ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจประมวลรัษฎากร และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
สุเทพ พงษ์พิทักษ์

ประกาศอธิบดี เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) -การกำหนดภาษีซื้อไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

ถามวันที่ 11 ส.ค. 2559  .  ถามโดย suganya  .  เข้าชม 23 ครั้ง

เรียน อาจาร์ยสุเทพ
ขอแก้ไขคำถามค่ะ
บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายซ่อมแซมบริเวณตัวอาคาร สามารถแบ่งแยกได้ว่าเป็นการซ่อมแซมในส่วนใด เนื่องจากว่าจ้างเป็นงานๆ ไป (ซ่อมแซมพื้นที่เช่า, พื้นที่ส่วนกลาง) ได้มีการตีความประเด็นการใช้ภาษีซื้อดังนี้ค่ะ
1.ใช้ภาษีซื้อไม่ได้ ตามข้อ 2 (3) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อทรัพย์สินเพื่อใช้หรื่อจะใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. ใช้ภาษีซื้อได้ ตามข้อ 2 (9) ตามเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อ
2.1 ถ้าบริษัทเฉลี่ยภาษีซื้อ กิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของรายได้ของกิจการทั้งหมด บริษัทมีสิทธิเลือกใช้ภาษีซื้อ 100% ในส่วนค่าใช้จ่ายทุกประเภท ได้หรือไม่ค่ะ?
2.2 ถ้าเป็นการซ่อมแซมในส่วนของพื้นที่เช่า ถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม ใช่หรือไม่ค่ะ?
โดยบริษัทฯ ประกอบกิจการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ เรียกเก็บค่าเช่า, อุปกรณ์ และบริการ
และมีบางปีที่บริษัทใช้ Vat เฉลี่ยค่ะ
จึงเรียนถามหาข้อสรุปค่ะ
ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

1 คำตอบ
เรียน คุณ suganya

เกี่ยวกับภาษีซื้อสำหรับค่าใช้จ่ายซ่อมแซมบริเวณตัวอาคาร ซึ่งซ่อมแซมพื้นที่เช่า และพื้นที่ส่วนกลาง โดยไม่อาจแบ่งแยกได้ว่าเป็นการซ่อมแซมในส่วนใดโดยชัดแจ้ง ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียน ดำเนินการเฉลี่ยงภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ของทั้งสองประเภทกิจการตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29) โดยใช้สัดส่วนของรายได้ของทั้งสองประเภทกิจการของปีก่อนเป็นฐานในการเฉลี่นยภาษีซื้อ

ดังนั้น บริษัทฯ จึงสามารถใช้ภาษีซื้อที่เฉลี่ยได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ดังกล่าวข้างต้น ในส่วนของภาษีซื้อสำหรับรายได้ค่าเช่าอาคารย่อมถือเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 (8) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)
ตอบเมื่อ 14 ส.ค. 2559  .  ตอบโดย อจ.สุเทพ