ความสัมพันธ์ของระบบภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะ
บทความวันที่ 17 ม.ค. 2564 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 4484 ครั้ง
บทความวันที่ 17 ม.ค. 2564 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 4484 ครั้ง
ความมพันธ์ของระบบภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะ
ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มและระบบภาษีธุรกิจเฉพาะ
เป็นระบบภาษีที่เป็นฝาแฝดคู่ขนาน ที่ไม่อาจแยกศึกษาต่างหากจากกัน เพราะต่างพัฒนาจากระบบภาษีการค้า
(BT:
Business Tax) ตามหมวด 4 ภาษีการค้า ในลักษณ 2
แห่งประมวลรัษฎากร ตั้งแต่มาตรา 77 ถึงมาตรา 93 และบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4
เมื่อบัญญัติระบบภาษีมูลค่าเพิ่มตามหมวด
4 ภาษีมูลค่าเพิ่ม มาตรา 77 ถึงมาตรา 90/5 แห่งประมวลรัษฎากร รวม 115 มาตรา ได้มีการบัญญัติหมวด
5 ภาษีธุรกิจเฉพาะ มาตรา 91 ถึงมาตรา 91/21 แห่งประมวลรัษฎากร รวม 22
มาตรา
1. ความเป็นระบบภาษีฝาแฝดคู่ขนาน
1.1 ต่างก็เป็น “ภาษีอากรประเมิน” (Assessment Tax)
1.2 ทั้งสองระบบภาษีเป็นภาษีการบริโภคมุ่งที่จะจัดเก็บภาษีจากผู้บริโภค
(Consumption
Tax)
1.3 โดยทั่วไปต่างก็เป็น “ภาษีทางอ้อม” (Indirect
Tax) เพราะรัฐไม่สามารถจัดเก็บภาษีจากผู้บริโภคได้โดยตรง
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เว้นแต่ กรณีการนำเข้าสินค้าโดยผู้บริโภคที่ต้องเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ณ ด่านศุลกากร
1.4 ทั้งสองระบบมุ่งจัดเก็บจากการกระทำกิจการตามที่กฎหมายกำหนดไม่ว่า
ผู้กระทำกิจการนั้นจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชน
กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นไปตามมาตรา 77/2
แห่งประมวลรัษฎากร มุ่งจัดเก็บจากการประกอบกิจการขายสินค้าหรือการให้บริการทั่วไป
ที่สามารถคำนวณหามูลค่าเพิ่ม
กรณีภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นไปตามมาตรา 91/2
แห่งประมวลรัษฎากร มุ่งจัดเก็บจากการประกอบกิจการขายสินค้าหรือบริการที่คำนวณหามูลค่าเพิ่มได้ยาก
1.5 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่
ผู้ประกอบการ และผู้นำเข้า
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่ ผู้ประกอบกิจการ
1.6 ทั้งสองระบบมีโครงสร้างทางกฎหมายที่คล้ายคลึงกัน และซ้ำกัน จึงได้มีการนำบทบัญญัติในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มไปใช้กับระบบภาษีธุรกิจเฉพาะถึง 31 มาตรา อาทิ นิยามศัพท์บางคำตามมาตรา 77/1 แห่งประมวลรัษฎากร การยื่นรายการตามส่วน 7 การจดทะเบียนตามส่วน 9 การจัดทำรายงานและการเก็บรักษารายงานและเอกสารหลักฐาน ตามส่วน 11 อำนาจเจ้าพนักงานประเมินตามส่วน 12 เบี้ยปรับ-เงินเพิ่ม ตามส่วน 13 และบทกำหนดโทษ ตามส่วน 14
2. ความสัมพันธ์ของระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
และภาษีธุรกิจเฉพาะ
จากแผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ของระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
และภาษีธุรกิจเฉพาะ
2.1 ในกรอบสี่เหลี่ยมใหญ่สมมติเป็นกรอบของรายได้จากการขายสินค้าหรือการให้บริการ
หรือรายได้อื่นใดที่เกิดจากการกระทำกิจการในราชอาณาจักร
2.2 การประกอบกิจการขายสินค้าหรือการให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพที่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา
77/2 (1) แห่งประมวลรัษฎากร สมมติอยู่ในกรอบวงกลมสีน้ำเงิน
(1) หากผู้ประกอบการมีรายได้ไม่เกิน
1.8 ล้านบาทตามมาตรา 81/1 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 432)
พ.ศ. 2548 ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ผู้ประกอบการมีสิทธิแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบ
ภ.พ.01.1 เพื่อจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามแบบ ภ.พ.01 ได้ตามมาตรา 81/3 (2)
แห่งประมวลรัษฎากร
(2) แต่ถ้าผู้ประกอบการประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา
91/2 แห่งประมวลรัษฎากร ก็ย่อมมีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
2.3 การประกอบกิจการตามมาตรา 81 (1)(ก) – (น)
แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534
เป็นกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
(1) สำหรับการประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา
81 (1)(ก) – (ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ ผู้ประกอบการมีสิทธิแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบ
ภ.พ.01.1 เพื่อจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามแบบ ภ.พ.01 ได้ตามมาตรา 81/3 (1)
