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก ไข่มุก และอัญมณีที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน เฉพาะที่ยัง มิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทำเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทำขึ้นใหม่ ให้แก่ผู้จ่ายเงินได้ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้า ไปเพื่อการบริโภค โดยไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ ทั้งนี้ สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป”

ข้อ 12/7 การจ่ายเงินได้พึงประเมินที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องมีจำนวนตามสัญญารายหนึ่งๆ มีจำนวนตั้งแต่หนึ่งพันบาทขึ้นไป แม้การจ่ายนั้นจะได้แบ่งจ่ายครั้งหนึ่งๆ ไม่ถึงหนึ่งพันบาท”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 266/2559 ใช้บังคับสำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป)

ข้อ 13 ให้ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย นำส่งภาษีที่ตนมีหน้าที่ต้องหัก ตามแบบที่อธิบดีกำหนด ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน ไม่ว่าจะหักภาษีไว้แล้วหรือไม่”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 115/2545 ใช้บังคับ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป)

ข้อ 14 คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับสำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ที่ลงในคำสั่งนี้เป็นต้นไป”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 19/2530 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2530 เป็นต้นไป)

 

สั่ง ณ วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528

 

วิทย์ ตันตยกุล

อธิบดีกรมสรรพากร

 

 

กฎกระทรวง

ฉบับที่ 361 (พ.ศ. 2563)

ออกตามความในประมวลรัษฎากร

ว่าด้วยภาษีเงินได้

-----------------------------

 

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2521 และมาตรา 4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2513 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (17/4) และ (17/5) ของข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้

“(17/4) การจ่ายเงินได้พึงประเมินดังต่อไปนี้ที่ได้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 ร้อยละ 1.5

       (ก) การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้และมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดตามมาตรา 47 (7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร

       (ข) การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นเงินได้จากค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้และมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดตามมาตรา 47 (7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร

       (ค) การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) และ (7) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้และมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดตามมาตรา 47 (7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร

       (ง) การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นเงินได้จากการจ้างทําของ การจ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย และการให้บริการอื่น ๆ นอกเหนือจากกรณีที่กําหนดไว้ใน (3) (15) (16) และ (17) แต่ไม่รวมถึงการจ่ายค่าบริการของโรงแรม ค่าบริการของภัตตาคาร และค่าเบี้ยประกันชีวิต ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคลแต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้และมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดตามมาตรา 47 (7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร

       คําว่า “การให้บริการ” หมายความว่า การกระทําใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่า ซึ่งมิใช่การขายสินค้า

       คําว่า “ภัตตาคาร” หมายความว่า กิจการขายอาหารหรือเครื่องดื่ม ไม่ว่าชนิดใด ๆ รวมทั้งกิจการรับจ้างปรุงอาหารหรือเครื่องดื่ม ทั้งนี้ ไม่ว่าในหรือจากสถานที่ซึ่งจัดให้ประชาชนเข้าไปบริโภคได้

(17/5) การจ่ายเงินได้พึงประเมินดังต่อไปนี้ที่ได้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 และผู้มีหน้าที่นําส่งภาษีได้ดําเนินการตามวิธีนําส่งที่กําหนดตามมาตรา 3 ปัณรส แห่งประมวลรัษฎากร ร้อยละ 2.0

       (ก) การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้และมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดตามมาตรา 47 (7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร

       (ข) การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นเงินได้จากค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้และมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดตามมาตรา 47 (7)(ข) แห้งประมวลรัษฎากร

       (ค) การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) และ (7) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้และมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดตามมาตรา 47 (7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร

       (ง) การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นเงินได้จากการจ้างทําของ การจ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย และการให้บริการอื่น ๆ นอกเหนือจากกรณีที่กําหนดไว้ใน (3) (15) (16) และ (17) แต่ไม่รวมถึงการจ่ายค่าบริการของโรงแรม ค่าบริการของภัตตาคาร และค่าเบี้ยประกันชีวิต ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้และมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร

       คําว่า “การให้บริการ” หมายความว่า การกระทําใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่า ซึ่งมิใช่การขายสินค้า

       คําว่า “ภัตตาคาร” หมายความว่า กิจการขายอาหารหรือเครื่องดื่ม ไม่ว่าชนิดใด ๆ รวมทั้งกิจการรับจ้างปรุงอาหารหรือเครื่องดื่ม ทั้งนี้ ไม่ว่าในหรือจากสถานที่ซึ่งจัดให้ประชาชนเข้าไปบริโภคได้

 

ให้ไว้ ณ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2563

 

อุตตม สาวนายน

(นายอุตตม สาวนายน)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

 

https://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/kormor/newlaw/mr361.pdf

 

 

คำสั่งกรมสรรพากร

ที่ ท.ป. 324 /2563

เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร

มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

----------------------------------

 

อาศัยอ านาจตามความในมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และกฎกระทรวง ฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 361 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งไม่มีหน้าที่หักภาษีณ ที่จ่าย ตามหมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตรา ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/1) ของข้อ 3/1 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 101/2544 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2544  

       “(1/1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย นอกจากที่ระบุใน (2) หักภาษี ณ ที่จ่ายส าหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.5”

ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/1) ของข้อ 3/2 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยค าสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 101/2544 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2544  

       “(1/1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย นอกจากที่ระบุใน (2) หักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินเฉพาะที่เป็นค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น ที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยค านวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.5”

ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/1) ของข้อ 7 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528

       “(1/1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล นอกจากที่ระบุใน (2) เฉพาะที่เป็นผู้มีภูมิลำเนาในประเทศไทย หรืออยู่ในประเทศไทย หรือประกอบกิจการในประเทศไทยแล้วแต่กรณีหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.5”

ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/1) ของข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528

       “(1/1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เฉพาะค่าจ้างทำของที่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (7) หรือ (8) แห่งประมวลรัษฎากรหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 256๓ ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยค านวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.5”

ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (2/1) ของข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528

       “(2/1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม หักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.5”

ข้อ 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3/1) ของข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528  

       “(3/1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ประกอบกิจการในประเทศไทย โดยมีสำนักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย หักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.5”

ข้อ 7 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/1) ของข้อ 12/1 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยค าสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 104/๒๕44 เรื่อง สั่งให้ ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2544

       “(1/1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.5”

ข้อ 8 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (2/1) ของข้อ 12/1 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยค าสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 104/2544 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2544  

       “(2/1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม หักภาษี ณ ที่จ่าย ส าหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.  2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.5”

ข้อ 9 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/1) ของข้อ 12/2 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยค าสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 101/2544 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. ๒๕44  

       “(1/1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักภาษี ณ ที่จ่าย ส าหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.5”

ข้อ 10 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (2/1) ของข้อ 12/2 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 101/2544 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2544

       “(2/1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม หักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.5”

ข้อ 6 คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป

 

สั่ง ณ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563

 

เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ

(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)

อธิบดีกรมสรรพากร

 

https://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/kormor/newlaw/tp324.pdf 


ป.ล. ข้อ 6 ควรเป็นข้อ 11 เพราะความรีบร้อน จึงอาจมีข้อผิดพลาดกันได้ แต่คะแนะความเป็นมืออาชีพก็ลดลงไป