อาชญากรรมเกี่ยวกับภาษีอากร
บทความวันที่ 6 เม.ย. 2560 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 7575 ครั้ง
บทความวันที่ 6 เม.ย. 2560 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 7575 ครั้ง
อาชญากรรมเกี่ยวกับภาษีอากร
เนื่องจากประเทศไทยในฐานะสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้ง
Asia
Pacific Group on Money Laundering (APG) มีเหตุผลความจําเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับ
(Terms of References) ที่กําหนดให้ประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติตามข้อแนะนําของ
Financial Action Task Force (FATF) ในการกําหนดให้อาชญากรรมเกี่ยวกับภาษีอากรที่มีลักษณะร้ายแรงเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
และเพื่อให้เป็นไปตามเหตุผลดังกล่าว อีกทั้งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปราบปรามการหลีกเลี่ยงและการฉ้อโกงภาษีอากร
สมควรกําหนดให้การกระทําความผิดเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีอากรและการฉ้อโกงภาษีอากรที่มีลักษณะเป็นอาชญากรรมร้ายแรงเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
รัฐบาล
ฯพณฯ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงได้ตรา “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ 45) พ.ศ. 2560” เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 37 ตรี
ในส่วน 3 บทกําหนดโทษ ของหมวด 2 วิธีการเกี่ยวแก่ภาษีอากรประเมิน ของลักษณะ 2
ภาษีอากรฝ่ายสรรพากร แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน
พ.ศ. 2560 อันเป็นวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
“มาตรา 37 ตรี
ความผิดตามมาตรา 37 มาตรา 37 ทวิ หรือมาตรา 90/4 ที่ผู้กระทําความผิดเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรหรือนําส่งภาษีอากร
และเป็นความผิดที่เกี่ยวกับจํานวนภาษีอากรที่หลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงตั้งแต่สิบล้านบาทต่อปีภาษีขึ้นไป
หรือจํานวนภาษีอากรที่ขอคืนโดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรืออุบาย
หรือโดยวิธีการอื่นใดทํานองเดียวกัน ตั้งแต่สองล้านบาทต่อปีภาษีขึ้นไป
และผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรหรือนําส่งภาษีอากรดังกล่าวได้กระทําในลักษณะที่เป็นกระบวนการหรือเป็นเครือข่าย
โดยสร้างธุรกรรมอันเป็นเท็จหรือปกปิดเงินได้พึงประเมินหรือรายได้
เพื่อหลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงภาษีอากรและมีพฤติกรรมปกปิดหรือซ่อนเร้นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดเพื่อมิให้ติดตามทรัพย์สินนั้นได้ให้ถือว่าความผิดดังกล่าวเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเมื่ออธิบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองความผิดทางภาษีอากรที่เข้าข่ายความผิดมูลฐานส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
แล้วให้ดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินต่อไป
คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งประกอบด้วยอธิบดี
รองอธิบดีและที่ปรึกษากรมสรรพากรทุกคน”
จากบทบัญญัติดังกล่าว
อาจแยกพิจารณาเป็นรายประเด็นได้ดังนี้
1.
วัตถุประสงค์ของการตรากฎหมายนี้
2.
ลักษณะของอาชญากรรมเกี่ยวกับภาษีอากร
3.
คณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองความผิดทางภาษีอากรที่เข้าข่ายความผิดมูลฐาน
4.
กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
1.
