ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจประมวลรัษฎากร และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
สุเทพ พงษ์พิทักษ์

ภาระภาษี บริษัทฯ ข้ามชาติ

วันที่ 7 ม.ค. 2562  .  เรียบเรียงโดย wiwatc webmaster  .  เข้าชม 11 ครั้ง

คุณ Aek Bangprain (4 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา 13:52 น.)
รบกวนท่านอาจารย์สุเทพ ด้วยครับ
A เป็นสาขาหนึ่งในประเทศไทยของบริษัท A ในประเทศสหรัฐอเมริกา (สำนักงานใหญ่) ที่มีสาขาอยู่ทั่วโลกกว่า 40 สาขา ประกอบกิจการเกี่ยวกับการให้บริการสำรวจและแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และให้เช่าเครื่องจักรเพื่อใช้ในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม กลุ่มลูกค้าของ A เป็นผู้ประกอบธุรกิจด้านพลังงานและสำรวจขุดเจาะ
ผมขอเรียนสอบถามประเด็นด้านภาษีอากร ดังนี้ครับ
1. ในการดำเนินธุรกิจทางสำนักงานใหญ่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา มีนโยบายด้านการบริหารบุคคลโดยส่งผู้บริหารชาวต่างชาติเข้ามาปฏิบัติงานในประเทศไทย เพื่อเข้ามาควบคุมดูแลด้านการตลาดและขยายฐานลูกค้ารายใหม่ ในย่านอาเซี่ยน โดยจะเข้ามาพัฒนาระบบการทำงานของ A สาขาประเทศไทย เป็นระยะเวลา 2 ปี หลังจากนั้นสำนักงานใหญ่ก็จะส่งผู้บริหารไปประจำที่สาขาอื่นต่อ เป็นไปตามแนวทางการพัฒนาองค์กรของสำนักงานใหญ่ โดย A สาขาประเทศไทย ได้ยื่นขอสิทธิผู้บริหารซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านปิโตรเลียมเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการปฏิบัติงานในกิจการปิโตรเลียมและขอใบอนุญาตทำงานตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 ในส่วนของผู้บริหารที่มาปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทย ทาง A สาขาในประเทศไทย จะส่งผู้บริหารไปอบรมสัมมนาที่สำนักงานใหญ่จัดประชุมตามวาระการประชุม และส่งผู้บริหารเข้าร่วมอบรมสัมมนากลุ่มธุรกิจน้ำมันที่ต่างประเทศ โดยผู้บริหารที่เข้าร่วมอบรมสัมมนาได้รับอนุมัติการเดินทางเข้าร่วมประชุมจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนในประเทศไทยตามกฎระเบียบฯ ในการเดินทางไปประชุมจะมีรายจ่ายค่าเดินทาง (ค่าตั๋วเครื่องบินไปกลับ) ค่าที่พัก ค่าเบี้ยเลี้ยง อยากทราบว่าการไปอบรมสัมมนาที่ต่างประเทศ และการไปประชุมสัมมนาที่สำนักงานใหญ่ ค่าใช้จ่ายค่าเดินทาง ค่าที่พัก และค่าเบี้ยเลี้ยง สามารถนำมาถือเป็นรายจ่ายทางภาษีของ A สาขาประเทศไทย ได้หรือไม่ครับ
2. ในการดำเนินธุรกิจ บริษัท A สาขาประเทศไทย จะมีการเช่าเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการสำรวจจากสำนักงานใหญ่ และเมื่อใช้งานเสร็จตามโครงการแล้วจะทำการส่งคืนเครื่องมือเครื่องจักรไปยังสำนักงานใหญ่ หรือหากเครื่องมือเครื่องจักรเสียหรือชำรุดก็จะส่งไปซ่อมที่สำนักงานใหญ่ โดยในการส่งคืนและส่งซ่อม บริษัท A สาขาประเทศไทย จะดำเนินการส่งคืนเครื่องมือโดยการส่งออกตามพิธีการศุลกากร อยากทราบว่าในการส่งคืนหรือการส่งซ่อมเครื่องมือ บริษัท A สาขาประเทศไทยมีภาระภาษีอย่างไรบ้างครับ ต้องถือว่าการส่งออกเครื่องจักรคืนสำนักงานใหญ่เป็นรายได้ทางภาษีอากรหรือเปล่าครับ
