ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจประมวลรัษฎากร และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
สุเทพ พงษ์พิทักษ์

เงินทดรองจ่าย

ถามวันที่ 21 ก.ค. 2559  .  ถามโดย acharee.th  .  เข้าชม 36 ครั้ง

สวัสดีท่านอาจารย์ค่ะ หนูขอปรึกษากฎหมายภาษีอากร ดังนี้ค่ะ
บริษัท ก. ได้ทำ “สัญญาการจัดจำหน่าย” โดยได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าให้กับ บริษัท A (บจ.แม่ ตั้งอยู่ต่างประเทศ) ในประเทศไทยเพียงรายเดียว โดยในสัญญาบางส่วนระบุว่า
-ให้ บริษัท ก.สั่งซื้อ 1 คอนเทนเนอร์ ต่อ 2 เดือน มิฉะนั้นสัญญาการจัดจำหน่ายเป็นอันยกเลิกโดยอัตโนมัติ
-บริษัท ก.ต้องมีการคาดการณ์ยอดจัดจำหน่ายเป็นรายเดือน โดยต้องระบุถึงชื่อ ประเภทสินค้า จำนวนที่จะสั่ง ระยะเวลาในการจัดส่ง ตารางการจัดส่ง และรายการอื่นที่เกี่ยวข้องในการจัดส่ง และต้องรายการที่คาดการณ์ของการสั่งซื้อสินค้าอย่างน้อย 3 เดือนล่วงหน้า และรายงานการขายเป็นรายเดือนให้ บริษัท A รับทราบ
-เงื่อนไขทางการตลาดและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดจำหน่าย บริษัท ก.จะต้องนำส่งโปรแกรมการขายสำหรับสินค้าแต่ละประเภทภายในเดือนนั้น แก่บริษัท A นับตั้งแต่วันที่ทำสัญญา
-กิจกรรมทางการตลาดทุกอย่างของบริษัท ก. รวมถึงการทำโปรโมชั่น ซึ่งเกี่ยวข้องกับการโฆษณาสินค้าและการทำราคาสำหรับสินค้าใหม่ที่จำหน่าย ณ ร้านค้า หรือสถานที่จัดจำหน่าย จะต้องได้รับความยินยอมจากบริษัท A
-บริษัท ก. สามารถที่จะเรียกเก็บ “marketing fee” จากบริษัท A ได้ในราคาสมควร สำหรับกิจกรรมทาง
การตลาดและการส่งเสริมการขายในประเทศไทย และการเรียกเก็บ “marketing fee” นั้น จะต้องได้รับความยินยอมจากบริษัท A (ทั้งนี้ ในสัญญาไม่ได้ระบุว่าต้องจ่ายกันในอัตราใด จำนวนเท่าใด และระยะเวลาที่ต้องจ่ายเมื่อใด)
ซึ่งบริษัท ก. จะเป็นผู้ว่าจ้างบริษัทโฆษณาทำโฆษณาทางโทรทัศน์ และในวันสิ้นปีบริษัท ก. ได้ออกใบแจ้งหนี้เรียกเก็บเงินจากบริษัท A ตามเงื่อนไขที่ว่าหากบริษัท ก.ซื้อสินค้าได้ตามจำนวนที่ตกลงกัน ค่าโฆษณาสินค้าสำหรับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว บริษัท A จะจ่ายให้ทั้งหมด (แต่ไม่ได้มีการระบุไว้ในสัญญา)
สำหรับการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับค่าโฆษณาที่บริษัท ก. ได้จ่ายไปมีดังนี้
- กรณีบันทึกเจ้าหนี้บริษัทโฆษณา
เดบิท คชจ.ล่วงหน้า-ค่าโฆษณา 300
ภาษีซื้อ 21 (นำมาเครดิตออกจากภาษีขาย)
เครดิต เจ้าหนี้-บริษัทโฆษณา 321
- บันทึกโอนจากคชจ.ล่วงหน้า เป็นคชจ.