วัตถุประสงค์ของการตรากฎหมายนี้
วัตถุประสงค์ในการบัญญัติมาตรา
37 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร มีดังนี้
1.1
เพื่ออนุวรรตให้เป็นไปตามข้อบังคับ (Terms of References:
TOR) ของการเป็นประเทศสมาชิกของ Financial Action Task Force
(FATF) ในการกําหนดให้อาชญากรรมเกี่ยวกับภาษีอากรที่มีลักษณะร้ายแรงเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
ในฐานะที่ประเทศไทยในฐานะสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้ง Asia Pacific Group on Money
Laundering (APG)
1.2
เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพในการปราบปรามการหลีกเลี่ยงและการฉ้อโกงภาษีอากร
เพื่อให้สามารถติดตามทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดหลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงภาษีอากรและมีพฤติกรรมปกปิดหรือซ่อนเร้นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดหลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงภาษีอากรและมีพฤติกรรมปกปิดหรือซ่อนเร้นทรัพย์สิน
2. ลักษณะของอาชญากรรมเกี่ยวกับภาษีอากร
ให้ถือว่าความผิดดังกล่าวเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
2.1
หลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยง หรือฉ้อโกงจํานวนภาษีอากรที่มีจำนวนตั้งแต่สิบล้านบาทต่อปีภาษีขึ้นไป ในความผิดดังต่อไปนี้
2.1.1
ความผิดตามมาตรา 37 แห่งประมวลรัษฎากร
“มาตรา
37 ผู้ใดกระทำการดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงเจ็ดปี
และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองแสนบาท
(1)
โดยเจตนาแจ้งข้อความเท็จ หรือให้ถ้อยคำเท็จ หรือตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ
หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดง
เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรหรือเพื่อขอคืนภาษีอากรตามลักษณะนี้ หรือ
(2) โดยความเท็จ
โดยฉ้อโกงหรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใดทำนองเดียวกัน หลีกเลี่ยง
หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรหรือขอคืนภาษีอากรตามลักษณะนี้
2.1.2
ความผิดตามมาตรา 37 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร”
“มาตรา 37 ทวิ ผู้ใดโดยเจตนาไม่ยื่นรายการที่ต้องยื่นตามลักษณะนี้
เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ”
2.1.3
ความผิดตามมาตรา 90/4 แห่งประมวลรัษฎากร
“มาตรา 90/4 บุคคลดังต่อไปนี้
ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติที่ระบุไว้
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองแสนบาท
(1)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยเจตนาหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม
ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้โดยไม่มีสิทธิที่จะออกเอกสารดังกล่าวตามมาตรา
86 วรรคสอง หรือ มาตรา 86/1
(2)
ตัวแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักร โดยเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม
ออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิตามมาตรา 86/2 วรรคหนึ่ง
(3) ผู้ออกใบกำกับภาษี
ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้โดยไม่มีสิทธิจะออก เอกสารดังกล่าวตามมาตรา 86/13
(4)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยเจตนาหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ลงรายการ
หรือลงรายการเป็นเท็จในรายงานตามมาตรา 87 หรือตามที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา
87/1
(5)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยเจตนาหลีกเลี่ยง
หรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้
หรือใบแทนเอกสารดังกล่าว
(6)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม
หรือขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม กระทำการใด ๆ โดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรืออุบาย
หรือโดยวิธีการอื่นใด ทำนองเดียวกัน
(7)
ผู้ประกอบการโดยเจตนานำใบกำกับภาษีปลอม หรือใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปใช้ในการเครดิตภาษี”
2.2 ขอคืนภาษีอากร
โดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใดทํานองเดียวกัน มีจํานวนตั้งแต่สองล้านบาทต่อปีภาษีขึ้นไป
2.3 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรหรือนําส่งภาษีอากร
ตามข้อ 2.1 และหรือ 2.2 ดังกล่าว ได้กระทําในลักษณะที่เป็นกระบวนการหรือเป็นเครือข่าย
