ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจประมวลรัษฎากร และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
สุเทพ พงษ์พิทักษ์

ค่าขนส่งและค่าพิธีการ

ถามวันที่ 19 ส.ค. 2559  .  ถามโดย ms_majang  .  เข้าชม 24 ครั้ง

กรณีที่บริษัทประกอบกิจการขนส่งรวมถึงดำเนินการเรื่องพิธีการศุลกากร มีคำถามคือ หากเราทำธุรกิจกับลูกค้าในต่างประเทศ ไม่มีสาขาในไทยและเราได้มีการเรียกเก็บค่าขนส่งและค่าเคลียร์สินค้าระหว่างกัน เพื่อจะได้ทำให้ถูกต้อง อยากจะถามว่า

ด้านรายรับ
1.กรณีขนส่งสินค้าขาออก
1.1 เก็บค่ารถ+ค่าเคลียร์ฝั่งมาเลเซีย
1.2 เก็บค่ารถ+ค่าเคลียร์ฝั่งไทย
โดยที่ในquotation ระหว่างเราและลูกค้า(ต่างประเทศ)ตกลงกันว่าให้เก็บกันเป็นค่าขนส่งอย่างเดียวแต่ให้เราแจกแจงว่ามีค่ารถเท่าไหร่ ค่าเคลียร์เท่าไหร่ ประเด็นนี้
หากเราไม่เปิด inv.มี vat ขายถือว่าผิดหรือไม่
และหากบางกรณีมีการระบุว่าเป็นเงื่อนไข door to door สามารถทำได้หรือไม่(เงื่อนไข door to door ก็ต้องแจกแจงรายละเอียดค่าใช้จ่ายเหมือนกัน)

2.กรณีงานขาเข้า(นำสินค้าจากมาเลมาส่งให้ลูกค้าในไทย) โดยเรามีเงื่อนไขกับลูกค้าในต่างประเทศเป็นดังนี้
2.1 ค่าเคลียร์ฝั่งมาเลเซีย
2.2 เก็บค่ารถ+ค่าเคลียร์ฝั่งไทย
2.3 เก็บค่ารถ+ค่าเคลียร์ฝั่งมาเล+ค่าเคลียร์ฝั่งไทย
ทั้ง 2.1, 2.2 และ 2.3 เราต้องเรียกเก็บเงินจากลูกค้าในต่างประเทศ ซึ่งแต่ละประเด็นเราต้องออกinv.เรียกเก็บเงินมี VAT หรือไม่
ซึ่งเงื่อนไข 2.3 นั้นเป็นการระบุเงื่อนไข door to door (แต่ต้องแจงรายละเอียดค่าใช้จ่ายแต่ละอย่างว่าเท่าไหร่เช่นกัน)

ด้านรายจ่าย

1.หากว่าเราจะต้องเช่าโกดังในต่างประเทศ(มาเลเซีย) เพื่อไว้พักสินค้าที่เราเป็นตัวแทนนำเข้า/ส่งออก ให้ลูกค้า(รับงานมาจากต่างประเทศ) เวลาเราจ่ายค่าโกดังนี้ให้กับ subในต่างประเทศนั้น เราจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่
มีประเด็นภาษีอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง (มี ภงด.54 และ ภพ.36 หรือไม่)
2.กรณีที่เรารับงานมาจากลูกค้าต่างประเทศ ในบางรายเราต้องจ่ายค่าจัดเรียงสินค้า จัดของ เช็คของ (sortting) ในฝั่งมาเลเซีย ให้กับบริษัทในต่างประเทศ(sub) ก่อนนำสินค้ามาส่งให้บริษัทปลายทางในประเทศสำหรับงานขาเข้า จะมีภาษีอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง (ภงด.54 หรือ ภพ.36)