เดบิท ค่าโฆษณา 300
เครดิต คชจ.ล่วงหน้า-ค่าโฆษณา 300
- บันทึกการจ่ายค่าโฆษณา
เดบิท เจ้าหนี้-บริษัทโฆษณา 321
เครดิต ธนาคาร 321
สำหรับการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับ บริษัท A มีดังนี้
-ออกใบแจ้งหนี้เรียกเก็บเงินค่าโฆษณาในวันสิ้นปีครั้งเดียว
เดบิท ลูกหนี้-บริษัท A 321
เครดิต ค่าโฆษณา 321
-เมื่อได้รับชำระเงินจาก บริษัท A
เดบิท ธนาคาร 321
เครดิต ลูกหนี้-บริษัท A 321
จากข้อเท็จจริงข้างต้น ประกอบกับการบันทึกรายการทางบัญชี หนูเข้าใจว่าการจ่ายเงินค่าโฆษณาดังกล่าวมีลักษณะเป็นการจ่ายเงินทดรองจ่าย มิใช่เป็นกรณีที่ บริษัท ก. ให้บริการโฆษณาต่อแก่ บริษัท A ดังนั้น การที่บริษัท ก. นำภาษีซื้อเครดิตออกจากภาษีขาย (ตามใบกำกับภาษีซื้อในนามของบริษัท ก. ที่ได้รับมาจากบริษัทโฆษณา) ถือเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5(3) แห่งฯ ใช่หรือไม่คะ ถ้าไม่ใช่อย่างที่หนูเข้าใจ อาจารย์ช่วยแนะนำว่ากรณีข้างต้นมีผลต่อภาระภาษีอะไรบ้าง
ขอบคุณท่านอาจารย์ค่ะ (ได้แนบรายละเอียดของสัญญามาประกอบการพิจารณาค่ะ)
“สัญญาการจัดจำหน่าย”
ทำขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2558 โดยและระหว่าง
1. บจ.A ซึ่ง เป็นบริษัทที่จดทะเบียนและมีอยู่ภายใต้กฎหมายของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (ซึ่งต่อไปใน
สัญญานี้จะเรียกว่า “เจ้าของ”)
2. บจ.ก ซึ่ง เป็นบริษัทที่จดทะเบียนและมีอยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศไทย
(ซึ่งต่อไปในสัญญานี้จะเรียกว่า“ผู้จัดจาหน่าย”)
คู่สัญญาฝ่ายแรกและคู่สัญญาฝ่ายที่สองในภายหลังจะรวมเรียกว่า “คู่สัญญาทั้งสองฝ่าย” และ “คู่สัญญาแต่ละฝ่าย” ให้
หมายความถึงแต่ละฝ่าย ทั้งนี้ตามแต่บริบทจะกล่าวถึง
คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงทาสัญญาต่อกันโดยมีข้อความดังต่อไปนี้
1. การว่าจ้าง
เจ้าของแต่งตั้ง และให้อำนาจผู้จัดจาหน่าย ในการเป็นผู้มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการจาหน่ายผลิตภัณฑ์ของเจ้าของ
(“สิน ค้า”) ภายในอาณาเขต และผู้จัดจำหน่ายตกลงในสิ่ง ที่เจ้าของได้มอบหมายภายใต้เงื่อนไขและระยะเวลาที่
กำหนดภายในสัญญานี้
2. สินค้า
สินค้าซึ่งถูกระบุไว้และถูกผลิตโดยเจ้าของ และ/หรือ บริษัทในเครือให้หมายความถึง: สินค้าทุกชนิดโดยเจ้าของ
3. อาณาเขต
ผู้จัดจำหน่ายจะปฏิบัติตนเป็นผู้มีสิทธิจาหน่ายเพียงเดียวภายใต้อาณาเขตของประเทศไทยทั้งหมด
4. ระยะเวลาและเงื่อนไข
ก. เจ้าของต้องขายสินค้าให้แก่ผู้จัดจำหน่ายตามรายการราคาที่ถูกทำขึ้น โดยเจ้าของและผู้จัดจาหน่ายโดยใช้
เงื่อนไขทางตลาด ซึ่งราคาขายแก่ผู้จัดจำหน่ายจะอยู่ในรูปของสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา
ข. เจ้าของจะต้องแจ้งให้ผู้จัดจำหน่ายทราบถึงการเปลี่ยนแปลงรายการราคาสำหรับสินค้าไม่ต่ำ กว่า 90 วันก่อนที่
จะมีผลบังคับใช้ราคาเช่นว่านั้น รายการสินค้าจากผู้จัดจำหน่ายซึ่ง เจ้าของได้อนุมัติก่อนหน้าการแจ้งการ
เปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะต้องใช้ราคาก่อนหน้าการแจ้งให้ทราบ อย่างไรก็ตาม ในบางสถานการณ์ ในกรณีที่มีการ
