ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจประมวลรัษฎากร และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
สุเทพ พงษ์พิทักษ์

การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมาชำระค่าหุ้น

ถามวันที่ 5 พ.ค. 2560  .  ถามโดย sophia  .  เข้าชม 11 ครั้ง

สวัสดีค่ะ ขอรบกวนถามอาจารย์นะคะ
1. ตามกฎหมายใหม่ที่ให้นำอสังหาริมทรัพย์มาลงเป็นทุนของบริษัท กรณี นำที่ดินมาชำระค่าหุ้นของบริษัท ในการโอนมาชำระ ราคาที่บันทึก ต้องเป็นราคาตลาดหรือ ราคาประเมินค่ะ กรณี ทุนจดทะเบียน 10 ล้าน ที่ดิน ตีราคา
100 ส่วนต่าง จะลงเป็นเงินกู้ยืมได้หรือไม่ค่ะ และต้องเสียดอกเบี้ยให้บริษัทสำหรับเงินกู้ยืมกรณีนี้หรือไม่ค่ะ
2.และตอนโอนที่กรมที่ดินให้บริษัทใช้ราคาประเมิน หรือราคาตลาดค่ะ
3. ทุนจดทะเบียนบริษัทใหม่เป็นเท่าไหร่ก็ได้ใช่มั้ยค่ะ

1 คำตอบ
....การโอนทรัพย์สินให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่จะได้รับยกเว้นเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์สําหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้า หรือการกระทําตราสารอันเนื่องมาจากการโอนทรัพย์สินให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 630) พ.ศ. 2560 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 4) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 630) พ.ศ. 2560 ดังนี้
........ให้ยกเว้นเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่บุคคลธรรมดา สําหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้า หรือการ กระทําตราสาร อันเนื่องมาจากการโอนทรัพย์สินให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นหุ้นสามัญของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ทั้งนี้ เฉพาะการโอนทรัพย์สิน และการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้กระทําตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 4) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 630) พ.ศ. 2560 ดังนี้
........(1) ต้องเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามราคาตลาดจากบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้น ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เพื่อใช้เป็นทุนจดทะเบียนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น
........(2) บุคคลผู้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ต้องถือหุ้นในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่รับโอนทรัพย์สินเป็นจำนวนไม่น้อยกว่ามูลค่าทรัพย์สินที่โอน
........(3) ต้องไม่โอนหุ้นอันเกิดจากการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ซึ่งได้รับยกเว้นรัษฎากรในราคาต่ำกว่ามุลค่าหุ้นทางบัญชี
........(4) บุคคลผู้โอนอสังหาริมทรัพย์และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์ จะต้องร่วมกันจัดทำหนังสือรับรองการโอนอสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้เป็นทุนจดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยบุคคลผู้โอนอสังหาริมทรัพย์ต้องแจ้งหนังสือรับรองดังนี้
............(ก) แจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินท้องที่ที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมาย เว้นแต่บุคคลผู้โอนอสังหาริมทรัพย์ประสงค์จะชำระภาษีอากรก่อนในขณะที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมาย ก็ไม่ต้องแจ้งและส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดิน
............(ข) แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดัีงกล่าวผ่านสรรพากรพื้นที่ ในเขตท้องที่ที่บุคคลผู้โอนอสังหาริมทรัพย์มีภูมสำเนาหรือสถานประกอบการตั้งอยู่ หรือในเขตท้องที่ที่อสังหาริมทรัพย์ที่โอนตั้งอยู่
............ทั้งนี้ หนังสือรับรองดังกล่าวต้องมีข้อมความอย่างน้อยตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ท้ายประกาศฉบับดังกล่าว

ต่อข้อถาม ขอเรียนว่า
....1. ตามกฎหมายใหม่ที่ให้นำอสังหาริมทรัพย์มาลงเป็นทุนของบริษัท กรณีนำที่ดินมาชำระค่าหุ้นของบริษัท ในการโอนมาชำระ ราคาที่บันทึก ต้องเป็นราคาตลาดหรือ ราคาประเมินค่ะ กรณี ทุนจดทะเบียน 10 ล้าน ที่ดิน ตีราคา 100 ล้านบาท ส่วนต่าง จะลงเป็นเงินกู้ยืมไม่ได้ มิฉะนั้น บุคคลธรรมดาจะไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 630) พ.ศ. 2560 และไม่ต้องเสียดอกเบี้ยให้บริษัท สำหรับเงินกู้ยืมกรณีนี้ เนื่องจากบริษัทฯ เป็นผู้กู้ยืมจากบุคคลธรรมดา
....2. และตอนโอนที่กรมที่ดินให้บริษัทใช้ราคาตลาด
....3. ทุนจดทะเบียนบริษัทใหม่เป็นเท่าไหร่ก็ได้ แต่ต้องเท่ากับมูลค่าทรัพย์สินที่โอนมาจากบุคคลธรรมดา เนื่องจากบุคคลผู้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ต้องถือหุ้นในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่รับโอนทรัพย์สินเป็นจำนวนไม่น้อยกว่ามูลค่าทรัพย์สินที่โอน
ตอบเมื่อ 4 มิ.ย. 2560  .  ตอบโดย อจ.สุเทพ