ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจประมวลรัษฎากร และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
สุเทพ พงษ์พิทักษ์

ค่าบริการเช่าเซิฟเวอร์ต่างประเทศ

บทความวันที่ 5 ธ.ค. 2566  .  เขียนโดย อจ.สุเทพ  .  เข้าชม 477 ครั้ง

ค่าบริการเช่าเซิฟเวอร์ต่างประเทศ


เนื่องจากผมเป็นบริษัทพัฒนาซอฟแวร์ที่ต้องเช่าบริการเซิฟเวอร์ต่างประเทศจากหลายที่ เช่น Amazon AWS, Google Cloud, Heroku เป็นต้น

ผมได้อ่านโพสของอาจารย์ 2 โพสต์

โพสต์แรกอาจารย์แจ้งว่า ถ้าเป็นการจ่ายค่า cloud server มีลักษณะเป็นการให้บริการที่มีการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการซึ่งใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และมีการลงทุนค่อนข้างสูงเมื่อบริษัทฯ ชำระค่าตอบแทนดังกล่าวให้แก่นิติบุคคลต่างประเทศ จึงเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ผู้จ่ายเงินได้ไม่มีหน้าที่หักภาษีจากเงินได้ดังกล่าวเพื่อนำส่งกรมสรรพากรตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด เราจะไม่ต้องชำระ ภ...54

https://www.facebook.com/573386346045679/posts/3598128330238117/?mibextid=cr9u03

ส่วนโพสที่ 2 อาจารย์แจ้งว่า ถัาเป็นจ่ายค่า AWS (Amazon Web Services) เราจำเป็นต้องชำระ ภ...54

https://www.facebook.com/573386346045679/posts/inbox-%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-3-%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1-2563-%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B2-2313-%E0%B8%99-%E0%B8%84%E0%B8%93-janejira-pan%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B0-%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80/3167142806670007/

ผมจึงมีความสงสัยว่า จริงๆ แล้วถ้าผมใช้บริการ Amazon

ในส่วนการเช่า cloud server ผมจะไม่ต้องชำระ ภ.ง.ด.54 ถูกต้องหรือไม่ครับ

แต่ถ้าผมไปใช้บริการอื่นๆ ของ AWS ที่เป็น services ผมจำเป็นต้องจ่าย ภ.ง.ด.54 ใช่หรือไม่

 

 สุเทพ พงษ์พิทักษ์ วิสัชนา:

1. บริการของ Amazon Web Services

    Amazon Web Services (AWS) เป็นบริษัทในเครือของอเมซอนที่ให้บริการแพลตฟอร์มคลาวด์คอมพิวติ้งตามความต้องการ สำหรับบุคคล บริษัท และรัฐบาลบนพื้นฐานการจ่ายตามการใช้งาน โดยรวมแล้วเป็นเว็บเซอร์วิสการประมวลผลแบบคลาวด์ที่มีโครงสร้างพื้นฐานทางเทคนิคดั้งเดิมที่เป็นนามธรรมและหน่วยการสร้างและเครื่องมือคำนวณแบบกระจาย หนึ่งในบริการเหล่านี้คือ Amazon Elastic Compute Cloud ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้มีคลัสเตอร์เสมือนจริงของคอมพิวเตอร์ พร้อมใช้งานตลอดเวลาผ่านทางอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์เสมือนรุ่นของ AWS เลียนแบบคุณลักษณะส่วนใหญ่ของคอมพิวเตอร์จริงรวมถึงฮาร์ดแวร์ (CPU ) และ GPU เพื่อประมวลผลหน่วยความจำภายใน / RAM, ที่เก็บฮาร์ดดิสก์ / SSD ทางเลือกของระบบปฏิบัติการ เครือข่าย; และซอฟต์แวร์ก่อนโหลดเช่นเว็บเซิร์ฟเวอร์, ฐานข้อมูล,  CRM ซีอาร์เอ็ม, ฯลฯ

    "การประมวลผลบนระบบคลาวด์" คือ การให้บริการความสามารถในการประมวลผล การจัดเก็บฐานข้อมูล แอปพลิเคชัน และทรัพยากรด้านไอทีอื่นๆ ผ่านแพลตฟอร์มบริการระบบคลาวด์ทางอินเทอร์เน็ตตามการกำหนดราคาค่าบริการที่ใช้ตามจริง 

    เทคโนโลยี AWS นั้นใช้งานที่เซิร์ฟเวอร์ฟาร์มทั่วโลกและดูแลโดย บริษัท ในเครือของ Amazon ค่าธรรมเนียมจะขึ้นอยู่กับการรวมกันของการใช้งานคุณสมบัติฮาร์ดแวร์ , OS , ซอฟต์แวร์ , ระบบเครือข่ายที่เลือกโดยผู้ใช้บริการต้องพร้อมใช้งาน , ความซ้ำซ้อน , การรักษาความปลอดภัยและตัวเลือกการบริการ ผู้สมัครสมาชิกสามารถชำระเงินสำหรับคอมพิวเตอร์ AWS เสมือนเครื่องคอมพิวเตอร์จริงโดยเฉพาะหรือกลุ่มของทั้งสอง เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงการสมัครสมาชิก Amazon ให้ความปลอดภัยแก่ระบบสมาชิก AWS ดำเนินงานจากหลายภูมิภาคทั่วโลกรวมถึง 6 แห่งในอเมริกาเหนือ  ในปี 2017, AWS ประกอบด้วยกว่า 90 บริการที่ขยายได้หลากหลายรวมทั้งคอมพิวเตอร์, การจัดเก็บ, เครือข่าย, ฐานข้อมูล, การวิเคราะห์, บริการโปรแกรม, การใช้งาน, การจัดการ, มือถือ, เครื่องมือสำหรับนักพัฒนาและเครื่องมือสำหรับอินเทอร์เน็ตของสิ่ง ที่นิยมมากที่สุด ได้แก่ Amazon Elastic Compute Cloud (EC2) และ Amazon Simple Storage Service (Amazon S3) บริการส่วนใหญ่จะไม่เปิดเผยโดยตรงกับผู้ใช้ปลายทาง แต่เสนอการทำงานผ่าน API แทนสำหรับนักพัฒนาเพื่อใช้ในแอปพลิเคชันของพวกเขา ข้อเสนอของ Amazon Web Services นั้นเข้าถึงได้ผ่าน HTTP  โดยใช้สถาปัตยกรรม REST และโปรโตคอล SOAP

    Amazon ทำการตลาด AWS ให้กับสมาชิกเพื่อให้ได้รับความสามารถในการคำนวณขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็วและถูกกว่าการสร้างฟาร์มเซิร์ฟเวอร์จริง บริการทั้งหมดจะถูกเรียกเก็บเงินตามการใช้งาน แต่แต่ละบริการจะวัดการใช้งานในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ณ ปี 2560 AWS เป็นเจ้าของส่วนใหญ่ 34% ของคลาวด์ (IaaS, PaaS) ในขณะที่คู่แข่งอีกสามรายต่อไปคือ Microsoft, Google และ IBM มี 11%, 8%, 6% ตามลำดับ

    นอกจากบริการที่กล่าวถึงข้างต้นแล้ว AWS ยังมีบริการอื่นๆอีกมาที่ช่วยทำให้เราสร้างระบบไอทีขนาดใหญ่และมีเสถียรภาพได้ ดีกว่าที่จะต้องมาจัดหาเครื่อง Hardware และลงทุน Infrastructure อื่นๆ เอง พอเห็นอย่างนี้แล้ว ปีหน้าผมตั้งใจจะให้การอบรมของ IMC Institute ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา Application ต่างๆ รวมถึงการทำ มารันบน Infrastructure  จริงๆ ใหญ่ๆของ AWS ผู้เรียนจะได้เห็นกันไปเลยว่า  Large Scale Application เป็นอย่างไรจากของจริง

ที่มา:

https://www.mindphp.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/31-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%9B/7069-amazon-web-services.html

2. องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (The Organization for Economic Cooperation and Development ห รือ OECD) ได้อธิบายความหมายของ “Cloud Computing” ว่า มายความถึง การให้บริการเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่เป็นมาตรฐาน สามารถปรับแต่ง และเรียกใช้งานได้ตามความต้องการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งบริการดังกล่าวอาจประกอบไปด้วย บริการด้านการประมวลผล บริการด้านการจัดเก็บข้อมูล บริการด้านซอฟต์แวร์ และบริการด้านการจัดการข้อมูล โดยบริการดังกล่าวเหล่านี้เกิดขึ้นจากการทำงานประสานกันของทรัพยากรทั้งที่เป็นทรัพยากรทางกายภาพ (physical resources) และทรัพยากรเสมือน (virtual resources) อันได้แก่ เครือข่าย เซิร์ฟเวอร์ และแอพพลิเคชั่น

    นอกจากนี้ OECD ยังได้ขยายความต่อไปอีกว่า ทรัพยากรที่ผู้ใช้บริการประมวลผลแบบคลาวด์ได้รับอนุญาตให้เข้าใช้งานได้นั้น มิได้เป็นทรัพยากรที่เกิดขึ้นจากการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง แต่เป็นทรัพยากรซึ่งเกิดจากการท างานประสานกันของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถเข้าถึงได้จากบุคคลใดก็ได้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงทรัพยากรดังกล่าว (Cloud Computing Resources) ซึ่งผู้ใช้บริการประมวลผลแบบคลาวด์สามารถเข้าใช้บริการดังกล่าวได้จากหลากหลายช่องทาง ณ สถานที่แห่งใดก็ได้ที่พวกเขาสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผ่านอุปกรณ์ประเภทต่างๆ

