ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจประมวลรัษฎากร และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
สุเทพ พงษ์พิทักษ์

ภาษีการขายทองคําแท่งตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

บทความวันที่ 20 ก.ย. 2563  .  เขียนโดย อจ.สุเทพ  .  เข้าชม 1341 ครั้ง

ภาษีการขายทองคําแท่งตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

 

 เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการซื้อขายทองคําแท่งตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของประเทศไทย และให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการซื้อขายทองคําแท่งที่มีความบริสุทธิ์ร้อยละเก้าสิบเก้าจุดเก้าเก้าของนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 661) พ.ศ. 2561 เพื่อลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สําหรับเงินได้จากการขายทองคําแท่งมีความบริสุทธิ์ร้อยละ 99.99 ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า  ซึ่งกระทําในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และเงินชดเชยการเลื่อนการรับมอบหรือการส่งมอบทองคําแท่ง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ดังนี้

ให้ผู้มีเงินได้ที่ได้รับเงินได้จากการขายทองคําแท่งตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งกระทําในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เฉพาะกรณีที่มีการโอน ทองคําแท่งด้วยวิธีการโอนทางบัญชีจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อ ได้รับยกเว้นไม่ต้องนําเงินได้พึงประเมินนั้นมารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ เมื่อถึงกําหนดยื่นรายการ หากเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (มาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 661) พ.ศ. 2561)

(1) ผู้มีเงินได้ยอมให้ผู้จ่ายเงินได้หักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (2) แห่งประมวลรัษฎากรในอัตราร้อยละสิบห้าของผลต่างระหว่างราคาขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีทองคําแท่งเป็นสินค้าอ้างอิง ซึ่งกระทําในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากับราคาทองคําแท่งสําหรับการส่งมอบทองคําแท่ง ณ วันที่แจ้งความประสงค์และได้จับคู่ส่งมอบทองคําแท่ง หรือราคาทองคําแท่งสําหรับการส่งมอบทองคําแท่ง ณ วันครบกําหนดอายุสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าว แล้วแต่กรณี และ

(2) ผู้มีเงินได้ไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืนหรือไม่ขอเครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน  

และให้ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับเงินชดเชยจากการเลื่อนการรับมอบหรือการส่งมอบทองคําแท่งตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งกระทําในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และยอมให้ผู้จ่ายเงินได้นั้นหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้จากเงินชดเชยดังกล่าว เมื่อถึงกําหนดยื่นรายการ ได้รับยกเว้นไม่ต้องนําเงินชดเชยดังกล่าวมารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ดังกล่าวไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืนหรือไม่ขอเครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน (มาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 661) พ.ศ. 2561)

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการสมควรส่งเสริมและสนับสนุนการซื้อขายทองคําแท่งที่มีความบริสุทธิ์ร้อยละ 99.99 ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของประเทศไทย ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 662) พ.ศ. 2561 เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (20) ของมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2561 เป็นต้นไป

       “(20) การขายทองคําแท่งตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งกระทําในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทั้งนี้ เฉพาะทองคําแท่งที่มีความบริสุทธิ์ร้อยละเก้าสิบเก้าจุดเก้าเก้า ที่ยังมิได้ประกอบขึ้นเป็นทองรูปพรรณหรือของรูปพรรณ” 

           การยกเว้นภาษีอากรเป็นกฎหมายพิเศษ จึงต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดโดยเคร่งครัด จึงจะได้รับสิทธิประโยชน์โดยครบถ้วนสมบูรณ์ มิฉะนั้น ผู้มีเงินได้อาจต้องรับผิดเสียภาษีอากรโดยไม่จำเป็น ทั้งที่ควรจะได้รับยกเว้นภาษีอากร จึงขอฝากแง่คิดไว้ด้วยครับ


 

พระราชกฤษฎีกา

ออกตามความในประมวลรัษฎากร

ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 661)

พ.ศ. 2561

-----------------------

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

ให้ไว้ ณ วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

เป็นปีที่ 3 ในรัชกาลปัจจุบัน

 