โดยสร้างธุรกรรมอันเป็นเท็จหรือปกปิดเงินได้พึงประเมินหรือรายได้
เพื่อหลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงภาษีอากรและมีพฤติกรรมปกปิดหรือซ่อนเร้นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดเพื่อมิให้ติดตามทรัพย์สินนั้นได้
3. คณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองความผิดทางภาษีอากรที่เข้าข่ายความผิดมูลฐาน
3.1
องค์คณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองความผิดทางภาษีอากรที่เข้าข่ายความผิดมูลฐานประกอบด้วยอธิบดี
รองอธิบดี และที่ปรึกษากรมสรรพากรทุกคน
3.2
หน้าที่ของคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองความผิดทางภาษีอากรที่เข้าข่ายความผิดมูลฐาน
3.2.1
พิจารณากลั่นกรองความผิดทางภาษีอากรที่เข้าข่ายความผิดมูลฐาน
3.2.2
ส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินแล้ว
ให้ดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินต่อไป
4. กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
เป็นไปตามมาตรา 5 ถึงมาตรา 12 ในหมวด 1 บททั่วไป แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
พ.ศ. 2542 ดังนี้
4.1 ผู้กระทําความผิดฐานฟอกเงิน
“มาตรา 5 ผู้ใด
(1) โอน รับโอน
หรือเปลี่ยนสภาพทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดเพื่อซุกซ่อนหรือปกปิดแหล่งที่มาของทรัพย์สินนั้น
หรือเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นไม่ว่าก่อน ขณะหรือหลังการกระทําความผิด
มิให้ต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลงในความผิดมูลฐาน หรือ
(2) กระทําด้วยประการใด ๆ
เพื่อปกปิดหรืออําพรางลักษณะที่แท้จริงการได้มาแหล่งที่ตั้ง การจําหน่าย การโอน
การได้สิทธิใด ๆ ซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิด
ผู้นั้นกระทําความผิดฐานฟอกเงิน”
มาตรา 6
ผู้ใดกระทําความผิดฐานฟอกเงิน
แม้จะกระทํานอกราชอาณาจักรผู้นั้นจะต้องรับโทษในราชอาณาจักรตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ถ้าปรากฏว่า
(1)
ผู้กระทําความผิดหรือผู้ร่วมกระทําความผิดคนใดคนหนึ่งเป็นคนไทยหรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
(2) ผู้กระทําความผิดเป็นคนต่างด้าว
และได้กระทําโดยประสงค์ให้ความผิดเกิดขึ้นในราชอาณาจักร หรือรัฐบาลไทยเป็นผู้เสียหาย
หรือ
(3) ผู้กระทําความผิดเป็นคนต่างด้าว
และการกระทํานั้นเป็นความผิดตามกฎหมายของรัฐที่การกระทําเกิดขึ้นในเขตอํานาจของรัฐนั้น
หากผู้นั้นได้ปรากฏตัวอยู่ในราชอาณาจักรและมิได้มีการส่งตัวผู้นั้นออกไปตามกฎหมายว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน
ทั้งนี้ให้นํามาตรา 10 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม
4.2 บทกำหนดโทษ
มาตรา 7 ในความผิดฐานฟอกเงิน
ผู้ใดกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการในความผิดนั้น
(1)
สนับสนุนการกระทําความผิดหรือช่วยเหลือผู้กระทําความผิดก่อนหรือขณะกระทําความผิด
(2) จัดหาหรือให้เงินหรือทรัพย์สิน ยานพาหนะ สถานที่ หรือวัตถุใด ๆ
หรือกระทําการใด ๆ
เพื่อช่วยให้ผู้กระทําความผิดหลบหนีหรือเพื่อมิให้ผู้กระทําความผิดถูกลงโทษ
หรือเพื่อให้ได้รับประโยชน์ในการกระทําความผิด
ผู้ใดจัดหาหรือให้เงินหรือทรัพย์สิน
ที่พํานัก หรือที่ซ่อนเร้น เพื่อช่วยบิดา มารดาบุตร
สามีหรือภริยาของตนให้พ้นจากการถูกจับกุม
ศาลจะไม่ลงโทษผู้นั้นหรือลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้
มาตรา 8
ผู้ใดพยายามกระทําความผิดฐานฟอกเงิน ต้องระวางโทษตามที่กําหนดไว้สําหรับความผิดนั้นเช่นเดียวกับผู้กระทําความผิดสําเร็จ
มาตรา 9
ผู้ใดสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทําความผิดฐาน ฟอกเงิน
ต้องระวางโทษกึ่งหนึ่งของโทษที่กําหนดไว้สําหรับความผิดนั้น
ถ้าได้มีการกระทําความผิดฐานฟอกเงินเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกันตามวรรคหนึ่งผู้สมคบกันนั้นต้องระวางโทษตามที่กําหนดไว้สําหรับความผิดนั้น
ในกรณีที่ความผิดได้กระทําถึงขั้นลงมือกระทําความผิด
แต่เนื่องจากการเข้าขัดขวางของผู้สมคบทําให้การกระทํานั้นกระทําไปไม่ตลอดหรือกระทําไปตลอดแล้วแต่การกระทํานั้นไม่บรรลุผล
ผู้สมคบที่กระทําการขัดขวางนั้น คงรับโทษตามที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่งเท่านั้น
ถ้าผู้กระทําความผิดตามวรรคหนึ่งกลับใจให้ความจริงแห่งการสมคบต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนที่จะมีการกระทําความผิดตามที่ได้สมคบกัน
