ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจประมวลรัษฎากร และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
สุเทพ พงษ์พิทักษ์

ขายรถยนต์นั้ง

ถามวันที่ 29 ก.ย. 2559  .  ถามโดย vit  .  เข้าชม 17 ครั้ง

เรียน อาจารย์สุเทพ พงษ์พิทักษ์
ผมขอสอบถาม กรณีขายรถยนต์นั้งไม่เกิน10ที่นั้ง ซื้อรถในราคา 1,500,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 105,000 บาท ซาก 300,000 บาท อายุการใช้งาน 1 ปี
ขายในราคา 1,000,000 บาท
ทางบัญชี
ขาย 1,000,000
หัก ค่าเสื่่อมสะสมทางบัญชี (261,000) *คำนวณ(ทุน 1,5000,0000+VAT 105,000-ซาก 300,000)*20%
หัก ทุนรถยนต์ทางบัญชี (1,605,000) *คำนวณ(ทุน 1,5000,000+VAT 105,000)
ขาดทุนทางบัญชี (344,000)

ทางภาษี
ขาย 1,000,000
หัก ค่าเสื่่อมสะสมทางภาษี (200,000) *คำนวณ(ทุน 1,000,000 * 20%)
หัก ทุนรถยนต์ทางภาษี (1,000,000)
กำไรทางภาษี 200,000

*****บวกกลับ 544,000 บาท
ตามความเข้าใจของผมจะคำนวณแบบนี้จะถูกต้องไหมครับ
ขอบคุณครับ

1 คำตอบ
เรียน คุณ vit

กรณีขายรถยนต์นั้งไม่เกิน10ที่นั้ง ซื้อรถในราคา 1,500,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 105,000 บาท ซาก 300,000 บาท อายุการใช้งาน 1 ปี
ขายในราคา 1,000,000 บาท มีผลขาดทุนจากการขายรถยนต์ทางบัญชีจำนวน 344,000 บาท ตามวิธีการคำนวนข้างต้น

ทางภาษี มีผลกำไรจากการขายรถยนต์ทางภาษีจำนวน 200,000 บาท ตามผลการคำนวณข้างต้น

จำนวนบวกกลับ 544,000 บาท ตามความเข้าใจของคุณ vit ยังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ เพราะยังไม่ได้บวกกลับค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาต้องห้ามจำนวน 61,000 บาท รวมเป็นจำนวนเงินที่ต้องบวกกลับทั้งส้ิน (544,000 + 61,000) = 605,000 บาท
หรือเท่ากับ มูลค่าต้นทุนรถยนต์นั่งส่วนที่เกิน 1,000,000 บาท (1,605,000 - 1,000,000) เท่ากับ 605,000 บาท ทั้งนี้ตามนัยมาตรา 65 ตรี (20) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 315) พ.ศ. 2540

เลขที่หนังสือ: กค 0811/ก.1033 ลงวันที่ 28 กันยายน 2543
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีรถยนต์นั่ง
ข้อกฎหมาย : มาตรา 4(1) แห่งพระราชกฤษฎีกา
ข้อหารือ :
บริษัทฯ ได้ซื้อรถยนต์ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2539 ในราคา 5,000,000 บาท บริษัทฯ บันทึกบัญชีในราคาทุนคือ 5,000,000 บาท และได้บันทึกบัญชีค่าเสื่อมราคาในระหว่างที่ใช้รถยนต์คันนี้ โดยคิดค่าเสื่อมราคาจากราคาทุน 1,000,000 บาท ในอัตราร้อยละ 20 ต่อปี โดยบันทึกค่าเสื่อมราคาตั้งแต่วันที่ซื้อจนถึงวันที่ขายบริษัทฯ ได้ขายรถคันนี้ไปเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2543 ในราคา 2,500,000 บาท ในวันที่ขายนั้น บัญชีค่าเสื่อมราคาสะสม-รถยนต์ มียอดเท่ากับ 650,000 บาท และได้บันทึกบัญชี กำไรขาดทุนจากการขายรถยนต์คันนี้ ตามการคำนวณดังนี้
ราคาขาย 2,500,000
หัก มูลค่าตามบัญชีสุทธิ :-
- ราคาทุน 5,000,000
- ค่าเสื่อมราคาสะสม-คิดค่าเสื่อมราคา
จากราคาทุน 1 ล้านบาท โดยคำนวณ
จากวันที่ซื้อจนถึงวันขาย (650,000) 4,350,000
ขาดทุนจากการขายรถยนต์ตามบัญชี 1,850,000
บริษัทฯ หารือว่า กรณีขายรถยนต์คันดังกล่าว ในทางภาษีบริษัทฯ จะต้องบวกกลับหรือไม่ ถ้าบวกกลับ จะบวกกลับด้วยจำนวนเงินเท่าใด
แนววินิจฉัย :
กรณีตามข้อเท็จจริงบริษัทฯ ซื้อรถยนต์นั่งมาเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2539 มูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่งเฉพาะส่วนที่เกินคันละหนึ่งล้านบาท ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามมาตรา 4 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยรายจ่ายที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ (ฉบับที่ 315) พ.ศ.2540 มูลค่าต้นทุนทรัพย์สินหนึ่งล้านบาทนั้น บริษัทฯ หักค่าเสื่อมราคาไปแล้ว 650,000 บาท ต้นทุนทรัพย์สินที่ให้ถือเป็นรายจ่ายได้ จึงยังคง
เหลืออยู่ 350,000 บาท เมื่อบริษัทฯ ขายรถยนต์นั่งไปในราคา 2,500,000 บาท บริษัทฯ จึงมีกำไรจากการขายรถยนต์ 2,150,000 บาท เมื่อบริษัทฯ บันทึกการขายรถยนต์นั่งเป็นขาดทุน 1,850,000 บาท บริษัทฯ จึงต้องนำมูลค่าต้นทุน 4,000,000 บาท ที่ต้องห้ามหักเป็นรายจ่ายไปบวกกลับในการคำนวณกำไรสุทธิของบริษัทฯ

เลขตู้ : 63/29849
ตอบเมื่อ 2 ต.ค. 2559  .  ตอบโดย อจ.สุเทพ