2 คำตอบ
เรียน คุณ ms_majang

กรณีบริษัทฯ ประกอบกิจการขนส่ง และให้บริการผ่านพิธีการทางศุลกากร แก่ลูกค้าในต่างประเทศที่ไม่มีสาขาในไทย และบริษัทฯ ได้มีการเรียกเก็บค่าขนส่งและดำเนินพิธีการทางศุลกากรเพื่อนำสินค้าออกจากด่านศุลกากร
ด้านรายรับ
1. กรณีขนส่งสินค้าขาออก
1.1 ค่าบริการขนส่ง + ค่าบริการผ่านพิธีการทางศุลกากรในประเทศมาเลเซีย
1.2 ค่าบริการขนส่ง + ค่าบริการผ่านพิธีการทางศุลกากรในประเทศไทย
โดยที่ใน quotation ระหว่างบริษัทฯ และลูกค้าต่างประเทศ ตกลงกันว่าให้เก็บกันเป็นค่าขนส่งเท่านั้น แต่บริษัทฯ ต้องแจกแจงรายละเอียดว่า มีค่าขนส่ง ค่าผ่านพิธีการทางศุลกากร แต่ละรายการเป็นจำนวนเท่าไร
สำหรับค่าบริการขนส่งทางบก เป็นการให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1)(ด) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จึงไม่ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากลุกค้าในต่างประเทศ
สำหรับค่าบริการผ่านพิธีการทางศุลกากรในประเทศมาเลเซีย เป็นการให้บริการที่ให้ในต่างประเทศ จึงไม่ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากลูกค่าในต่างประเมศ
การที่บริษัทฯ ไม่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าบริการผ่านพิธีการทางศุลกากรในประเทศไทย ซึ่งเป็นการให้บริการในประเทศไทย นั้น หากบริษัทฯ มีข้อตกลงว่า ค่าบริการผ่านพิธีการทางศุลกากร เป็นกรณีที่บริษัทฯ ต้องทดรองจ่ายให้แก่ลูกค่าไปก่อน แล้วค่อยเรียกเก็บ โดยในหลักฐานการจ่ายระบุชื่อผูจ่ายเงินเป็นชื่อลูกค้า เช่นนี้ บริษัทฯ ย่อมไม่มีรายได้และรายจ่ายค่าบริการผ่านพิธีการทางศุลกากร
แต่อย่างไรก็ตามการให้บริการผ่านพิธีการทางศุลกากร โดยไม่เรียกเก็บค่าบริการจากลูกค้า อาจถือเป็นกรณีที่ไม่มีเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินค่าบริการให้เป็นไปตามราคาตลาดได้
และในกรณีเงื่อนการให้บริการขนส่ง ระบุว่าเป็นเงื่อนไข "door to door" ซึ่งต้องทำการแจกแจงรายละเอียดค่าใช้จ่ายเช่นเดียวกัน บริษัทฯ สามารถกระทำได้เช่นเดียวกับการให้บริการทั่วไปดังกล่าวข้างต้น
2. กรณีให้บริการขนส่งขาเข้า (นำสินค้าจากมาเลมาส่งให้ลูกค้าในไทย) โดยบริษัทฯ มีเงื่อนไขในการเรียกเก็บค่าบริากรจากลูกค้าในต่างประเทศดังนี้
2.1 ค่าบริการผ่านพิธีการทางศุลกากรในประเทศมาเลเซีย เป็นการให้บริการในต่างประเทศ บริษัทฯ ไม่ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากลูกค้าในต่างประเทศ
2.2 ค่าบริการขนส่ง + ค่าบริการผ่านพิธีการทางศุลกากรในประเทศมาเลเซีย บริษัทฯ ไม่ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากลูกค้าในต่างประเทศ เพราะค่าบริการขนส่งทางบก เป็นการให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1)(ด) แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนค่าบริการผ่านพิธีการทางศุลกากรในประเทศมาเลเซีย เป็นการให้บริการในต่างประเทศ
2.3 ค่าบริการขนส่ง + ค่าบริการผ่านพิธีการทางศุลกากรในประเทศมาเลเซีย + ค่าบริการผ่านพิธีการทางศุลกากรในประเทศไทย ในส่วนของค่าบริการขนส่งทางบก เป็นการให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1)(ด) แห่งประมวลรัษฎากร และค่าบริการผ่านพิธีการทางศุลกากรในประเทศมาเลเซีย เป็นการให้บริการในต่างประเทศ บริษัทฯ ไม่ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากลูกค้าในต่างประเทศ สำหรับค่าบริการผ่านพิธีการทางศุลกากรในประเทศไทย ซึ่งเป็นการให้บริการในประเทศไทย นั้น หากบริษัทฯ มีข้อตกลงว่า ค่าบริการผ่านพิธีการทางศุลกากร เป็นกรณีที่บริษัทฯ ต้องทดรองจ่ายให้แก่ลูกค่าไปก่อน แล้วค่อยเรียกเก็บ โดยในหลักฐานการจ่ายระบุชื่อผูจ่ายเงินเป็นชื่อลูกค้า เช่นนี้ บริษัทฯ ย่อมไม่มีรายได้และรายจ่ายค่าบริการผ่านพิธีการทางศุลกากร เช่นเดียวกัน
แต่อย่างไรก็ตามการให้บริการผ่านพิธีการทางศุลกากร โดยไม่เรียกเก็บค่าบริการจากลูกค้า อาจถือเป็นกรณีที่ไม่มีเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินค่าบริการให้เป็นไปตามราคาตลาดได้
และในกรณีเงื่อนการให้บริการขนส่ง ระบุว่าเป็นเงื่อนไข "door to door" ซึ่งต้องทำการแจกแจงรายละเอียดค่าใช้จ่ายเช่นเดียวกัน บริษัทฯ สามารถกระทำได้เช่นเดียวกับการให้บริการทั่วไปดังกล่าวข้างต้น

