ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจประมวลรัษฎากร และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
สุเทพ พงษ์พิทักษ์

การจัดตั้งบริษัท เพื่อถือหุ้นบริษัทอื่นอย่างเดียวไม่ได้ประกอบกิจการอื่นใน - และการจ่ายปันผลผู้ถือหุ้นบริษัท

ถามวันที่ 26 ก.ย. 2559  .  ถามโดย thienphan_irm  .  เข้าชม 14 ครั้ง

มีความประสงค์จะจัดตั้งบริษัทฯ เพื่อเข้าถือหุ้นในบริษัทฯ และไม่ได้ประกอบธุรกิจอื่นใดต่างเป็นจำนวนดังนี้
ถือหุ้นในบริษัท ก (นอกตลาด) 80%
ถือหุ้นในบริษัท ข (นอกตลาด) 5%
ถือหุ้นในบริษัท ค (ในตลาด) 10%

ข้อมูลเพิ่ม
1.ทุกบริษัทที่เข้าถือหุ้น บริษัทฯ จะถือเป็นระยะเวลามากกว่า 3 เดือน ก่อนจ่ายปันผล และมากกว่า 3 เดือนหลังจ่ายปันผล
2 ทุกบริษัทได้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเรียบร้อยแล้ว และ
3 ทุกบริษัทไม่ได้มีการถือหุ้นในบริษัทฯ ไม่ว่าโดยทางตรง หรือ ทางอ้อม
สอบถามดังนี้
1. การถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย จากบริษัทฯ ผู้จ่ายปันผล จะเป็นดังนี้ ใช่หรือไม่
ถือหุ้นในบริษัท ก (นอกตลาด ) 80% - ผู้จ่ายไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย
ถือหุ้นในบริษัท ข (นอกตลาด) 5% - ผู้จ่ายต้องหัก ณ ที่จ่าย
ถือหุ้นในบริษัท ค (ในตลาด) 10% - ผู้จ่ายไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย
**อ้างอิงจาก ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 5 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2528
2.การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ถือหุ้นในบริษัท ก (นอกตลาด ) 80% - ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล - มาตรา 65 ทวิ (10) / ข
ถือหุ้นในบริษัท ข (นอกตลาด) 5% - ต้องนำมารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ถือหุ้นในบริษัท ค (ในตลาด) 10% - ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล - มาตรา 65 ทวิ (10) / ก
** อ้างอิงจาก รายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร
(ก) บริษัทจดทะเบียน
(ข) บริษัทจำกัดนอกจาก (ก) ซึ่งถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผล และบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้รับเงินปันผลไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม
3. บริษัทฯ ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพราะไม่ได้ประกอบธุรกิจ
ในการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นในบริษัทฯ ดำเนินการดังนี้ใช่หรือไม่คะ
1.หุ้นในบริษัท ก (นอกตลาด ) 80% หัก ณ ที่จ่าย 10 % + เงินปันผลส่วนนี้ถ้าบริษัทฯ ทราบอย่างชัดเจนว่ามาเสียภาษีในอัตราใด ผู้ถือหุ้นก็สามารถได้รบเครดิตภาษีตามอัตรานั้น
2.หุ้นในบริษัท ข (นอกตลาด) 5% หัก ณ ที่จ่าย 10 % + เงินปันผลส่วนนี้ ผู้ถือหุ้นได้รับเครติดภาษีตามอัตราที่บริษัทฯ เสียไปในปีนั้นๆ
3.หุ้นในบริษัท ค (ในตลาด) 10% หัก ณ ที่จ่าย 10 % +เงินปันผลส่วนนี้ถ้าบริษัทฯ ทราบอย่างชัดเจนว่ามาเสียภาษีในอัตราใด ผู้ถือหุ้นก็สามารถได้รบเครดิตภาษีตามอัตรานั้น