ศาลจะไม่ลงโทษผู้นั้นหรือลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกําหนดไว้เพียงใดก็ได้
มาตรา 10 เจ้าพนักงาน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น
ข้าราชการ พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ของรัฐ
พนักงานองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ กรรมการหรือผู้บริหารหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งเป็นผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน
หรือกรรมการขององค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ
ผู้ใดกระทําความผิดตามหมวดนี้ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กําหนดไว้สําหรับความผิดนั้น
กรรมการ อนุกรรมการ
กรรมการธุรกรรม เลขาธิการ รองเลขาธิการ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ผู้ใดกระทําความผิดตามหมวดนี้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กําหนดไว้สําหรับความผิดนั้น
มาตรา 11 กรรมการ อนุกรรมการ กรรมการธุรกรรม
เลขาธิการ รองเลขาธิการ พนักงานเจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงาน
หรือข้าราชการผู้ใดกระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ
หรือกระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา
อันเกี่ยวเนื่องกับการกระทําความผิดตามหมวดนี้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กําหนดไว้สําหรับความผิดนั้น
ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นผู้ใดร่วมในการกระทําความผิดกับบุคคลตามวรรคหนึ่งไม่ว่าในฐานะตัวการ
ผู้ใช้หรือผู้สนับสนุน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทําความผิดตามวรรคหนึ่ง
4.3 เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 12
ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ให้กรรมการ อนุกรรมการ กรรมการธุรกรรม เลขาธิการ
รองเลขาธิการ และพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
4.4 การดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน ตามมาตรา 48
และมาตรา 49 ในหมวด 6 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ดังนี้
มาตรา 48
ในการตรวจสอบรายงานและข้อมูลเกี่ยวกับการทําธุรกรรม
หากมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจมีการโอน จําหน่าย ยักย้าย ปกปิด
หรือซ่อนเร้นทรัพย์สินใดที่เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิด
ให้คณะกรรมการธุรกรรมมีอํานาจสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นไว้ชั่วคราวมีกําหนดไม่เกินเก้าสิบวัน
ในกรณีจําเป็นหรือเร่งด่วน
เลขาธิการจะสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งไปก่อน
แล้วรายงานต่อคณะกรรมการธุรกรรม
การตรวจสอบรายงานและข้อมูลเกี่ยวกับการทําธุรกรรมตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวง
ผู้ทําธุรกรรมซึ่งถูกสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สิน
หรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินจะแสดงหลักฐานว่าเงินหรือทรัพย์สินในการทําธุรกรรมนั้นมิใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดเพื่อให้มีคําสั่งเพิกถอนการยึดหรืออายัดก็ได้
ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวง
เมื่อคณะกรรมการธุรกรรมหรือเลขาธิการ
แล้วแต่กรณีสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินหรือสั่งเพิกถอนการยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นแล้ว
ให้คณะกรรมการธุรกรรมรายงานต่อคณะกรรมการ
มาตรา 49 ภายใต้บังคับมาตรา 48 วรรคหนึ่ง
ในกรณีที่ปรากฏหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าทรัพย์สินใดเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิด
ให้เลขาธิการส่งเรื่องให้พนักงานอัยการพิจารณาเพื่อยื่นคําร้องขอให้ศาลมีคําสั่งให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินโดยเร็ว
ในกรณีที่พนักงานอัยการเห็นว่าเรื่องดังกล่าวยังไม่สมบูรณ์พอที่จะยื่นคําร้องขอให้ศาลมีคําสั่งให้ทรัพย์สินนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนตกเป็นของแผ่นดินได้ให้พนักงานอัยการรีบแจ้งให้เลขาธิการทราบเพื่อดําเนินการต่อไป
โดยให้ระบุข้อที่ไม่สมบูรณ์นั้นให้ครบถ้วนในคราวเดียวกัน
ให้เลขาธิการรีบดําเนินการตามวรรคสองแล้วส่งเรื่องเพิ่มเติมไปให้พนักงานอัยการพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
หากพนักงานอัยการยังเห็นว่าไม่มีเหตุพอที่จะยื่นคําร้องขอให้ศาลมีคําสั่งให้ทรัพย์สินนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนตกเป็นของแผ่นดิน