แห่งประมวลรัษฎากร
(ก) การขายพืชผลทางการเกษตร
(ข) การขายสัตว์
(ค) การขายปุ๋ย
(ง) ปลาป่น อาหารสัตว์
(จ) ยา เคมีภัณฑ์เพื่อกำจัดศัตรูหรือโรคของพืชและสัตว์
(ฉ) หนังสือพิมพ์ นิตสาร และตำราเรียน
(2) กรณีส่งออกสินค้าที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา
81 (1)(ก) – (ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร ออกไปต่างประเทศ ถือเป็นกิจการที่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตามมาตรา 77/2 (1) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ได้สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 0%
ตามมาตรา 80/1 (1) แห่งประมวลรัษฎากร จึงต้องนำมารวมกับรายได้จากการขายสินค้าตามมาตรา
77/2 (1) แหงประมวลรัษฎารก หากรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
ผู้ประกอบการย่อมมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
(3) การประกอบกิจการขายสินค้าหรือการให้บริการตามมาตรา
3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 241) พ.ศ. 2534 ดังต่อไปนี้ ผู้ประกอบการมีสิทธิแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบ
ภ.พ.01.1 เพื่อจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามแบบ ภ.พ.01 ได้ตามมาตรา 81/3 (3)
แห่งประมวลรัษฎากร
(ก)
การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยอากาศยาน
(ข)
การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(เขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร)
(ค) การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร
(ง) การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร สำหรับการให้บริการขนส่งทางทะเลโดยเรือเดินทะเล
ทั้งนี้ ให้รวมถึงการให้บริการขนส่งระหว่างทะเลกับแม่น้ำในราชอาณาจักรโดยเรือเดินทะเลด้วย
2.4 การประกอบกิจการตามมาตรา 91/2 แห่งประมวลรัษฎากร
ในกรอบสี่เหลี่ยมสีฟ้าอมเทา เป็นกิจการที่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
อย่างไรก็ตามหากผู้ประกอบกิจการตามมาตรา 91/2 แห่งประมวลรัษฎากร ดังกล่าว ประกอบกิจการทีอยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา
77/2 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ก็ให้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตา 91/4 แห่งประมวลรัษฎากร
2.5 การประกอบกิจการตามมาตรา 91/3 แห่งประมวลรัษฎากร
ในกรอบสี่เหลี่ยมสีเขียว เป็นกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ อย่างไรก็ตามหากผู้ประกอบกิจการตามมาตรา
91/3 แห่งประมวลรัษฎากร ดังกล่าว ทั้งนี้ เฉพาะที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจพาะทั้งกิจการ
ได้ประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/2 (1)
แห่งประมวลรัษฎากร ก็ให้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 91/4 แห่งประมวลรัษฎากร
เช่น กิจการของการเคหะแห่งชาติ ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ เพียงแต่เฉพาะการขายหรือให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์
เท่านั้น เช่นนี้ หากการเคหะแห่งชาติประกอบกิจการอื่นในที่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
เช่น ขายน้ำประปา ให้บริการส่วนกลาง ย่อมมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น
ในขณะที่กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะอื่นที่ทั้งกิจการ อาทิ ธนาคารของรัฐบาลทั้งหลาย
เช่น ธนาคารออมสิน เป็นต้น ย่อมไม่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะมีรายได้ในประการใดก็ตาม
2.6 กิจการที่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ตามมาตรา 91/2 แห่งประมวลรัษฎากร หรือที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/3
แห่งประมวลรัษฎากร ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (Out of VAT Scope) ตามมาตรา 77/3 แห่งประมวลรัษฎากร
3. กิจการที่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
3.1 การขายสินค้าหรือการให้บริการโดยผู้ประกอบการในราชอาณาจักร
และได้มีการบริโภคสินค้าหรือใช้บริการนั้นในประเทศ รวมทั้งการนำสินค้าออกจากเขตปลอดอากรโดยมิใช่เพื่อส่งออก
(IN – IN
Activities) อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มดังนี้
(1) สำหรับกิจการที่รัฐมุ่งจะจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายสินค้าหรือบริการนั้น
ก็จะกำหนดให้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% ของราคาสินค้าหรือค่าบริการ ตามมาตรา
80 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 646) พ.ศ. 2560