ด้านรายจ่าย
1. กรณีบริษัทฯ ต้องเช่าโกดังในประเทศมาเลเซีย เพื่อไว้พักสินค้าที่เราเป็นตัวแทนนำเข้า/ส่งออก ให้ลูกค้า (รับงานมาจากต่างประเทศ) เมื่อบริษัทฯ จ่ายค่าเช่าโกดังนี้ให้กับ sub ในต่างประเทศนั้น บริษํทฯ ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย และไม่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะเป็นค่าบริการที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จายและเสี่ยภาษีมูลค่าเพิ่มในประเเทศไทย ตามประมวลรัษฎากร
2. กรณีบริษัทฯ รับงานมาจากลูกค้าต่างประเทศบางราย บริษัทฯ ต้องจ่ายค่าจัดเรียงสินค้า จัดของ เช็คของ (sortting) ในฝั่งประเทศมาเลเซีย ให้กับบริษัทในต่างประเทศ (sub) ก่อนนำสินค้ามาส่งให้บริษัทปลายทางในประเทศ สำหรับงานขนส่งขาเข้า เป็นค่าบริการที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จายและเสี่ยภาษีมูลค่าเพิ่มในประเเทศไทย ตามประมวลรัษฎากร
ตอบเมื่อ 29 ส.ค. 2559  .  ตอบโดย อจ.สุเทพ
เรียนท่านอาจารย์สุเทพ ในกรณีบริษัทฯ ประกอบกิจการขนส่ง และให้บริการผ่านพิธีการทางศุลกากร แก่ลูกค้าในประเทศในกรณีเดียวกันกับลูกค้าต่างประทเทศข้างต้น เราได้มีการเรียกเก็บค่าขนส่งและค่าเคลียร์สินค้าระหว่างกัน
1.1 ค่าบริการขนส่ง + ค่าบริการผ่านพิธีการทางศุลกากรในประเทศมาเลเซีย
1.2 ค่าบริการขนส่ง + ค่าบริการผ่านพิธีการทางศุลกากรในประเทศไทย
ในส่วนของค่าบริการขนส่งทางบก เป็นการให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1)(ด) แห่งประมวลรัษฎากร ค่าบริการผ่านพิธีการในประเทศไทย เป็นการให้บริการอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/1 ๖10 และ 77/2 แห่งประมวลรัษฏากรถูกต้องหรือไม่ค่ะ
ตอบเมื่อ 11 ก.ย. 2562  .  ตอบโดย ratanasirinimit