ให้พนักงานอัยการรีบแจ้งให้เลขาธิการทราบเพื่อส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดให้คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดภายในกําหนดสามสิบวันนับแต่ได้รับเรื่องจากเลขาธิการ
และเมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดเป็นประการใดให้พนักงานอัยการ
5. บทสรุป
มาตรา 37 ตรี
แห่งประมวลรัษฎากร นับได้ว่า เป็นเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพในการปราบปรามการหลีกเลี่ยงและการฉ้อโกงภาษีอากร
เพื่อให้สามารถติดตามทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดหลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงภาษีอากรและมีพฤติกรรมปกปิดหรือซ่อนเร้นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดหลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงภาษีอากรและมีพฤติกรรมปกปิดหรือซ่อนเร้นทรัพย์สิน
โดยเชื่อมโยงและนำบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาใช้ในป้องกันและปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีอากรและการฉ้อโกงภาษีอากรที่มีลักษณะเป็นอาชญากรรมร้ายแรงเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
เนื่องจากประเทศไทยในฐานะสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้ง
Asia
Pacific Group on Money Laundering (APG) มีเหตุผลความจําเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับ
(Terms of References) ที่กําหนดให้ประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติตามข้อแนะนําของ
Financial Action Task Force (FATF) ในการกําหนดให้อาชญากรรมเกี่ยวกับภาษีอากรที่มีลักษณะร้ายแรงเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
และเพื่อให้เป็นไปตามเหตุผลดังกล่าว อีกทั้งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปราบปรามการหลีกเลี่ยงและการฉ้อโกงภาษีอากร
สมควรกําหนดให้การกระทําความผิดเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีอากรและการฉ้อโกงภาษีอากรที่มีลักษณะเป็นอาชญากรรมร้ายแรงเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
รัฐบาล
ฯพณฯ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงได้ตรา “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ 45) พ.ศ. 2560” เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 37 ตรี
ในส่วน 3 บทกําหนดโทษ ของหมวด 2 วิธีการเกี่ยวแก่ภาษีอากรประเมิน ของลักษณะ 2
ภาษีอากรฝ่ายสรรพากร แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน
พ.ศ. 2560 อันเป็นวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
“มาตรา 37 ตรี
ความผิดตามมาตรา 37 มาตรา 37 ทวิ หรือมาตรา 90/4 ที่ผู้กระทําความผิดเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรหรือนําส่งภาษีอากร
และเป็นความผิดที่เกี่ยวกับจํานวนภาษีอากรที่หลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงตั้งแต่สิบล้านบาทต่อปีภาษีขึ้นไป
หรือจํานวนภาษีอากรที่ขอคืนโดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรืออุบาย
หรือโดยวิธีการอื่นใดทํานองเดียวกัน ตั้งแต่สองล้านบาทต่อปีภาษีขึ้นไป
และผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรหรือนําส่งภาษีอากรดังกล่าวได้กระทําในลักษณะที่เป็นกระบวนการหรือเป็นเครือข่าย
โดยสร้างธุรกรรมอันเป็นเท็จหรือปกปิดเงินได้พึงประเมินหรือรายได้
เพื่อหลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงภาษีอากรและมีพฤติกรรมปกปิดหรือซ่อนเร้นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดเพื่อมิให้ติดตามทรัพย์สินนั้นได้ให้ถือว่าความผิดดังกล่าวเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเมื่ออธิบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองความผิดทางภาษีอากรที่เข้าข่ายความผิดมูลฐานส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
แล้วให้ดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินต่อไป
คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งประกอบด้วยอธิบดี
รองอธิบดีและที่ปรึกษากรมสรรพากรทุกคน”
จากบทบัญญัติดังกล่าว
อาจแยกพิจารณาเป็นรายประเด็นได้ดังนี้
1.
วัตถุประสงค์ของการตรากฎหมายนี้
2.
ลักษณะของอาชญากรรมเกี่ยวกับภาษีอากร
3.
คณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองความผิดทางภาษีอากรที่เข้าข่ายความผิดมูลฐาน
4.
กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
1.