เปลี่ยนแปลงทางราคาที่จำเป็นที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางตลาด การเปลี่ยนแปลงราคาเช่นว่านั้น ย่อมมี
ผลบังใช้ทันทีนับตั้ง แต่ที่คู่สัญญาได้ตกลงกัน
ค. ผู้จัดจาหน่ายจะต้องสั่ง สินค้าอย่างน้อย 1 คอนเทนเนอร์ต่อ 2 เดือน มิฉะนั้น สัญญาเป็นยกเลิก
โดยอัตโนมัติ
ง. เจ้าของตกลงขายสินค้าให้แก่ผู้จัดจาหน่ายภายใต้หนังสือสั่ง สินค้าที่จัดทำขึ้น โดยผู้จัดจาหน่าย และภายใต้การ
คาดการณ์ยอดจัดจำหน่ายเป็นรายเดือน หนังสือเช่นว่านั้นจะต้องระบุถึงชื่อ และประเภทของสินค้า จำนวนที่จะสั่ง
ระยะเวลาในการจัดส่ง ตารางการจัดส่ง และรายการอื่นที่ต้องใช้ในการจัดส่ง
จ. ผู้จัดจำหน่ายจะต้องมั่น ใจจะมีการประกันคุณภาพของสินค้านั้น ตลอดไป เพื่อการนั้น ผู้จัดจำหน่ายตกลงจะ
ปฏิบัติตามข้อแนะนำของเจ้าของในเรื่องการเก็บรักษาและการดูแลสินค้านั้น
ฉ. ผู้จัดจาหน่ายตกลงนำ ส่งรายการการคาดการณ์ของการสั่ง สินค้าอย่างน้อย 3 เดือนล่วงหน้า และรายงานการ
ขายเป็นรายเดือนแก่เจ้าของ
ช. การชาระเงินทั้งหมดจะต้องถูกกระทำผ่านทางการโอนภายใน 90 วันนับจากวันที่ได้รับใบตราส่งสินค้า
ซ. ผู้จัดจำหน่ายจะต้องนำส่งรายงานเป็นรายเดือนแกเ จ้าของ ตลอดจนเงื่อนไขทางตลาดและข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง
กับการจัดจาหน่ายสินค้า ผู้จัดจำหน่ายจะต้องนา ส่งโปรแกรมการขายสำ หรับสินค้าแต่ละประเภทภายในเดือนนั้น
แก่เจ้าของด้วยนับตั้ง แต่วันที่ทำสัญญา
ฌ. สัญญาฉบับนี้กระทำขึ้น โดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ผู้จัดจำหน่ายจะมอบหมายหน้าที่และสิทธิแก่บุคคลฝ่ายที่สาม
โดยไม่มีหนังสือแต่งตั้ง จากเจ้าของหาได้ไม่
5. การจัดส่ง
การจัดส่งสินค้าทั้งหมดต้องกระทำโดยใช้ราคาต้นทุน ประกันภัย และค่าขนส่ง (ซีไอเอฟ) เจ้าของจะจัดส่งสินค้า
ให้แก่ผู้จัดจำหน่ายบนเงื่อนไขการจัดส่งสินค้าของเจ้าของแก่ผู้จัดส่งคนกลาง วันที่ในการจัดส่งจะต้องอยู่ภายใต้
ขอบเขตและการได้รับอย่างฉับไวของเจ้าของ สำหรับข้อมูลรายการที่จำเป็นจากผู้จัดจาหน่าย ผู้จัดจาหน่ายจะต้อง
เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนของการขนส่ ง และประกัน และเตรียมการในการจ่ายเงินคืนแก่เจ้าของ ในกรณีที่เจ้าของได้
ออกเงินทดรองจ่ายสำหรับค่าจัดส่งนั้นไปก่อน เจ้าของไม่ต้องรับผิดในการผิดนัดไม่ว่าโดยเหตุผลใดก็ตามที่เกิดขึ้น
จากความผิดพลาดภายใต้สัญญานี้ หากความผิดพลาดเกิดจากเพลิงไหม้ ระเบิด การประท้วง การห้ามขนส่งสินค้า
หรือโดยเหตุสุดวิสัย สงคราม การก่อความไม่สงบ หรือการกระทำโดยรัฐบาล เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น ได้เกี่ยวกับการ
จัดส่ง สภาพอากาศที่ไม่ปกติ การโดนกัก การกำหนดข้อห้าม โรคระบาด มหันตภัย การไม่มีการกำหนดเวลา หรือไม่
มีข้อมูลจากผู้จัดจำหน่าย หรือเหตุอื่นๆ ที่เกิดขึ้นซึ่ง นอกเหนือจากการควบคุมของเจ้าของ เจ้าของไม่ต้องรับผิดใน
กรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ความเสียหาย หรือ ผลกระทบพิเศษ
6. การค้าขายแข่ง
ก. ผู้จัดจำหน่ายตกลงที่จะไม่จัดจำหน่ายสินค้าอื่นที่ถือว่าเป็นสินค้าคู่แข่งของสินค้าของเจ้าของ เว้นแต่ได้รับ
