ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจประมวลรัษฎากร และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
สุเทพ พงษ์พิทักษ์

เช่าตึก

วันที่ 7 ม.ค. 2562  .  เรียบเรียงโดย wiwatc webmaster  .  เข้าชม 19 ครั้ง

nbox: อาทิตย์ 6 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา 20:13 น.
คุณ ปุญญพัฒน์ ดีไธสง
สวัสดีครับอาจารย์
ผู้เช่าเป็นบุคคลธรรมดา ไปเช่าตึกมาในสัญญาเขียนไว้ตามภาพ
....“ข้อ 4 อัตราค่าเช่า และการชำระค่าเช่า
........คู่สัญญาตกลงเช่า อัตราค่าเช่าให้คิดเป็นรายเดือน มีอัตราค่าเช่าเดือนละ 18,000 บาท (หนึ่งหมื่นแปดพันบาทถ้วน) (ยังไม่รวมภาษีหัก ณ ทีจ่าย 5%) โดยผู้เช่าตกลงชำระค่าเช่ารวมภาษีค่าเช่าหัก ณ ที่จ่าย ให้แก่ผู้ให้เช่าภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน (นับ 5 วันจากวันที่เริ่มเช่า) (หากเกินกำหนดเวลาดังกล่าว ผู้เช่าต้องชำระค่าปรับเพิ่มวันละ 1,000 บาท ชำระโดยการโอนเงินไปยัง...”
ต้องทำยังไงครับ

2 คำตอบ
วิสัชนา:
ไม่ได้แจ้งว่าผู้ให้เช่ามีสถานภาพเป็นบุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จึงเดาเอาเองว่า เป็นบุคคลธรรมดา
เนื่องจากผู้เช่าเป็นบุคคลธรรมดา ที่จ่ายค่าเช่าให้แก่ผู้รับที่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่มีหน้าที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ทีจ่ายตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 6 (1) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 ดังนี้
....“ข้อ 6 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้จ่ายค่าเช่าหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สิน ตามมาตรา 40 (5)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ไม่รวมถึงค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น
........(1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 5.0...”
ดังนั้น เมื่อผู้เช่าไม่มีหน้าที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามกฎหมายดังกล่าว ผู้เช่าย่อมไม่มีภาระที่ต้องจ่ายค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้เช่าแต่ประการใด คงมีหน้าที่จ่ายเฉพาะแต่เพียงค่าเช่าจำนวน 18,000 บาท เท่านั้น
เขียนสัญญาได้แปลกประหลาด
1. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายเป็นภาระหน้าที่ของผู้ให้เช่าที่ต้องนำส่ง ไม่ว่าจะได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย จากผู้ให้เช่าไว้หรือไม่ก็ตาม
2. เมื่อผู้เข้าต่องนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายต่อทางราชการ แล้วจะต้องจ่ายเงินค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ให้แก่ผู้ให้เช่าไปทำไม หรือว่าผู้เช่าจะเป็นผู้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 แทนผู้จ่ายเงินได้เสี่ยเอง
เมื่อ 7 ม.ค. 2562  .  เรียบเรียงโดย wiwatc webmaster
สุเทพ พงษ์พิทักษ์ สาขาวิชาชีพที่จะเป็นวิชาชีพอิสระ (Professional) พึงต้องมีองค์ประกอบแห่งการเป็นวิชาชีพอิสระ ดังนี้
1. วิชาชีพ (Profession) เป็นอาชีพให้บริการแก่สาธารณชนที่ต้องอาศัยความรู้ ความชํานาญเป็นการเฉพาะ ไม่ซ้ําซ้อนกับวิชาชีพอื่น และมีมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ โดยผู้ประกอบวิชาชีพต้องฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอก่อนที่จะประกอบวิชาชีพ
2. ผู้ประกอบวิชาชีพย่อมต้องมีความรับผิดชอบอย่างสูงตามมา เพราะมีผลกระทบต่อผู้รับริการและสาธารณชน จึงต้องมีการควบคุมการประกอบวิชาชีพเป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อผู้รับบริการและสาธารณชน โดยผู้ประกอบวิชาชีพต้องประกอบวิชาชีพด้วยวิธีการแห่งปัญญา (Intellectual Method) ได้รับการศึกษาอบรมมาอย่างเพียงพอ (Long Period of Training) มีอิสระในการใช้วิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพ (Professional Autonomy) และมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ (Professional Ethics)
3. ต้องมีสถาบันวิชาชีพ (Professional Institution) หรือองค์กรวิชาชีพ (Professional Organization) เป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์จรรโลงวิชาชีพ
(https://education.dusit.ac.th/QA/articles/doc02.pdf)
4. มีกฎหมายรองรับการเป็นสาขาวิชาชีพที่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจไว้เป็นการเฉพาะ สำหรับวิชาชีพนั้นๆ ซึ่งบุคคลอื่นที่ไม่คุณวุฒิในสาขาวิชาชีพนั้น จะเข้าไปประกอบวิชาชีพดังกล่าวไม่ได้

....อนึ่ง การมีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร นั้น ท่านถือตามเนื้อหาของวิชาชีพ ว่าได้มีการใช้วิชาชีพอิสระหรือไม่เพียงใด หาได้ยึดถือตามวิธีการจ่ายเงินได้ อันเป็นเพียงรูปแบบที่ตกลงกันเพื่อความสะดวกในการจ่ายเงินได้พึงประเมินเท่านั้น ไม่พึงต้องยึดถือวิธีการจ่ายเงินได้ อันเป็นการผิดหลักการของการประกอบวิชาชีพอิสระ
....การประกอบอาชีพที่ปรึกษาภาษีอากร ก็เหมือนกับที่ปรึกษากฎหมายทั่วไป ซึ่งหาได้มีองค์กรวิชาชีพมาควบคุม กำกับดูแลแต่อย่างใด แต่เป็นสาขาวิชาชีพกฎหมายอย่างหนึ่ง จึงจัดเข้าเป็นวิชาชีพอิสระ ตามแนวคำตอบข้อหารือของกรมสรรพากร
เลขที่หนังสือ : กค 0706/3021
วันที่ : 26 มีนาคม 2546
เมื่อ 8 ม.ค. 2562  .  เรียบเรียงโดย wiwatc webmaster