วัตถุประสงค์ของการตรากฎหมายนี้
วัตถุประสงค์ในการบัญญัติมาตรา
37 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร มีดังนี้
1.1
เพื่ออนุวรรตให้เป็นไปตามข้อบังคับ (Terms of References:
TOR) ของการเป็นประเทศสมาชิกของ Financial Action Task Force
(FATF) ในการกําหนดให้อาชญากรรมเกี่ยวกับภาษีอากรที่มีลักษณะร้ายแรงเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
ในฐานะที่ประเทศไทยในฐานะสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้ง Asia Pacific Group on Money
Laundering (APG)
1.2
เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพในการปราบปรามการหลีกเลี่ยงและการฉ้อโกงภาษีอากร
เพื่อให้สามารถติดตามทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดหลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงภาษีอากรและมีพฤติกรรมปกปิดหรือซ่อนเร้นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดหลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงภาษีอากรและมีพฤติกรรมปกปิดหรือซ่อนเร้นทรัพย์สิน
2. ลักษณะของอาชญากรรมเกี่ยวกับภาษีอากร
ให้ถือว่าความผิดดังกล่าวเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
2.1
หลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยง หรือฉ้อโกงจํานวนภาษีอากรที่มีจำนวนตั้งแต่สิบล้านบาทต่อปีภาษีขึ้นไป ในความผิดดังต่อไปนี้
2.1.1
ความผิดตามมาตรา 37 แห่งประมวลรัษฎากร
“มาตรา
37 ผู้ใดกระทำการดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงเจ็ดปี
และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองแสนบาท
(1)
โดยเจตนาแจ้งข้อความเท็จ หรือให้ถ้อยคำเท็จ หรือตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ
หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดง
เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรหรือเพื่อขอคืนภาษีอากรตามลักษณะนี้ หรือ
(2) โดยความเท็จ
โดยฉ้อโกงหรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใดทำนองเดียวกัน หลีกเลี่ยง
หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรหรือขอคืนภาษีอากรตามลักษณะนี้
2.1.2
ความผิดตามมาตรา 37 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร”
“มาตรา 37 ทวิ ผู้ใดโดยเจตนาไม่ยื่นรายการที่ต้องยื่นตามลักษณะนี้
เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ”
2.1.3
ความผิดตามมาตรา 90/4 แห่งประมวลรัษฎากร
“มาตรา 90/4 บุคคลดังต่อไปนี้
ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติที่ระบุไว้
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองแสนบาท
(1)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยเจตนาหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม
ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้โดยไม่มีสิทธิที่จะออกเอกสารดังกล่าวตามมาตรา
86 วรรคสอง หรือ มาตรา 86/1
(2)
ตัวแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักร โดยเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม
ออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิตามมาตรา 86/2 วรรคหนึ่ง
(3) ผู้ออกใบกำกับภาษี
ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้โดยไม่มีสิทธิจะออก เอกสารดังกล่าวตามมาตรา 86/13
(4)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยเจตนาหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ลงรายการ
หรือลงรายการเป็นเท็จในรายงานตามมาตรา 87 หรือตามที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา
87/1
(5)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยเจตนาหลีกเลี่ยง
หรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้
หรือใบแทนเอกสารดังกล่าว
(6)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม
หรือขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม กระทำการใด ๆ โดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรืออุบาย
หรือโดยวิธีการอื่นใด ทำนองเดียวกัน
(7)
ผู้ประกอบการโดยเจตนานำใบกำกับภาษีปลอม หรือใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปใช้ในการเครดิตภาษี”
2.2 ขอคืนภาษีอากร
โดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใดทํานองเดียวกัน มีจํานวนตั้งแต่สองล้านบาทต่อปีภาษีขึ้นไป
2.3 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรหรือนําส่งภาษีอากร
ตามข้อ 2.1 และหรือ 2.2 ดังกล่าว ได้กระทําในลักษณะที่เป็นกระบวนการหรือเป็นเครือข่าย
โดยสร้างธุรกรรมอันเป็นเท็จหรือปกปิดเงินได้พึงประเมินหรือรายได้
เพื่อหลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงภาษีอากรและมีพฤติกรรมปกปิดหรือซ่อนเร้นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดเพื่อมิให้ติดตามทรัพย์สินนั้นได้
3. คณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองความผิดทางภาษีอากรที่เข้าข่ายความผิดมูลฐาน
