ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจประมวลรัษฎากร และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
สุเทพ พงษ์พิทักษ์

Free Zone

ถามวันที่ 8 ก.ย. 2559  .  ถามโดย joom_99  .  เข้าชม 17 ครั้ง

สวัสดีค่ะ อาจารย์
รบกวนสอบถามค่ะ บริษัทฯกำลังจะจัดตั้ง Free Zone ค่ะ กำลังสับสนเรื่อง Invoice สำหรับ Clear customs ค่ะ
ปัจจุบันยังไม่ได้เป็น FZ มีส่งสินค้า 3 แบบค่ะ
1. Tax invoice สำหรับขายสินค้าในประเทศ===> ยื่น VAT 7%
2. Commercial invoice สำหรับการขายส่งออก===> ยื่น VAT 0%
3. No commercial value (ส่งงานไปจ้างทำต่อ/packaging reuse/sample/ส่งคืนสินค้าชำรุด) บริษัทฯ เก็บทุกๆ ใบขนสินค้า ที่ส่งออกไปต่างประเทศ และส่งไปเขตปลอดอากร===> ยื่น VAT 0%(ยกเว้นงานจ้างทำ)

ในอนาคตหากเเป็น FZ เราต้อง clear customs ทุกรายการที่ส่งออกจากบริษัทฯ ไม่ว่าจะส่งไปต่างประเทศ หรือในประเทศ จะปฎิบัติดังต่อไปนี้ ถูกต้องมั้ยคะ
1. Commercial invoice ===> สำหรับขายในประเทศ(General Zone) ===> Non VAT Base
2. Tax Invoice 0% ===>สำหรับขายระหว่างเขตปลอดอากร===>VAT อัตรา 0 (ม.80/1(6))
3. Commercial Invoice ===> สำหรับขายส่งออกต่างประเทศ ===>VAT อัตรา 0
4. No commercial Invoice ===> สำหรับงานจ้างทำ(กรรมสิทธิ์เป็นของบริษัทฯ) (ทั้ง General Zone/Free Zone)==>non vat base
5. No commercial Invoice ===> สำหรับ Sample/สินค้าชำรุด ส่งคืน suppliers General Zone ==>
6. Tax invoice 0% ===> สำหรับ Packaging reuse/Sample/สินค้าชำรุด ส่งคืน suppliers Free zone (ม.80/1(6))
7. No commercial Invoice===> สำหรับ Packaging reuse/Sample/สินค้าชำรุด ส่งคืน suppliers Oversea (ม.80/1(1))

รบกวนอาจารย์สุเทพ ด้วยนะคะ
สับสนว่า พอเราเป็น FZ แล้ว แตกต่างจากปัจจุบันอย่างไร

ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
อรอุมา

1 คำตอบ
เรียน คุณ joom_99

กรณีบริษัทฯ ตั้งอยู่ในเขตปลอดอากร (FZ:FreeZone) ซึ่งต้องดำเนินพิธีการทางศุลกากร (clear Customs) ทุกรายการที่ส่งออกจากบริษัทฯ ไม่ว่าจะส่งไปต่างประเทศ หรือในประเทศ
1. Commercial invoice ==> สำหรับขายในประเทศ (General Zone) ==> อากรขาเข้า/ VAT / Non VAT Base?
ให้พิจารณาตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) ข้อ 2 (4) และหรือ (5) ซึ่งให้สิทธิไม่นับรวมเป็นมูลค่าของฐานภาษีเฉพาะที่ส่งมอบให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเท่านั้น แต่ในขณะที่ดำเนินพิธีการทางศุลกากร ต้องชำระอากรขาเข้า และภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยผู้ประกอบการที่เป็นลูกค้าหรือโดยบริษัทฯ แล้วแต่กรณีดังนี้
"ข้อ 2 ค่าตอบแทนที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการดังต่อไปนี้ ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี
...
“(4) มูลค่าของสินค้าที่ผู้ประกอบการในเขตปลอดอากรตามมาตรา 77/1(21) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ขายให้แก่ผู้ซื้อสินค้าในราชอาณาจักร และผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้นำเข้าตามมาตรา 77/1(11) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ยื่นกระทำพิธีการนำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรเมื่อนำสินค้านั้นออกจากเขตปลอดอากรแล้ว
ผู้ซื้อสินค้าตามวรรคหนึ่ง ต้องมิใช่ผู้ประกอบการในเขตปลอดอากรตามมาตรา 77/1(21) แห่งประมวลรัษฎากร หรือคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
(5) มูลค่าของสินค้าที่ผู้ประกอบการในเขตปลอดอากรตามมาตรา 77/1(21) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ขายให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียน และผู้ประกอบการในเขตปลอดอากร ดังกล่าวซึ่งเป็นผู้นำเข้าตามมาตรา 77/1(11) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ยื่นกระทำพิธีการนำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรเมื่อนำสินค้านั้นออกจากเขตปลอดอากรแล้ว
ผู้ซื้อสินค้าตามวรรคหนึ่ง ต้องมิใช่ผู้ประกอบการในเขตปลอดอากรตามมาตรา 77/1(21) แห่งประมวลรัษฎากร หรือคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร”
(ความตาม (4) และ (5) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 132) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2545 เป็นต้นไป)