รบกวนอาจารย์สุเทพด้วยครับ
ขอบคุณครับ

2 คำตอบ
วิสัชนา:
บริษัทฯ ที่มีโครงการใหญ่ขนาดนี้ ต้องมีที่ปรึกษาที่เป็นมาตรฐานสากลอยู่แล้ว ซึ่งอาจแพงถึงแพงมาก!!! แต่ก็มั่นใจในคำตอบ ทีสามารถนำไปใช้อ้างอิงได้ การถามผม ก็จะได้เพียงแนวทางเบื้องต้นเท่านั้น ไม่อาจนำไปใช้อ้างอิงที่ใดๆ ได้ นะครับ
ต่อข้อถาม ขอเรียนว่า
1. ในการดำเนินธุรกิจการให้บริการสำรวจและแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และให้เช่าเครื่องจักรเพื่อใช้ในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม กลุ่มลูกค้าของ A เป็นผู้ประกอบธุรกิจด้านพลังงานและสำรวจขุดเจาะ ของบริษัท A สาขาประเทศไทย นั้น สำนักงานใหญ่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา มีนโยบายด้านการบริหารบุคคล โดยส่งผู้บริหารชาวต่างชาติเข้ามาปฏิบัติงานในประเทศไทย เพื่อเข้ามาควบคุมดูแลด้านการตลาดและขยายฐานลูกค้ารายใหม่ ในย่านอาเซี่ยน โดยจะเข้ามาพัฒนาระบบการทำงานของ A สาขาประเทศไทย เป็นระยะเวลา 2 ปี หลังจากนั้นสำนักงานใหญ่ก็จะส่งผู้บริหารไปประจำที่สาขาอื่นต่อ เป็นไปตามแนวทางการพัฒนาองค์กรของสำนักงานใหญ่ โดย A สาขาประเทศไทย ได้ยื่นขอสิทธิผู้บริหารซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านปิโตรเลียมเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการปฏิบัติงานในกิจการปิโตรเลียมและขอใบอนุญาตทำงานตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 ในส่วนของผู้บริหารที่มาปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทย ทาง A สาขาในประเทศไทย จะส่งผู้บริหารไปอบรมสัมมนาที่สำนักงานใหญ่จัดประชุมตามวาระการประชุม และส่งผู้บริหารเข้าร่วมอบรมสัมมนากลุ่มธุรกิจน้ำมันที่ต่างประเทศ โดยผู้บริหารที่เข้าร่วมอบรมสัมมนาได้รับอนุมัติการเดินทางเข้าร่วมประชุมจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนในประเทศไทยตามกฎระเบียบฯ ในการเดินทางไปประชุมจะมีรายจ่ายค่าเดินทาง (ค่าตั๋วเครื่องบินไปกลับ) ค่าที่พัก ค่าเบี้ยเลี้ยง
เช่นนี้ ค่าใช้จ่ายค่าเดินทาง ค่าที่พัก และค่าเบี้ยเลี้ยง การไปอบรมสัมมนาที่ต่างประเทศ และการไปประชุมสัมมนาที่สำนักงานใหญ่ เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการของสาขาในประเทศไทย เท่านั้ ที่สามารถนำมาถือเป็นรายจ่ายทางภาษีของ A สาขาประเทศไทย ได้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ตรี (14) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 13/2528 ดังนี้