3.1
องค์คณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองความผิดทางภาษีอากรที่เข้าข่ายความผิดมูลฐานประกอบด้วยอธิบดี
รองอธิบดี และที่ปรึกษากรมสรรพากรทุกคน
3.2
หน้าที่ของคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองความผิดทางภาษีอากรที่เข้าข่ายความผิดมูลฐาน
3.2.1
พิจารณากลั่นกรองความผิดทางภาษีอากรที่เข้าข่ายความผิดมูลฐาน
3.2.2
ส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินแล้ว
ให้ดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินต่อไป
4. กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
เป็นไปตามมาตรา 5 ถึงมาตรา 12 ในหมวด 1 บททั่วไป แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
พ.ศ. 2542 ดังนี้
4.1 ผู้กระทําความผิดฐานฟอกเงิน
“มาตรา 5 ผู้ใด
(1) โอน รับโอน
หรือเปลี่ยนสภาพทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดเพื่อซุกซ่อนหรือปกปิดแหล่งที่มาของทรัพย์สินนั้น
หรือเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นไม่ว่าก่อน ขณะหรือหลังการกระทําความผิด
มิให้ต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลงในความผิดมูลฐาน หรือ
(2) กระทําด้วยประการใด ๆ
เพื่อปกปิดหรืออําพรางลักษณะที่แท้จริงการได้มาแหล่งที่ตั้ง การจําหน่าย การโอน
การได้สิทธิใด ๆ ซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิด
ผู้นั้นกระทําความผิดฐานฟอกเงิน”
มาตรา 6
ผู้ใดกระทําความผิดฐานฟอกเงิน
แม้จะกระทํานอกราชอาณาจักรผู้นั้นจะต้องรับโทษในราชอาณาจักรตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ถ้าปรากฏว่า
(1)
ผู้กระทําความผิดหรือผู้ร่วมกระทําความผิดคนใดคนหนึ่งเป็นคนไทยหรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
(2) ผู้กระทําความผิดเป็นคนต่างด้าว
และได้กระทําโดยประสงค์ให้ความผิดเกิดขึ้นในราชอาณาจักร หรือรัฐบาลไทยเป็นผู้เสียหาย
หรือ
(3) ผู้กระทําความผิดเป็นคนต่างด้าว
และการกระทํานั้นเป็นความผิดตามกฎหมายของรัฐที่การกระทําเกิดขึ้นในเขตอํานาจของรัฐนั้น
หากผู้นั้นได้ปรากฏตัวอยู่ในราชอาณาจักรและมิได้มีการส่งตัวผู้นั้นออกไปตามกฎหมายว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน
ทั้งนี้ให้นํามาตรา 10 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม
4.2 บทกำหนดโทษ
มาตรา 7 ในความผิดฐานฟอกเงิน
ผู้ใดกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการในความผิดนั้น
(1)
สนับสนุนการกระทําความผิดหรือช่วยเหลือผู้กระทําความผิดก่อนหรือขณะกระทําความผิด
(2) จัดหาหรือให้เงินหรือทรัพย์สิน ยานพาหนะ สถานที่ หรือวัตถุใด ๆ
หรือกระทําการใด ๆ
เพื่อช่วยให้ผู้กระทําความผิดหลบหนีหรือเพื่อมิให้ผู้กระทําความผิดถูกลงโทษ
หรือเพื่อให้ได้รับประโยชน์ในการกระทําความผิด
ผู้ใดจัดหาหรือให้เงินหรือทรัพย์สิน
ที่พํานัก หรือที่ซ่อนเร้น เพื่อช่วยบิดา มารดาบุตร
สามีหรือภริยาของตนให้พ้นจากการถูกจับกุม
ศาลจะไม่ลงโทษผู้นั้นหรือลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้
มาตรา 8
ผู้ใดพยายามกระทําความผิดฐานฟอกเงิน ต้องระวางโทษตามที่กําหนดไว้สําหรับความผิดนั้นเช่นเดียวกับผู้กระทําความผิดสําเร็จ
มาตรา 9
ผู้ใดสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทําความผิดฐาน ฟอกเงิน
ต้องระวางโทษกึ่งหนึ่งของโทษที่กําหนดไว้สําหรับความผิดนั้น
ถ้าได้มีการกระทําความผิดฐานฟอกเงินเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกันตามวรรคหนึ่งผู้สมคบกันนั้นต้องระวางโทษตามที่กําหนดไว้สําหรับความผิดนั้น
ในกรณีที่ความผิดได้กระทําถึงขั้นลงมือกระทําความผิด
แต่เนื่องจากการเข้าขัดขวางของผู้สมคบทําให้การกระทํานั้นกระทําไปไม่ตลอดหรือกระทําไปตลอดแล้วแต่การกระทํานั้นไม่บรรลุผล
ผู้สมคบที่กระทําการขัดขวางนั้น คงรับโทษตามที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่งเท่านั้น
ถ้าผู้กระทําความผิดตามวรรคหนึ่งกลับใจให้ความจริงแห่งการสมคบต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนที่จะมีการกระทําความผิดตามที่ได้สมคบกัน
ศาลจะไม่ลงโทษผู้นั้นหรือลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกําหนดไว้เพียงใดก็ได้
มาตรา 10 เจ้าพนักงาน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น
ข้าราชการ พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ของรัฐ
พนักงานองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ กรรมการหรือผู้บริหารหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งเป็นผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน
หรือกรรมการขององค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ
ผู้ใดกระทําความผิดตามหมวดนี้ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กําหนดไว้สําหรับความผิดนั้น
กรรมการ อนุกรรมการ
กรรมการธุรกรรม เลขาธิการ รองเลขาธิการ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ผู้ใดกระทําความผิดตามหมวดนี้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กําหนดไว้สําหรับความผิดนั้น