2. Tax Invoice 0% ==>สำหรับขายระหว่างเขตปลอดอากร ==>VAT อัตรา 0 (ตามมาตรา 80/1 (6) แห่งประมวลรัษฎากร) ถูกต้องแล้วดังนี้
"มาตรา 80/1 ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละ 0 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการประกอบกิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
...
(6) การขายสินค้าหรือการให้บริการระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับคลังสินค้าทัณฑ์บนหรือระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการ ี่อยู่ในเขตปลอดอากรไม่ว่าจะอยู่ในเขตเดียวกันหรือไม่ หรือระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตปลอดอากร ทั้งนี้ เฉพาะการขายสินค้าหรือการให้บริการที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด"
(ดู ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 123) ประกอบ)

3. Commercial Invoice ==> สำหรับขายส่งออกต่างประเทศ ==>VAT อัตรา 0 (ตามมาตรา 80/1 (1) แห่งประมวลรัษฎากร) ดังนี้
"มาตรา 80/1 ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละ 0 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการประกอบกิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
(1) การส่งออกสินค้าที่มิใช่การส่งออกสินค้าซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (3)"
(ดู คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 97/2543 ประกอบ)

4. No commercial Invoice ==> สำหรับงานจ้างทำ (กรรมสิทธิ์เป็นของบริษัทฯ) (ทั้ง General Zone/Free Zone) ==>non vat base
ในกรณีนี้ บริษัทฯ ต้องทำทัณฑ์บนกับสินค้าที่ส่งออกไปจากบริษัทฯ (ฺbonded goods)

5. No commercial Invoice ==> สำหรับ Sample/สินค้าชำรุด ส่งคืน suppliers General Zone ==> ใบลดหนี้ (VAT 0%)
เนื่องจากในขณะที่นำสินค้าเข้ามาใน FZ ได้มีการผ่านพิธีการทางศุลกากร โดย supplier ได้สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 0% ตามมาตรา 80/1 (1) แห่งประมวลรัษฎากร แล้ว เมื่อส่งคืนสินค้าชำรุด จึงต้องผ่านพิธีการทางศุลกากร โดยอ้างถึงรายการผ่านพิธีการทางศุลกากรครั้งก่อน มิฉะนั้น อาจถือเป็นการนำเข้าสินค้าตามมาตรา 77/2 (2) ประกอบกับมาตรา 77/1 (12) แห่งประมวลรัษฎากร

6. Tax invoice 0% ===> สำหรับ Packaging reuse/Sample/สินค้าชำรุด ส่งคืน suppliers Free zone ตามมาตรา 80/1 (6) แห่งประมวลรัษฎากร

7. No commercial Invoice===> สำหรับ Packaging reuse/Sample/สินค้าชำรุด ส่งคืน suppliers Oversea ตามมาตรา 80/1 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยต้องผ่านพิธีการทางศุลกากร และถือเป็นการส่งออกสินค้าตามมาตรา 77/1 (14) มาตรา 78 (4) แห่งประมวลรัษฎากร
ตอบเมื่อ 9 ก.ย. 2559  .  ตอบโดย อจ.สุเทพ