....“สำหรับรายจ่ายที่สาขาในประเทศไทยได้จ่ายไปให้สำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นในต่างประเทศเพื่อเป็นค่าตอบแทนการให้ความช่วยเหลือหรือการให้บริการแก่กิจการของสาขาในประเทศไทยที่จะนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและไม่เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (14) แห่งประมวลรัษฎากรนั้น จะต้องเป็นกรณีที่มีหลักฐานชัดแจ้งว่ารายจ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
...(1) รายจ่ายเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือหรือให้บริการของสำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นนั้นเกี่ยวกับกิจการของสาขาในประเทศไทย
....(2) รายจ่ายเกี่ยวกับการค้นคว้าและพัฒนา (Research and Development) โดยสาขาในประเทศไทยจะต้องไดรับบริการ หรือได้นำผลการค้นคว้าและพัฒนามาใช้ประโยชน์ในกิจการของสาขาในประเทศไทยตามความเป็นจริง
....(3) รายจ่ายใดถ้าสำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นได้นำไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของสำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นแล้ว จะนำมาถือเป็นรายจ่ายของสาขาในประเทศไทยอีกไม่ได้
....(4) รายจ่ายที่สำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นเรียกเก็บมายังสาขาในประเทศไทย จะต้องมีหลักเกณฑ์และวิธีการเป็นที่รับรองทั่ไป (Generally Accepted) และจะต้องถือปฏิบัติเช่นเดียวกับสาขาในประเทศอื่น ๆ และเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ
....(5) รายจ่ายดังกล่าวจะต้องมิใช่รายจ่ายของสำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นโดยเฉพาะ เช่น ค่าเช่าที่ทำการ ค่าน้ำค่าไฟ ค่าเครื่องเขียน เครื่องใช้ ค่าสึกหรอ และค่าเสื่อมราคาของเครื่องมือเครื่องใช้
....จำนวนเงิน หลักเกณฑ์ และวิธีการดังกล่าวตามวรรคสอง ที่จะนำมาถือเป็นรายจ่ายของสาขาในประเทศไทยได้จะต้องมีหลักฐานหรือหนังสือรับรองโดยเจ้าหน้าที่ของต่างประเทศ ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง หรือโดยบุคคลอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรเชื่อถือได้ และหลักฐานหรือหนังสือดังกล่าวจะต้องมีรายละเอียดเพียงพอที่แสดงให้เห็นว่าเป็นรายจ่ายที่จำเป็นและสมควรแก่การดำเนินการธุรกิจของสาขาในประเทศไทย ตามความเป็นจริง
....การคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสามไม่กระทบกระเทือนถึงวิธีการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามความตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ ที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ”
2. ในการดำเนินธุรกิจ บริษัท A สาขาประเทศไทย จะมีการเช่าเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการสำรวจจากสำนักงานใหญ่ และเมื่อใช้งานเสร็จตามโครงการแล้วจะทำการส่งคืนเครื่องมือเครื่องจักรไปยังสำนักงานใหญ่ หรือหากเครื่องมือเครื่องจักรเสียหรือชำรุดก็จะส่งไปซ่อมที่สำนักงานใหญ่ โดยในการส่งคืนและส่งซ่อม บริษัท A สาขาประเทศไทย จะดำเนินการส่งคืนเครื่องมือโดยการส่งออกตามพิธีการศุลกากร นั้น