มาตรา 11 กรรมการ อนุกรรมการ กรรมการธุรกรรม
เลขาธิการ รองเลขาธิการ พนักงานเจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงาน
หรือข้าราชการผู้ใดกระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ
หรือกระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา
อันเกี่ยวเนื่องกับการกระทําความผิดตามหมวดนี้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กําหนดไว้สําหรับความผิดนั้น
ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นผู้ใดร่วมในการกระทําความผิดกับบุคคลตามวรรคหนึ่งไม่ว่าในฐานะตัวการ
ผู้ใช้หรือผู้สนับสนุน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทําความผิดตามวรรคหนึ่ง
4.3 เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 12
ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ให้กรรมการ อนุกรรมการ กรรมการธุรกรรม เลขาธิการ
รองเลขาธิการ และพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
4.4 การดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน ตามมาตรา 48
และมาตรา 49 ในหมวด 6 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ดังนี้
มาตรา 48
ในการตรวจสอบรายงานและข้อมูลเกี่ยวกับการทําธุรกรรม
หากมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจมีการโอน จําหน่าย ยักย้าย ปกปิด
หรือซ่อนเร้นทรัพย์สินใดที่เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิด
ให้คณะกรรมการธุรกรรมมีอํานาจสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นไว้ชั่วคราวมีกําหนดไม่เกินเก้าสิบวัน
ในกรณีจําเป็นหรือเร่งด่วน
เลขาธิการจะสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งไปก่อน
แล้วรายงานต่อคณะกรรมการธุรกรรม
การตรวจสอบรายงานและข้อมูลเกี่ยวกับการทําธุรกรรมตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวง
ผู้ทําธุรกรรมซึ่งถูกสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สิน
หรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินจะแสดงหลักฐานว่าเงินหรือทรัพย์สินในการทําธุรกรรมนั้นมิใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดเพื่อให้มีคําสั่งเพิกถอนการยึดหรืออายัดก็ได้
ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวง
เมื่อคณะกรรมการธุรกรรมหรือเลขาธิการ
แล้วแต่กรณีสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินหรือสั่งเพิกถอนการยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นแล้ว
ให้คณะกรรมการธุรกรรมรายงานต่อคณะกรรมการ
มาตรา 49 ภายใต้บังคับมาตรา 48 วรรคหนึ่ง
ในกรณีที่ปรากฏหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าทรัพย์สินใดเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิด
ให้เลขาธิการส่งเรื่องให้พนักงานอัยการพิจารณาเพื่อยื่นคําร้องขอให้ศาลมีคําสั่งให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินโดยเร็ว
ในกรณีที่พนักงานอัยการเห็นว่าเรื่องดังกล่าวยังไม่สมบูรณ์พอที่จะยื่นคําร้องขอให้ศาลมีคําสั่งให้ทรัพย์สินนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนตกเป็นของแผ่นดินได้ให้พนักงานอัยการรีบแจ้งให้เลขาธิการทราบเพื่อดําเนินการต่อไป
โดยให้ระบุข้อที่ไม่สมบูรณ์นั้นให้ครบถ้วนในคราวเดียวกัน
ให้เลขาธิการรีบดําเนินการตามวรรคสองแล้วส่งเรื่องเพิ่มเติมไปให้พนักงานอัยการพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
หากพนักงานอัยการยังเห็นว่าไม่มีเหตุพอที่จะยื่นคําร้องขอให้ศาลมีคําสั่งให้ทรัพย์สินนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนตกเป็นของแผ่นดิน
ให้พนักงานอัยการรีบแจ้งให้เลขาธิการทราบเพื่อส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดให้คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดภายในกําหนดสามสิบวันนับแต่ได้รับเรื่องจากเลขาธิการ
และเมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดเป็นประการใดให้พนักงานอัยการ
5. บทสรุป
มาตรา 37 ตรี
แห่งประมวลรัษฎากร นับได้ว่า เป็นเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพในการปราบปรามการหลีกเลี่ยงและการฉ้อโกงภาษีอากร
เพื่อให้สามารถติดตามทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดหลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงภาษีอากรและมีพฤติกรรมปกปิดหรือซ่อนเร้นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดหลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงภาษีอากรและมีพฤติกรรมปกปิดหรือซ่อนเร้นทรัพย์สิน
โดยเชื่อมโยงและนำบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาใช้ในป้องกันและปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีอากรและการฉ้อโกงภาษีอากรที่มีลักษณะเป็นอาชญากรรมร้ายแรงเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน