ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจประมวลรัษฎากร และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
สุเทพ พงษ์พิทักษ์

เงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้รับจากกิจการร่วมค้า

ถามวันที่ 22 ก.ย. 2561  .  ถามโดย j_sumalee  .  เข้าชม 9 ครั้ง

ส่วนแบ่งกำไรที่ได้รับจากกิจการร่วมค้า ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมเป็นเงินได้ใช่หรือไม่ครับ
ถามวันที่ 29 ส.ค. 2560 . ถามโดย watchara_boy . เข้าชม 5 ครั้ง
เรียน ท่านอาจารย์ครับ
บริษัท ก. และ บริษัท ข. (ทั้งสองบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย) ได้ร่วมลงทุนใน กิจการร่วมค้า ค. เพื่อไปรับงานรับเหมาขุดขนดินกับหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง และตกลงแบ่งกำไรจากการร่วมค้านั้น โดย กิจการร่วมค้า ค.ได้ขอมีเลขผู้เสียภาษีอากรกับกรมสรรพากร เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแยกต่างหากจากบริษัท ก. และ บริษัท ข. ขอเรียนสอบถามว่า
กรณีที่ 1. เมื่อ บริษัท ก. และ บริษัท ข. ได้รับส่วนแบ่งกำไรที่ผ่านการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วจากกิจการร่วมค้า ในขณะที่กิจการร่วมค้ายังไม่ได้เลิกกิจการ บริษัท ก. และ บริษัท ข. จะถือว่าส่วนแบ่งกำไรที่ได้รับดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ข) แต่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมเป็นเงินได้ ตามมาตรา 5 ทวิ (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลฯ ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พศ.2500 ใช่หรือไม่ครับ
กรณีที่ 2 เมื่อ บริษัท ก. และ บริษัท ข. ได้รับเงินคืนทุนบวกกับกำไรสะสมจากกิจการร่วมค้า ณ วันที่กิจการร่วมค้าเลิกกิจการและคืนทุน ถือว่า เงินคืนทุนที่รวมกำไรสะสมที่บริษัท ก. และ บริษัท ข. ได้รับดังกล่าว เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ฉ) ใช่หรือไม่ครับ และจะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมเป็นเงินได้ ตามมาตรา 5 ทวิ (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลฯ ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พศ.2500 เหมือนกรณีที่ 1 หรือไม่ครับ
ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

อยากทราบคำตอบเกี่ยวกับคำถามเรื่องนี้ค่ะ

1 คำตอบ
กรณีบริษัท ก. และบริษัท ข. (ทั้งสองบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย) ได้ร่วมลงทุนในกิจการร่วมค้า ค. เพื่อไปรับงานรับเหมาขุดขนดินกับหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง และตกลงแบ่งกำไรจากการร่วมค้านั้น โดยกิจการร่วมค้า ค. ได้ขอมีเลขผู้เสียภาษีอากรกับกรมสรรพากร เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแยกต่างหากจากบริษัท ก. และ บริษัท ข. ขอเรียนสอบถามว่า
กรณีที่ 1. เมื่อ บริษัท ก. และ บริษัท ข. ได้รับส่วนแบ่งกำไรที่ผ่านการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วจากกิจการร่วมค้า ในขณะที่กิจการร่วมค้ายังไม่ได้เลิกกิจการ บริษัท ก. และ บริษัท ข. จะถือว่าส่วนแบ่งกำไรที่ได้รับดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ข) แต่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมเป็นเงินได้ ตามมาตรา 5 ทวิ (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลฯ ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 ความเห็นของคุณถูกต้องแล้วครับ
กรณีที่ 2 เมื่อ บริษัท ก. และ บริษัท ข. ได้รับเงินคืนทุนบวกกับกำไรสะสมจากกิจการร่วมค้า ณ วันที่กิจการร่วมค้าเลิกกิจการและคืนทุน ถือว่า เงินคืนทุนที่รวมกำไรสะสมที่บริษัท ก. และ บริษัท ข. ได้รับดังกล่าว เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร ถูกต้องแล้วครับ แต่จะไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมเป็นเงินได้ ตามมาตรา 5 ทวิ (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลฯ ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 เหมือนกรณีที่ 1 แต่อย่างใด เนื่องจากไม่เข้าลักษณะเป็นเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้า หากแต่เป็นผลประโยชน์ที่ได้จากการเลิกกิจการร่วมค้า
จึงพึงต้องวางแผนภาษีอากรเกี่ยวกับรายการดังกล่าวให้รอบคอบ ด้วยความระมัดระวัง
ตอบเมื่อ 8 ม.ค. 2562  .  ตอบโดย อจ.สุเทพ