(2) สำหรับกิจการที่รัฐมุ่งจะขจัดภาระภาษีมูลค่าเพิ่มในตัวสินค้าหรือบริการ
ให้ปลอดจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็จะกำหนดให้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร
3.2 การส่งออกสินค้า หรือการให้บริการในราชอาณาจักร
และได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ (IN – OUT Activities) อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มดังนี้
(1) โดยทั่วไปกิจกรรมด้งกล่าวเป็นกรณีมีการส่งออกสินค้าตามมาตรา
77/1 (14) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ เฉพาะที่ได้มีการดำเนินพิธีการทางศุลกากร และการให้บริการในราชอาณาจักร
และได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ตามมาตรา 77/2 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นการประกอบกิจการค้าระหว่างประเทศ
กำหนดให้จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มตาม “หลักปลายทาง” (Destination Principle) บริโภคในต่างประเทศไม่พึงต้องรับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีภายในประเทศไทย
รวมทั้งการการนำสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตปลอดอากร จึงได้กำหนดให้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา
0% ของราคาสินค้าหรือค่าบริการ ตามมาตรา 80/1 (1) และ (2)
แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่
105)
(2) อย่างไรก็ตาม
เฉพาะสำหรับการประกอบกิจการให้บริการจัดนำเที่ยวในต่างประเทศ ซึ่งสนับสนุนให้มีการท่องเที่ยวในราชอาณาจักรมากกว่า
จึงกำหนดให้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% ของค่าบริการจัดนำเที่ยวในต่างประเทศ
ตามข้อ 2 (1) วรรคสาม ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่
105)
3.3 การนำเข้าสินค้า หรือการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศโดยผู้ประกอบการนอกราชอาณาจักร
และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร (OUT– IN Activities) อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มดังนี้
(1) สำหรับการนำเข้าสินค้า
ตามมาตรา 77/1 (12) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นกิจการที่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตามมาตรา 77/2 (2) แห่งประมวลรัษฎากร และการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
ตามมาตรา 77/2 วรรคท้าย แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นการประกอบกิจการค้าระหว่างประเทศ
ตาม “หลักปลายทาง” (Destination
Principle) กำหนดให้รัฐปลายมีอำนาจในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
เนื่องจากมีการบริโภคสินค้าหรือบริการนั้นในราชอาณาจักร จึงกำหนดให้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา
7% ของราคาสินค้าหรือค่าบริการ ตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร
(2) สำหรัการนำเข้าสินค้า
กรมสรรพากรได้ฝากให้กรมศุลกากรจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 83/8 แห่งประมวลรัษฎากร
ซึ่งกรมศุลกากรกำหนดจัดเก็บเฉพาะการนำเข้าสินค้าที่มีรูปร่างเท่านั้น จึงต้องกำหนดให้ผู้ชำระค่าบริการที่ได้กระทำในต่างประเทศโดยผู้ประกอบการนอกราชอาณาจักร
และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็นบุคคลใดๆ มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตามมาตรา 83/6 แห่งประมวลรัษฎากร (ตามแบบ ภ.พ.36) ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่จ่ายค่าบริการ
ดังนั้น สำหรับการนำเข้าสินค้าที่ไม่มีรูปร่าง
จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากไม่มีการดำเนินพิธีการทางศุลกากร
ทั้งนี้ เว้นแต่ การนำเข้ากระแสไฟฟ้า
3.4
การขายสินค้าหรือการให้บริการอื่นได้ นอกจากทั้งสามกรณีข้างต้น ย่อมไม่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
(Out of
VAT Scope) ดังนี้
(1) สำหรับรายได้จากการขายสินค้าหรือการให้บริการหรือรายได้อื่นใด ที่อยู่นอกกรอบตามข้อ
2.2 – 2.5 ข้างต้น (IN – IN Activities) จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
อาทิ
- การขายสินค้าหรือการให้บริการที่กระทำโดยผู้ที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการ
- ค่าปรับเนื่องจากการผิดสัญญา
ค่าสินไหมทดแทน
- รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ
เนื่องจากการส่งเสริมการขาย
- ส่วนลดเงินสด
- รายได้การให้โดยเสน่หา
-
การโอนบัตรภาษี ฯลฯ
(2) สำหรับรายได้จากการขายสินค้าที่ได้กระทำนอกราชอาณาจักร
หรือการให้บริการที่ได้กระทำในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ (OUT – OUT Activities)