....ในการส่งคืนหรือการส่งซ่อมเครื่องมือ บริษัท A สาขาประเทศไทยมีภาระภาษีดังนี้
....(1) สำหรับการส่งคืนเครื่องมือเครื่องจักรที่นำเข้า โดยไม่มีการนำกลับเข้ามาอีก ซึ่งบริษัทฯได้ดำเนินพิธีการทางศุลกากรในการส่งออก
........กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม ถือเป็นการส่งออกสินค้าตามมาตรา 77/2 (1) ประกอบมาตรา 77/1 (14) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ต้องนำมูลค่าสินค้าที่ส่งออกดังกล่าวมาแสดงในรายงานภาษีขาย โดยได้สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
........กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ถือเป็นการขายตามมาตรา 70 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากเครื่องมือเครื่องจักรดังกล่าว ไม่ใช่ทรัพย์สินของสาขาบริษัท A ในประเทศไทย
....(2) สำหรับการส่งคืนเครื่องจักรเพื่อนำไปซ่อมแซม และจะได้นำกลับเข้ามาภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้ส่งออกไป นั้น โดยในขั้นตอนการส่งออก ให้แนบคําร้องขอใบสุทธินํากลับและเพิ
มสําเนาใบขนสินค้าขาออกอีก 1 ฉบับ มีข้อความตรงกับต้นฉบับใบขนสินค้าขาออกทุกประการ ยืนผ่านพิธีการศุลกากรตามปกติ ณ หน่วยงานพิธีการของท่าทีส่งสินค้าออก เมือปฏิบัติพิธีการเสร็จแล้ว เจ้าหน้าทีศุลกากรจะบันทึกข้อความแสดงประเภทของใบสุทธินํากลับ (ประเภทที 1 หรือ 2) และหลังจากเจ้าหน้าทีฯ สลักรายการตรวจและการบรรทุกของทีส่งออกในใบสุทธินํากลับแล้ว จะคืนใบสุทธินํากลับให้ผู้ส่งออกเก็บไว้เป็ นหลักฐานสําหรับมายืนเมือ
นําเข้าสินค้ากลับเข้ามา เช่นนี้ จะไม่ถือเป็นการส่งออกทั้งกรณีภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้นิติบุคคล และในการนำเข้าเครื่องมือเครื่องจักรดังกล่าว บริษัทฯ จะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม ทื้งนี้ ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
(ดูเพิ่มเติม https://sites.google.com/…/karnakhealaea…/bi-suththi-na-klab)
เมื่อ 7 ม.ค. 2562  .  เรียบเรียงโดย wiwatc webmaster
ใบสุทธินำกลับ
ใบสุทธินำกลับ เป็นเอกสารทางศุลกากรซึ่งออกให้เพื่อเป็นหลักฐานว่าของที่ส่งออกหรือส่งกลับ ออกไปนั้นจะนำกลับเข้ามาภายในระยะเวลา 1 ปีโดยจะได้รับยกเว้นอากรเมื่อนำกลับเข้ามาใบสุทธินำกลับก็คือสำเนาใบขนสินค้าขาออกที่ทาเพิ่มขึ้นเพื่อใช้ยื่นผ่านพิธีการและตรวจปล่อยสินค้าขาออกนั่นเองบนใบสุทธินำกลับจะปรากฏบันทึกต่างๆ ของเจ้าหน้าที่ศุลกากรตรงกับต้นฉบับใบขนสินค้าขาออกและมีบันทึกไว้ว่าเป็นใบสุทธินำกลับประเภทที่ 1 หรือ 2 ดังนี้
“ใบสุทธินำกลับ นี้ให้ไว้ตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ภาค 4 ประเภทที่ 1 แก่ผู้ส่งออกตามใบขนสินค้าฉบับนี้ ซึ่งจะนำกลับเข้ามาในราชอาณาจักรภายใน 1 ปี โดยไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะหรือรูปร่างแต่ประการใด" หรือ
“ใบสุทธินากลับ นี้ให้ไว้ตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ภาค 4 ประเภทที่ 2 แก่ผู้ส่งออกตามใบขนสินค้าฉบับนี้ เป็นของที่นำเข้ามาในประเทศไทยซึ่งได้เสียอากรไว้ครบถ้วนแล้วได้ส่งกลับไปซ่อม ณ ต่างประเทศ แล้วจะนากลับเข้ามาภายใน 1 ปี"
2.5.1 ขั้นตอนและมีวิธีปฏิบัติของการส่งของออกไป เช่น ส่งออกไปซ่อมหรือออกไปแสดงที่ต่างประเทศแล้วนำกลับเข้ามาใหม่ ของที่ส่งออกหรือส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักรเมื่อนำกลับเข้ามาใหม่จะอยู่ในข่ายได้รับยกเว้นอากร ทั้งนี้มีเงื่อนไขว่าต้องนำกลับเข้ามาภายในกำหนด 1 ปี และได้รับใบสุทธินำกลับในเวลาที่ส่งออกไว้แล้ว การยกเว้นอากรนำเข้าแก่ของที่ได้ส่งออกไปและนำกลับเข้ามาภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1 การยกเว้นอากรนำเข้าสำหรับของที่ได้ส่งออกหรือส่งกลับออกไป ซึ่งนำกลับเข้ามาอีกโดยของนั้นไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะใดๆ กล่าวคือนำกลับเข้ามาในสภาพเดิมนั่นเอง เช่น กรณีนำออกไปแสดง เป็นต้น ได้รับยกเว้นอากรทั้งหมด
ประเภทที่ 2 การส่งของที่ได้นำเข้ามา (โดยได้ชาระอากรนาเข้าแล้ว) กลับออกไปเพื่อซ่อมแซมในต่างประเทศ เมื่อนำกลับเข้ามาจะได้รับยกเว้นอากรเฉพาะส่วนที่ได้ชำระอากรไว้แล้วเมื่อนำเข้ามาครั้งแรก
ส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นมาจากการซ่อมแซมจะต้องชำระอากรตามราคาของส่วนที่เพิ่มขึ้นโดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
ขั้นตอนการส่งออก
ให้ผู้ส่งออกแนบคำร้องขอใบสุทธินำกลับและเพิ่มสำเนาใบขนสินค้าขาออกอีก 1 ฉบับ มีข้อความตรงกับต้นฉบับใบขนสินค้าขาออกทุกประการยื่นผ่านพิธีการศุลกากรตามปกติ ณ หน่วยงานพิธีการของท่าที่ส่งสินค้าออก เมื่อปฏิบัติพิธีการเสร็จแล้วเจ้าหน้าที่ศุลกากรจะบันทึกข้อความแสดงประเภทของใบสุทธินำกลับ (ประเภทที่ 1 หรือ 2) และหลังจากเจ้าหน้าที่สลักรายการตรวจและการบรรทุกของที่ส่งออกในใบสุทธินำกลับแล้วจะคืนใบสุทธินำกลับให้ผู้ส่งออกเก็บไว้เป็นหลักฐานสำหรับมายื่นเมื่อนำเข้าสินค้ากลับเข้ามา
ขั้นตอนการนำเข้า
ประเภทที่ 1 ผู้นำของกลับเข้ามาต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมทั้งแนบเอกสารการนำเข้า เช่น บัญชีราคาสินค้า ใบตราส่ง และใบสุทธินำกลับ และผ่านพิธีการศุลกากรตามปกติ
ประเภทที่ 2 ผู้นำของกลับเข้ามาต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าโดยสาแดงประเภทพิกัดประเภทที่ 2 ภาค 4 และสำแดงราคาค่าซ่อม ค่าอุปกรณ์ หรือค่าอะไหล่ที่เพิ่มขึ้น หรือที่เปลี่ยนแปลง สำแดงพิกัดอัตราศุลกากรเดียวกันกับที่เคยชำระในการนำเข้าครั้งแรกพร้อมทั้งแนบเอกสารการนำเข้า เช่น บัญชีราคาสินค้า ใบตราส่ง และใบสุทธินำกลับ ในการชำระอากรนั้น ผู้นำเข้าจะได้รับยกเว้นค่าอากรเฉพาะของเดิมที่ส่งออกไปซ่อมเท่านั้น ส่วนของที่เปลี่ยนแปลงหรือที่เพิ่มขึ้นมาเนื่องจากการซ่อมนั้นต้องชำระอากรตามพิกัดอัตราอากรของของที่ส่งออกไปซ่อมโดยใช้ราคา FOB เป็นฐานในการคำนวณเงินอากรขาเข้า ทั้งนี้ไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายในการขนส่งและการประกันภัย เช่น ส่งเปียโนออกไปซ่อมที่ญี่ปุ่นเสียค่าซ่อมและค่าอะไหล่เป็นเงิน 10,000.- บาท ผู้นำเข้าต้องชำระอากรในพิกัด 9201.10 อัตรา 10% ดังนั้นผู้นำเข้าจะต้องชำระอากรเป็นเงิน 1,000.-บาท