1 คำตอบ
เรียน คุณ thienphan_irm

ต่อข้อถามขอเรียนว่า
1. การถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย จากบริษัทฯ ผู้จ่ายปันผล จะเป็นไปตามที่แจ้งไป ถูกต้องแล้ว
ถือหุ้นในบริษัท ก (นอกตลาด ) 80% - ผู้จ่ายไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย
ถือหุ้นในบริษัท ข (นอกตลาด) 5% - ผู้จ่ายต้องหัก ณ ที่จ่าย
ถือหุ้นในบริษัท ค (ในตลาด) 10% - ผู้จ่ายไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย
**อ้างอิงจาก ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 5 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2528
2. การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล หากบริษัท ก บริษัท ข และบริษัท ค ถือหุ้นในบริษัทผู้จ่ายเงินปันผลที่ก่อให้เกิดเงินปันผลนั้นไว้ไม่ถึงสามเดือนนับแต่วันที่ได้หุ้นหรือหน่วยลงทุนนั้นมาถึงวันมีเงินได้ดังกล่าว หรือได้โอนหุ้นหรือหน่วยลงทุนนั้นไปก่อนสามเดือนนับแต่วันที่มีเงินได้
ถือหุ้นในบริษัท ก (นอกตลาด ) 80% - ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล - มาตรา 65 ทวิ (10)(ข)ิ แห่งประมวลรัษฎากร
ถือหุ้นในบริษัท ข (นอกตลาด) 5% - ต้องนำมารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเพียง 50% ของเงินปันผล ตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร
ถือหุ้นในบริษัท ค (ในตลาด) 10% - ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล - มาตรา 65 ทวิ (10)(ก)
** อ้างอิงจาก รายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร
สำหรับบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ให้นำเงินปันผลที่ได้จากบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย กองทุนรวม หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม และเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้า มารวมคำนวณเป็นรายได้เพียงกึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้ เว้นแต่บริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยดังต่อไปนี้ ไม่ต้องนำเงินปันผลที่ได้จากบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย กองทุนรวม หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม และเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้ามารวมคำนวณเป็นรายได้
(ก) บริษัทจดทะเบียน
(ข) บริษัทจำกัดนอกจาก (ก) ซึ่งถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผล และบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้รับเงินปันผลไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม
3. บริษัทฯ ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพราะไม่ได้ประกอบธุรกิจ
ในการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นในบริษัทฯ
(1) หุ้นในบริษัท ก (นอกตลาด ) 80% หัก ณ ที่จ่าย 10% + เงินปันผลส่วนนี้ ถ้าบริษัทฯ ทราบอย่างชัดเจนว่ามาเสียภาษีในอัตราใด ผู้ถือหุ้นก็สามารถได้รบเครดิตภาษีตามอัตรานั้น ดำเนินการไปตามที่แจ้ง ถูกต้องแล้ว
(2) หุ้นในบริษัท ข (นอกตลาด) 5% หัก ณ ที่จ่าย 10% + เงินปันผลส่วนที่บริษัทฯ ได้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ถือหุ้นได้รับเครติดภาษีตามอัตราที่บริษัทฯ เสียไปในปีนั้นๆ ในส่วนที่ได้รับยกเว้น ถ้าบริษัทฯ ทราบอย่างชัดเจนว่ามาเสียภาษีในอัตราใด ผู้ถือหุ้นก็สามารถได้รบเครดิตภาษีตามอัตรานั้น
(3) หุ้นในบริษัท ค (ในตลาด) 10% หัก ณ ที่จ่าย 10% + เงินปันผลส่วนนี้ ถ้าบริษัทฯ ทราบอย่างชัดเจนว่ามาเสียภาษีในอัตราใด ผู้ถือหุ้นก็สามารถได้รบเครดิตภาษีตามอัตรานั้น ดำเนินการไปตามที่แจ้ง ถูกต้องแล้ว
ตอบเมื่อ 2 ต.ค. 2559  .  ตอบโดย อจ.สุเทพ