มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2559
บทความวันที่ 15 ธ.ค. 2559 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 3028 ครั้ง
บทความวันที่ 15 ธ.ค. 2559 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 3028 ครั้ง
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2559
1. หลักการ
(1) กำหนดให้ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถน
าค่าใช้จ่ายเท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในระหว่างวันที่ 14 ธันวาคม 2559
ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559
มาหักลดหย่อนได้ตามจ านวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
(2) ผู้มีเงินได้ต้องซื้อสินค้าหรือรับบริการและชำระราคาค่าสินค้าหรือค่าบริการ
ในช่วงเวลาดังกล่าว และต้องมีหลักฐานการซื้อสินค้าหรือรับบริการเป็นใบก
ากับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร
(3) การซื้อสินค้าหรือรับบริการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องเป็นการซื้อสินค้าเพื่อใช้ในประเทศหรือบริการเพื่อใช้ในประเทศเท่านั้น
และต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 7 แต่สินค้านั้นไม่รวมถึงการซื้อสุรา
เบียร์ ไวน์ ยาสูบ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ น้ ามัน ก๊าซ สำหรับเติมยานพาหนะ และการบริการนั้นไม่รวมถึง
การจ่ายค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ และการจ่ายค่าที่พักในโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
2. ตัวอย่างรายการสินค้าและบริการที่สามารถนำมาหักเป็นค่าลดหย่อนทางภาษีตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี
2559 (วันที่ 14 ธ.ค. 59 – วันที่ 31 ธ.ค. 59)
2.1 รายการสินค้าและบริการที่สามารถนำมาหักเป็นค่าลดหย่อนทางภาษีได้
(1) ค่าซื้อสินค้าจากร้านสะดวกซื้อ หรือจากห้างสรรพสินค้า
แต่ไม่รวมถึงการซื้อ สุรา เบียร์ ไวน์บุหรี่
(2) ค่าอาหารและเครื่องดื่มในร้านอาหาร หรือในโรงแรม แต่ไม่รวมถึงการซื้อ
สุรา เบียร์ ไวน์บุหรี่
(3) ค่าซื้ออุปกรณ์ตกแต่งรถ อะไหล่รถ ค่าซ่อมรถ โดยต้องเป็นการซ่อมและชำระค่าบริการ
ในช่วงวันที่ 14 - 31 ธ.ค. 2559
และซ่อมแล้วเสร็จภายใน 31 ธ.ค. 59
(4) ค่านวดหน้า สปา
(5) ซื้อสินค้าในร้าน duty free เฉพาะสินค้า
ที่เสีย VAT แต่ไม่รวมถึงการซื้อ สุรา เบียร์ ไวน์บุหรี่
(6) ค่าซื้อทองรูปพรรณจากร้านค้าทองตู้แตง ได้เฉพาะค่ากำเหน็จ เนื่องจากทองรูปพรรณเสีย
VAT เฉพาะค่ากำเหน็จ
(7) ค่าตั๋วเครื่องบินในประเทศ เฉพาะที่จ่ายให้แก่บริษัทสายการบินอื่นที่เข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
ยกเว้นบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้รับยกเว้น VAT สำหรัค่าขนส่งในประเทศ โดยไม่ของเข้าสู่ระบบ VAT
2.1 รายการสินค้าและบริการที่สามารถนำมาหักเป็นค่าลดหย่อนทางภาษีไม่ได้
(1) ค่ารักษาพยาบาล ค่าทำศัลยกรรม เนื่องจากการให้บริการของสถานพยาบาลได้รับยกเว้น
VAT
(2) ค่าซื้อทองคำแท่ง เนื่องจากจากขายทองคำาแท่งได้รับยกเว้น VAT
(3) ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ เนื่องจากเป็นการชำระค่าสินค้าและบริการของเดือนก่อน
(4) ค่าน้ำมันรถ ก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ
(5) ค่าที่พักโรงแรมในประเทศ ไม่สามารถหักลดหย่อนได้ตามมาตรการนี้
แต่สามารถนำไปหักลดหย่อนได้ตามมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว (กฎกระทรวงฉบับที่
316 และ 322)
(6) ค่าซื้อแพคเกจทัวร์ท่องเที่ยวในประเทศ ไม่สามารถหักลดหย่อนได้ตามมาตรการนี้
แต่สามารถนำไปหักลดหย่อนได้ตามมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว (กฎกระทรวงฉบับที่
316 และ 322)
(7) ค่าซื้อแพคเกจทัวร์ไปต่างประเทศ
(8) ค่าตั๋วเครื่องบินในประเทศ เฉพาะที่จ่ายให้แก่บริษัทการบินไทย
จำกัด (มหาชน) ค่าขนส่งในประเทศได้รับยกเว้น VAT
กรณีจ่ายให้สายการบินอืนต้องเสี
(9) ค่าตั๋วเครื่องบินไปต่างประเทศ
(10) ซื้อประกันชีวิต ประกันรถยนต์ เนื่องจากเป็นการให้บริการประกันซึ่งคุ้มครองนอกเหนือจากวันที่
14 - 31 ธ.ค. 59
(11) ค่าซื้อเนื้อหมู ไก่ ปลา เป็นสินค้าที่ได้รับยกเว้น VAT
(12) ซื้อหนังสือ นิตยสาร ตำราเรียน เป็นสินค้าที่ได้รับยกเว้น
VAT
(13) ซื้อบัตรเพื่อแลกรับบริการ ต้องซื้อบัตรเพื่อแลกรับบริการและนำบัตรนั้นไปใช้รับบริการในระหว่างวันที่
14 - 31 ธ.ค. 59 สามารถนามาหักลดหย่อนได้
(14) ซื้อบัตรของขวัญของห้างสรรพสินค้า (Gift
voucher) เนื่องจากบัตรของขวัญไม่เสีย VAT
3. คำถามที่ถูกถามบ่อย: FAQ
Q 1: มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี
2559 เป็นการให้สิทธิประโยชน์อะไร
A: ผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดา สามารถน
าเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในระหว่างวันที่ 14 ธันวาคม 2559
ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559 มาหักเป็นค่าลดหย่อนในการค
านวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจ าปีภาษี 2559 ได้ตามจ
านวนเงินที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
Q 2: การให้หักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ
ในระหว่างวันที่ 14 ธันวาคม 2559
ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559
มีหลักเกณฑ์เงื่อนไข อย่างไร
A: การหักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ
มีหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ดังนี้
1.
ผู้มีเงินได้ต้องซื้อสินค้าหรือรับบริการ และช
าระราคาค่าสินค้าหรือค่าบริการระหว่างวันที่ 14 – 31 ธันวาคม
2559
2.
ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานเป็นใบก ากับภาษีแบบเต็มรูปตาม มาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร (มีชื่อ
ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในใบก ากับภาษี)
3.
เป็นการซื้อสินค้าหรือบริการเพื่อใช้ในประเทศเท่านั้น
และต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7
4. สินค้าและบริการนั้น
ไม่รวมถึง
(1) การซื้อสุรา
เบียร์ ไวน์ ยาสูบ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ น้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ
(2) การจ่ายค่าบริการนำเที่ยวให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว
และการจ่ายค่าที่พักในโรงแรม
Q 3: ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการใดบ้าง
ที่สามารถน ามาหักลดหย่อนได้ตามมาตรการนี้
A: 1.
สินค้าทุกประเภท ยกเว้น การซื้อสุรา เบียร์ ไวน์ ยาสูบ
รถยนต์รถจักรยานยนต์ เรือ น้ำมัน และก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ
2. บริการทุกประเภท ยกเว้น ค่าบริการน
าเที่ยวและค่าที่พักโรงแรม
ทั้งนี้
สินค้าและบริการนั้นต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 และต้องชำระค่าสินค้าและใช้บริการระหว่างวันที่ 14 - 31 ธันวาคม 2559
Q 4: กรณีชำระค่าบริการระหว่างวันที่ 14 -
31 ธันวาคม 2559 แต่ได้ใช้บริการหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2559 จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้หรือไม่
A: ไม่สามารถใช้ได้เนื่องจากต้องชำระค่าบริการและใช้บริการในช่วงวันที่
14 - 31 ธันวาคม 2559 เท่านั้น
Q 5: กรณีจ่ายค่าที่พักโรงแรม
หรือจ่ายค่าบริการน าเที่ยว ระหว่างวันที่ 14 - 31 ธันวาคม 2559 สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนตามมาตรการนี้ ได้หรือไม่
A: ไม่สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนตามมาตรการนี้ได้เนื่องจากการจ่ายค่าบริการนั้น
ไม่รวมถึงการจ่ายค่าที่พักโรงแรมและค่าบริการนำเที่ยว อย่างไรก็ดี
ผู้เสียภาษีสามารถนำค่าที่พักโรงแรมและค่าบริการนำเที่ยว ไปหักลดหย่อนได้ตามมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว
(กฎกระทรวงฉบับที่ 316 และ 322)
Q 6: ต้องใช้หลักฐานใด
ในการใช้สิทธิหักลดหย่อน
A: หลักฐานที่ใช้ คือ ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป
ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร (ใบกำกับภาษีที่มีข้อความระบุชื่อ
ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ)
Q 7: ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่สามารถน ามาใช้เป็นหลักฐานในการหักลดหย่อน
หมายถึงอะไร
A: ใบกากับภาษีที่มีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) คำว่า "ใบกำกับภาษี"
ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
(2) ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี
(3) ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
(4) หมายเลขลำดับของใบก ากับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี)
(5) ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ
และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
(6) จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ค
านวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าและหรือของบริการให้ชัดแจ้ง
(7) วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
(8) ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด เช่น คำว่าเอกสารออกเป็นชุด
สำเนาใบกำกับภาษี ฯลฯ
Q 8: ใบกำกับภาษีมีข้อความไม่สมบูรณ์
เช่น เขียนชื่อ หรือที่อยู่ผู้ซื้อสินค้าผิด หรือมีการแก้ไข สามารถนำมาใช้หักลดหย่อนได้หรือไม่
A: หากใบกำกับภาษีนั้นมีรายการครบถ้วนตามมาตรา
86/4 แห่งประมวลรัษฎากร แม้จะมีการเขียนชื่อ หรือที่อยู่ผู้ซื้อสินค้าผิด
หรือมีการแก้ไขข้อความ ก็สามารถใช้หักลดหย่อนได้
Q 9: กรณีซื้อสินค้าหรือช
าระค่าบริการหลายครั้ง (มีใบกำกับภาษีหลายใบ) ระหว่างวันที่ 14 - 31 ธันวาคม 2559 จะสามารถนำมูลค่าการซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการแต่ละครั้งมารวมกันเพื่อใช้สิทธิได้หรือไม่
A: การซื้อสินค้าหรือค่าบริการในแต่ละครั้งหากมีมูลค่าไม่ถึง
15,000 บาท สามารถนำการซื้อหลายครั้งมารวมกันได้
แต่ใช้สิทธิได้ไม่เกิน 15,000 บาท
Q 10: กรณีใบกำกับภาษีมีทั้งรายการสินค้าและบริการ
ที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จะหักลดหย่อนอย่างไร
A : สามารถน ามาหักลดหย่อนได้เฉพาะค่าสินค้าและค่าบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ที่มา: http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/download/tortor_131259.pdf