ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจประมวลรัษฎากร และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
สุเทพ พงษ์พิทักษ์

ต้นทุนงานก่อสร้าง

ถามวันที่ 3 ต.ค. 2559  .  ถามโดย annsirilak.kaka  .  เข้าชม 22 ครั้ง

บริษัทประกอบกิจการรับออกแบบและตกแต่งภายในมูลค่าตามสัญญา8000000บาทสัญญาลงวันที่17/10/57สัญญาระบุการจ่ายชำระเป็นงวดๆงวดที่ 1 จ่ายเมื่อเซ็นสัญญา 10%ของมูลค่าสัญญา งวดที่2 วันที่ 28/12/57 40%งวดที่3 จ่ายในปี2558 40%และงวดสุดท้าย10% อยากสอบถามอาจารย์ว่าบริษัทบันทึกต้นทุนงานในแต่ละงวดที่85%ของรายได้ที่รับรู้แต่ละงวด คืองวดที่1บันทึกต้นทุน 680000บาท และเมื่อครบงวดสุดท้ายบริษัทจะทำการปรับปรุงค่าใช่จ่ายให้เท่ากับค่าใช้จ่ายที่จ่ายจริง สอบถามบริษัทสามารถคิดต้นทุนแบบนี้ได้ไหมถือเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรรึเปล่าค่ะสำหรับปีภาษี 2557

1 คำตอบ
เรียน คุณ annsirilak.kaka

บริษัทฯ ประกอบกิจการรับออกแบบและตกแต่งภายในมูลค่าตามสัญญา 8,000,000 บาท สัญญาลงวันที่ 17/10/57 สัญญาระบุการจ่ายชำระเป็นงวดๆ
งวดที่ 1 จ่ายเมื่อเซ็นสัญญา 10% ของมูลค่าสัญญา
งวดที่ 2 วันที่ 28/12/57 40%
งวดที่ 3 จ่ายในปี 2558 40% และ
งวดสุดท้าย 10%
หากบริษัทฯ สามารถพิสูจน์ได้อย่างชัดแจ้งอย่างแท้จริง (โดยมีหลักวิชาการรองรับได้อย่างน่าเชื่อถือ) ว่า บริษัทฯ ประมาณการต้นทุนงสนไว้ที่ 85% ของรายได้ทั้งสิ้น บริษัทฯ ก็ย่อมสามารถรับรู้ต้นทุนแต่ละงวด ตามที่ประมาณการไว้ได้ และเมื่อครบงวดสุดท้ายบริษัทจะทำการปรับปรุงค่าใช่จ่ายให้เท่ากับค่าใช้จ่ายที่จ่ายจริง ไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามสำหรับต้นทุนของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2557

ทั้งนี้ อนุโลมตามข้อ ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 148/2557 ดังนี้
"ข้อ 7 ในการคำนวณมูลค่าต้นทุนของอสังหาริมทรัพย์ โดยวิธีการประมาณการกำไรของโครงการ
(1) กรณีทำสัญญาว่าจ้างผู้ประกอบการอื่นเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างหรือพัฒนาทั้งหมด ให้คำนวณต้นทุนดังกล่าวจากสัญญาว่าจ้างนั้น
(2) กรณีเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างหรือพัฒนาเองทั้งหมด หรือจ้างผู้ประกอบการอื่นเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างหรือพัฒนาบางส่วน การคำนวณต้นทุนดังกล่าวต้องมีรายละเอียดการคำนวณต้นทุนของโครงการที่น่าเชื่อถือได้ของผู้รับผิดชอบในการคำนวณต้นทุน เช่น วิศวกร หรือสถาปนิก เป็นต้น
รอบระยะเวลาบัญชีใดที่ต้นทุนซึ่งเกิดขึ้นจริงสูงกว่าหรือต่ำกว่าที่ได้ประมาณการไว้ใน ส่วนที่เป็นสาระสำคัญ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นนำต้นทุนส่วนที่เพิ่มขึ้นจากต้นทุนที่ได้ประมาณการไว้ มาถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือนำต้นทุนส่วนที่ลดลงจากต้นทุนที่ประมาณการไว้ มาถือเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และให้ปรับปรุงการประมาณการต้นทุนใหม่เพื่อถือเป็นต้นทุนของรอบระยะเวลาบัญชีถัดไป"

แต่ถ้าบริษัทฯ ไม่สามารถพิสูจน์ได้อย่างชัดแจ้งอย่างแท้จริง (โดยมีหลักวิชาการรองรับได้อย่างน่าเชื่อถือ) บริษัทฯ ก็ต้องปรับปรุงต้นทุนของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2557 ให้ตรงตามความเป็นจริงเมื่อจบโตรงการได้ โดยยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2557 เพิ่มเติม
ตอบเมื่อ 5 ต.ค. 2559  .  ตอบโดย อจ.สุเทพ