    ในส่วนของระบบการทำงานของการประมวลผลแบบคลาวด์นั้น จะทำงานโดยการคัดลอกข้อมูลและซอฟต์แวร์ต่างๆของผู้ใช้บริการไปเก็บไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ต่างๆซึ่งอาจอยู่ในสถานที่ที่แตกต่างกันออกไป และเมื่อผู้ใช้บริการเรียกใช้งานข้อมูลหรือซอฟต์แวร์ดังกล่าว ระบบของการประมวลผลแบบคลาวด์ก็จะทำการประมวลผลและส่งคำสั่งเรียกใช้งานดังกล่าวไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด นอกจากนี้ยังทำให้ผู้ใช้บริการสามารถมั่นใจได้ว่าข้อมูลหรือซอฟต์แวร์ดังกล่าวจะไม่สูญหายไปแต่อย่างใด ในกรณีที่คอมพิวเตอร์หรือเซิร์ฟเวอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเกิดความเสียหายขึ้น

    เนื่องจากการให้บริการประมวลผลแบบคลาวด์ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของเครื่องคอมพิวเตอร์และเซิร์ฟเวอร์ซึ่งตั้งอยู่ในสถานที่ต่างๆ ที่ห่างกันออกไปทั้งในและต่างประเทศ จึงก่อให้เกิดปัญหาการจัดเก็บภาษีขึ้นในหลายประเด็น ทั้งปัญหาในการจัดเก็บภาษี ตลอดจนการตรวจสอบและป้องกันการเลี่ยงภาษีของธุรกิจการให้บริการประมวลผลแบบคลาวด์ผู้เขียนจึงได้จัดทำวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ขึ้นเพื่อศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการให้บริการประมวลผลแบบคลาวด์ของบริษัทต่างประเทศในประเด็นต่างๆ โดยมุ่งเน้นศึกษาปัญหาการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลของประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศสจากการให้บริการประมวลผลแบบคลาวด์ของบริษัทต่างประเทศภายใต้สถานการณ์ต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในกรณีของการให้บริการประมวลผลแบบคลาวด์ซึ่งผลจากการศึกษาพบว่า

    1) ในประเด็นเกี่ยวกับการจำแนกประเภทของเงินได้จากธุรกิจการให้บริการประมวลผลแบบคลาวด์ภายใต้กฎหมายไทย ปรากฏว่า ค่าตอบแทนจากธุรกิจการประมวลผลแบบคลาวด์ โดยทั่วไปแล้วสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ (1) ค่าตอบแทนการใช้ซอฟต์แวร์เพื่อเข้าถึงบริการประมวลผลแบบคลาวด์ ซึ่งผู้เขียนมีความเห็นว่าเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) แห่งประมวลรัษฎากร และ (2) ค่าบริการในการประมวลผลซึ่งผู้เขียนมีความเห็นว่าเป็นเงินได้พึงประเมิน

ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร

    2) ในประเด็นเกี่ยวกับการจ าแนกประเภทของเงินได้จากธุรกิจการให้บริการประมวลผลแบบคลาวด์ภายใต้ข้อตกลงในอนุสัญญาภาษีซ้อนฯ ปรากฏว่า (1) ค่าตอบแทนการใช้ซอฟต์แวร์เพื่อ เข้าถึงบริการประมวลผลแบบคลาวด์ โดยทั่วไปแล้วถือเป็นค่าสิทธิ (Royalty) และ (2) ค่าบริการในการประมวลผลถือเป็นรายได้ประเภทกำไรจากธุรกิจ (Business Profit) ภายใต้อนุสัญญาภาษีซ้อนฯ

ที่มา:

วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต “การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการให้บริการของบริษัทต่างประเทศ:กรณีการให้บริการประมวลผลแบบคลาวด์ โดยนายชินดนัย สังคะคุณ

http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2015/TU_2015_5701034018_4175_3345.pdf


 ต่อข้อถาม ขอเรียนว่า

ค่าตอบแทนจากธุรกิจการประมวลผลแบบคลาวด์ โดยทั่วไปในทางภาษีอากร สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. ค่าตอบแทนการใช้ซอฟต์แวร์เพื่อเข้าถึงบริการประมวลผลแบบคลาวด์ เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินที่เป็นค่าสิทธิ (Royalty) ตามมาตรา 40 (3) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย และนำส่งพร้อมทั้งยื่นแบบ ภ.ง.ด.54 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับอนุสัญญาภาษีซ้อน  

    ดังนั้น กรณีบริษัทฯ จ่ายค่าบริการการใช้บริการอื่นๆ ของ AWS ที่เป็น services อันเป็นค่าตอบแทนการใช้ซอฟต์แวร์เพื่อเข้าถึงบริการประมวลผลแบบคลาวด์ เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินที่เป็นค่าสิทธิ (Royalty) ตามมาตรา 40 (3) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย และนำส่งพร้อมทั้งยื่นแบบ ภ.ง.ด.54 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับอนุสัญญาภาษีซ้อน  

2. ค่าบริการในการประมวลผลแบบคลาวด์ เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร โดยถือเป็น “กำไรจากธุรกิจ” (Business Profit)

ความเห็นของคุณ Art Chanakarn ถูกต้องแล้ว