ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจประมวลรัษฎากร และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
สุเทพ พงษ์พิทักษ์

ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการส่งออกสินค้าในกรณีที่ไม่ต้องเสียอากรขาออกหรือได้รับยกเว้นอากรขาออก

บทความวันที่ 31 ธ.ค. 2565  .  เขียนโดย อจ.สุเทพ  .  เข้าชม 323 ครั้ง

ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการส่งออกสินค้าในกรณีที่ไม่ต้องเสียอากรขาออกหรือได้รับยกเว้นอากรขาออก
การส่งออกสินค้าในกรณีที่ไม่ต้องเสียอากรขาออกหรือได้รับยกเว้นอากรขาออก แล้วแต่กรณี ก็ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นในวันที่มีการออกใบขนสินค้าขาออก ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ซึ่งได้แก่ Status 0209 ตามข้อ 3.2 ของพิธีการศุลกากรส่งออกสินค้าทางบกดังนี้
"3.2 การยื่นใบขนสินค้าขาออก เมื่อผู้ส่งออกจัดทําใบขนสินค้าขาออกตามมาตรฐานที่ศุลกากรกําหนด และเป็นผู้ส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรได้ตอบรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นในการปฏิบัติพิธีการ ถือเป็นการยื่นเอกสารนั้นๆ ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับศุลกากรแล้ว"
พิธีการศุลกากรส่งออกสินค้าทางบก
ในการส่งออกสินค้า ผู้ส่งออกต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และประกาศที่กรมศุลกากรและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง กําหนดไว้ให้ถูกต้องครบถ้วน โดยมีคําแนะนําในการจัดเตรียมเอกสาร และปฏิบัติตามขั้นตอนพิธีการศุลกากร ส่งออกสินค้า ดังนี้
1. ใบขนสินค้าขาออกและเอกสารอื่นที่ให้ใช้แทนใบขนสินค้าขาออก
แบบพิมพ์ที่กรมศุลกากรกําหนดให้ผู้ส่งออกใช้สําหรับพิธีการศุลกากรดังนี้
1.1 ใบขนสินค้าขาออก (กศก. 101/1) ใช้สําหรับพิธีการดังนี้
(1) พิธีการใบขนสินค้าขาออกทั่วไป
(2) พิธีการส่งออกส่วนบุคคลและเอกสิทธิ์
(3) พิธีการส่งออกของประเภทส่งเสริมการลงทุน (BOI)
(4) พิธีการส่งออกคลังสินค้าทัณฑ์บน
(5) พิธีการส่งออกขอชดเชยค้าภาษีอากร
(6) พิธีการขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ
(7) พิธีการใบสุทธินํากลับ
( 8 ) พิธีการส่งกลับ (Re-Export)
1.2 คําร้องขอผ่อนผันรับของ/ส่งของออกไปก่อน (กศก. 103) ใช้สําหรับพิธีการส่งออกไปก่อนปฏิบัติพิธีการใบขนสินค้าขาออก
1.3 ใบขนสินค้าสําหรับนําเข้าหรือส่งออกชั่วคราว (A.T.A. Carnet) ใช้สําหรับพิธีการส่งออกชั่วคราว
1.4 ใบขนสินค้าสําหรับรถยนต์และจักรยานยนต์นําเข้าหรือส่งออกชั่วคราว ใช้สําหรับพิธีการส่งออกชั่วคราว
2. เอกสารที่ใช้เป็นข้อมูลในการจัดทําใบขนสินค้าขาออก
2.1 บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
2.2 บัญชีรายละเอียดของที่บรรจุหีบห่อ (Packing List)
2.3 ใบอนุญาตส่งออกหรือเอกสารอื่นใด กรณีที่ของส่งออกเป็นต้องกํากัดตามเงื่อนไขของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2.4 ในกรณีส่งออกเภสัชเคมีภัณฑ์ เภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสําเร็จรูป เคมีภัณฑ์ และสินค้าที่ไม่สามารถแยกชนิดและคุณภาพได้โดยง่าย ให้ยื่นเอกสารเพิ่มเติมดังนี้
ใบรับรองการวิเคราะห์ของผู้ผลิตสินค้า (Certificate of Analysis) หรือเอกสารรายละเอียดของสินค้า (Specification) หรือเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Material Safety Data Sheet) ซึ่งมีรายละเอียดเพียงพอที่จะใช้พิจารณา พร้อมด้วยกรรมวิธีการผลิต (ถ้ามี) และการนําไปใช้ประโยชน์ของสินค้าให้ผู้ส่งออก หรือผู้รับมอบอํานาจ เป็นผู้ลงนามรับรองในเอกสารดังกล่าว
3. การส่งข้อมูลเข้าระบบเพื่อปฏิบัติพิธีการส่งออกสินค้า
3.1 การปฏิบัติพิธีการศุลกากร ผู้ได้รับอนุมัติให้ลงทะเบียนเป็นผู้ปฏิบัติพิธีการศุลกากรหรือดําเนินการในกระบวนการทางศุลกากรโดยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถปฏิบัติพิธีการได้โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์พร้อมลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) ของเจ้าของลายมือชื่อผ่านบุคคลที่เป็นสื่อกลางผู้ให้บริการรับส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรฐานที่ศุลกากรกําหนด (ebXML/XML Format) แทนการจัดทํา ยื่น ส่ง รับ และการลงลายมือชื่อในรูปแบบเอกสาร
3.2 การยื่นใบขนสินค้าขาออก เมื่อผู้ส่งออกจัดทําใบขนสินค้าขาออกตามมาตรฐานที่ศุลกากรกําหนด และเป็นผู้ส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรได้ตอบรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นในการปฏิบัติพิธีการ ถือเป็นการยื่นเอกสารนั้นๆ ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับศุลกากรแล้ว
3.3 วิธีการส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาออก การส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาออกกระทําได้ 4 ช่องทางดังนี้
(1) ผู้ส่งออกส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาออกด้วยตนเอง
(2) ผู้ส่งออกมอบหมายให้ตัวแทนออกของ (Customs Broker) เป็นผู้ส่งข้อมูล
(3) ผู้ส่งออกให้เค้าเตอร์บริการ (Service Counter) เป็นผู้ส่งข้อมูล
(4) ผู้ส่งออกยื่นใบขนสินค้าขาออกในรูปแบบเอกสาร พร้อมเอกสารประกอบและแบบรายละเอียดข้อมูลใบขนสินค้าขาออก และชําระค่าธรรมเนียมกับเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ท่าเรือที่ที่ส่งออกโดยผู้ส่งออกต้องลงลายมือชื่อไว้ทุกฉบับ ซึ่งประกอบด้วย
- ใบขนสินค้าขาออกพร้อมคู่ฉบับ 1 ฉบับ
- แบบรายละเอียดข้อมูลใบขนสินค้าขาออก
- สําเนาบัญชีราคาสินค้า (Invoice)
- บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List) (ถ้ามี)
- ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสําหรับควบคุมการส่งออก (ถ้ามี)
- ใบรับรองการวิเคราะห์ของผู้ผลิตสินค้า (Certificate of Analysis) หรือเอกสารรายละเอียดของสินค้า (Specification) หรือเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Material Safety Data Sheet) (ถ้ามี)
4. การชําระภาษีอากร
4.1 ชําระโดยผ่านธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีการตัดบัญชีธนาคาร (Electronic Funds Transfer : EFT)
4.2 ชําระที่หน่วยงานบัญชีและอากรของสํางานศุลกากรหรือด่านศุลกากร

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