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บางกรณี

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 3 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 661) พ.ศ. 2561

มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

มาตรา 3 ในพระราชกฤษฎีกานี้

       “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

       “ทองคําแท่ง” หมายความว่า ทองคําแท่งที่มีความบริสุทธิ์ร้อยละเก้าสิบเก้าจุดเก้าเก้า

มาตรา 4 ให้ผู้มีเงินได้ที่ได้รับเงินได้จากการขายทองคําแท่งตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งกระทําในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เฉพาะกรณีที่มีการโอนทองคําแท่งด้วยวิธีการโอนทางบัญชีจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อ ได้รับยกเว้นไม่ต้องนําเงินได้พึงประเมินนั้นมารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ เมื่อถึงกําหนดยื่นรายการ หากเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

       (1) ผู้มีเงินได้ยอมให้ผู้จ่ายเงินได้หักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (2) แห่งประมวลรัษฎากรในอัตราร้อยละสิบห้าของผลต่างระหว่างราคาขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีทองคําแท่งเป็นสินค้าอ้างอิง ซึ่งกระทําในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากับราคาทองคําแท่งสําหรับการส่งมอบทองคําแท่ง ณ วันที่แจ้งความประสงค์และได้จับคู่ส่งมอบทองคําแท่ง หรือราคาทองคําแท่งสําหรับการส่งมอบทองคําแท่ง ณ วันครบกําหนดอายุสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าว แล้วแต่กรณี และ

       (2) ผู้มีเงินได้ไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืนหรือไม่ขอเครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

มาตรา 5 ให้ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับเงินชดเชยจากการเลื่อนการรับมอบหรือการส่งมอบทองคําแท่งตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งกระทําในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และยอมให้ผู้จ่ายเงินได้นั้นหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตราร้อยละสิบห้าของเงินได้จากเงินชดเชยดังกล่าว เมื่อถึงกําหนดยื่นรายการ ได้รับยกเว้นไม่ต้องนําเงินชดเชยดังกล่าวมารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ดังกล่าวไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืนหรือไม่ขอเครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้

 

ผู้รับสนองพระราชโองการ

 

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

นายกรัฐมนตร

--------------------------------------------------------------------------------------------------------

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สําหรับเงินได้จากการขายทองคําแท่งตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งกระทําในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และเงินชดเชยการเลื่อนการรับมอบหรือการส่งมอบทองคําแท่งดังกล่าว เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการซื้อขายทองคําแท่งตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของประเทศไทย และให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการซื้อขายทองคําแท่งที่มีความบริสุทธิ์ร้อยละเก้าสิบเก้าจุดเก้าเก้าของนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศจึงจําเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

 

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 53 ก หน้า 33 - 35 27 กรกฎาคม 2561

     

พระราชกฤษฎีกา

ออกตามความในประมวลรัษฎากร

ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 662)

พ.ศ. 2561

--------------------------

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

ให้ไว้ ณ วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

เป็นปีที่ 3 ในรัชกาลปัจจุบัน

 

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับการขายทองคําแท่งตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณ าจักรไทย และมาตรา 81 (1)(น) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 662) พ.ศ. 2561

มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

มาตรา 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (20) ของมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534

       “(20) การขายทองคําแท่งตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งกระทําในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทั้งนี้ เฉพาะทองคําแท่งที่มีความบริสุทธิ์ร้อยละเก้าสิบเก้าจุดเก้าเก้า ที่ยังมิได้ประกอบขึ้นเป็นทองรูปพรรณหรือของรูปพรรณ”

 

ผู้รับสนองพระราชโองการ

 

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

นายกรัฐมนตร

-------------------------------------------------------------------------------------------------------

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรส่งเสริมและสนับสนุนการซื้อขายทองคําแท่งที่มีความบริสุทธิ์ร้อยละเก้าสิบเก้าจุดเก้าเก้า ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของประเทศไทย สมควรยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับการขายทองคําแท่งตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งกระทําในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจึงจําเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 63 ก หน้า 36- 38 27 กรกฎาคม 2561