2.5.2 การขอยกเว้นอากรแก่ของที่นำกลับเข้ามากรณีไม่มีใบสุทธินำกลับ
2.5.2.1 กรณีที่ไม่มีใบสุทธินำกลับแต่มีหลักฐานการส่งออกทางศุลกากร (ใบขนสินค้าขา

ออก) และนำกลับเข้ามาภายใน 1 ปี เมื่อนำกลับเข้ามาจะต้องยื่นคำร้องขอผ่อนผันใบสุทธินำกลับเสียก่อน ณ หน่วยงานพิธีการของท่าที่นำสินค้าเข้าเอกสารที่ใช้ในการยื่นขอผ่อนผันมีดังนี้
- คำร้องแจ้งเหตุผลในการนำสินค้ากลับเข้ามาในประเทศและเลขที่ใบขน
สินค้าขาออกที่ส่งสินค้านั้นออกไป
-ใบขนสินค้าขาเข้าที่นำสินค้านั้นกลับเข้ามาและเอกสารประกอบใบขนสินค้าฉบับนั้น (เช่น Invoice, Bill of Lading ฯลฯ)
-ใบตราส่งสินค้าฉบับขาออกและ/หรือหลักฐานการคืนเงินหรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง
-กรณีขอผ่อนผันใบสุทธินำกลับของที่ส่งออกไปซ่อม (ประเภทที่ 2) ให้ระบุเลขที่ใบขนสินค้าขาเข้าสำหรับของที่ส่งออกไปซ่อมที่ได้เสียภาษีไว้แล้ว
2.5.2.2 กรณีไม่มีใบสุทธินำกลับและไม่มีใบขนสินค้าขาออกแต่พิสูจน์ได้ว่าเป็นของที่กำเนิดในประเทศไทยและนำกลับเข้ามาภายใน 1 ปี ก็สามารถยื่นขอผ่อนผันใบสุทธินำกลับได้กรณีนี้ได้แก่สินค้าประเภทเครื่องประดับหรือของที่นักทัศนาจรชาวต่างประเทศซื้อติดตัวไปและส่งคืนมายังผู้ขายหรือกรณีผู้เดินทางนำออกไปแล้วนำกลับมาพร้อมกับตน เป็นต้น ซึ่งกรณีนี้จะต้องถูกเปรียบเทียบปรับเพื่อระงับคดีฐานนาของออกไปโดยไม่ผ่าน ศุลกากร เป็นเงิน 1000 บาท
2.5.2.3 กรณีไม่มีใบสุทธินำกลับและเป็นของที่นำออกไปจากคลังสินค้าทัณฑ์บน
ประเภทโรงผลิตสินค้าหรือร้านค้าปลอดอากรหรือของที่ขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 หรือของชดเชยค่าภาษีอากรจะผ่อนผันใบสุทธินำกลับให้เมื่อได้ตรวจสอบว่าได้ส่งเงินชดเชยค่าภาษีอากรหรือเงินอากรคืนกรมศุลกากรแล้ว
2.5.2.4 กรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ข้างต้นกรมศุลกากรจะพิจารณาอนุญาตเป็นเฉพาะราย
2.5.3 วิธีปฏิบัติกรณีของที่ส่งออกไปนอกประเทศโดยมีใบสุทธินำกลับแล้วแต่ไม่สามารถนำกลับเข้ามาให้ทันกำหนดเวลา 1 ปี การนำของเข้ามาไม่ทันภายในกำหนด 1 ปี ให้ยื่นขอผ่อนผันขยายเวลาได้ดังนี้
-กรณีที่ยังมิได้นำสินค้ากลับเข้ามาและใบสุทธินำกลับครบกำหนดเวลา 1 ปีนับแต่วันส่งออก ให้ยื่นขอขยายเวลาที่หน่วยงานที่ออกใบสุทธินำกลับเป็นผู้พิจารณา

-กรณีนำสินค้ากลับเข้ามาแล้วและใบสุทธินำกลับครบกำหนดเวลา 1 ปีนับแต่วันส่งออกแล้วให้ยื่นขอขยายเวลา ณ ท่าที่นำสินค้านั้นเข้าการผ่อนผันให้ขยายกำหนดเวลาของใบสุทธินำกลับจะให้ขยายเวลาตามสมควรแก่กรณีแต่ให้ขยายได้ครั้งละไม่เกิน 1 ปี
เมื่อ 7 ม.ค. 2562  .  เรียบเรียงโดย wiwatc webmaster