อนุญาตจากเจ้าของโดยทำเป็นหนังสือแล้ว หรือเป็นสินค้าที่ผู้จัดจำหน่ายมีอยู่ก่อนสัญญานี้ใช้บังคับ
ข. เจ้าของตกลงปกป้องผู้จัดจำหน่ายภายในอาณาเขตตามที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญานี้ตราบเท่าที่สัญญานี้มีผล
บังคับใช้ ดังนั้น เจ้าของตกลงไม่จัดส่งสินค้าใดก็ตามที่ผู้จัดจาหน่ายได้สิทธิในการนำเข้าและขายแต่เพียงผู้เดียว
ให้แก่บุคคลอื่นภายในอาณาเขตที่ตกลงกันไว้ในสัญญานี้ ข้อมูลหรือข้อเสนอได้ที่เจ้าของได้รับโดยตรงภายใน
อาณาเขตที่ตกลงกันไว้ในสัญญานี้จะถูกส่งต่อให้แก่ผู้จัดจาหน่าย
7. กิจกรรมทางการตลาด
ก. กิจกรรมทางการตลาดทุกอย่างของผู้จัดจาหน่าย รวมถึงการทำโปรโมชั่น ซึ่งเกี่ยวข้องกับการโฆษณาสินค้าและ
การทำราคาสำหรับสินค้าใหม่ที่จำหน่าย ณ ร้านค้าหรือสถานที่จัดจาหน่าย จะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของ
ข. ผู้จัดจำหน่ายสามารถที่จะเรียกเก็บ “marketing fee” จากเจ้าของได้ในราคาที่อันสมควร สำหรับกิจการทาง
การตลาดและการส่งเสริมการขายในประเทศไทย marketing fee นั้น จะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของ
8. การเลิกสัญญา
ก. สัญญาฉบับนี้มีกำหนดระยะเวลา 3 (สาม) ปี นับตั้งแต่วันที่ทำสัญญาฉบับนี้และมีกำหนดต่อระยะเวลาสัญญานี้ต่อไปอีก
3 (สาม) ปี โดยอัตโนมัติ เว้นแต่จะมีการเลิกสัญญากันเกิดขึ้น การเลิกสัญญามิได้บรรเทาหน้าที่และ
ความรับผิดของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายที่เกิดขึ้น ก่อนการเลิกสัญญา
ข. สัญญานี้สามารถเลิกได้โดยการกระทาดังต่อไปนี้
1. โดยคู่สัญญาแต่ละฝ่าย แจ้งต่อกันโดยหนังสือจากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง ถึงคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง หรือล้มละลาย
หรือเกิดหนี้มากขึ้น หรือการโอนกิจการหรือผลประโยชน์ของเจ้าของ หรือการถูกอายัดหรือยึดทรัพย์ หรือ
การโอนชาติ หรือหากเกิดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับอำนาจควบคุม
2. หากเจ้าของเห็นว่าผู้จัดจำหน่ายดาเนินการไม่เป็นที่น่าพอใจ หรือหากผู้จัดจำหน่ายขาดความรับผิดชอบใน
หน้าที่ตามสัญญานี้
3. สัญญานี้เป็นอันยกเลิกเมื่อเจ้าของมิได้รับรายการคำสั่งซื้อ อย่างน้อย 1 คอนเทนเนอร์ภายใน 2 เดือน
ค. การยกเลิกสัญญาจะต้องแจ้งล่วงหน้าเป็นหนังสืออย่างน้อย 3 (สาม) เดือนก่อนเลิกสัญญา
9. กฎหมายที่ใช้บังคับและเขตอำนาจ
ก. สัญญาฉบับนี้จะะถูกบังคับและตีความโดยกฎหมายแห่งประเทศสิงคโปร์
ข. 1. บรรดาข้อขัดแย้ง การกระทำ หรือ กระบวนการ ที่เกิดขึ้น จากสัญญานี้รวมถึงข้อขัดแย้ง การกระทำ หรือ
กระบวนการ ที่มีเหตุผล มีผลผูกพัน มีผลกระทบ ยกเลิก แก้ไข หมดอายุ หรือเลิกกัน จะต้องถูกยุติโดยคู่สัญญา
ทั้งสองฝ่าย
2 หากความขัดแย้ง การกระทำ และกระบวนการดังกล่าวไม่สามารถถูกยุติโดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้นั้น
จะต้องถูกยุติโดยอนุญาโตตุลาการในประเทศสิงคโปร์ ตามที่ระบุไว้ในข้อกำหนดอนุญาโตตุลาการ ของคณะ
อนุญาโตตุลาการแห่งประเทศสิงคโปร์ (เอสไอเอซี รูล) ตามระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้
3 อนุญาโตตุลาการจะต้องจัดตั้งขึ้น โดยใช้ภาษาอังกฤษ และประกอบด้วยคณะสมาชิก 3 (สาม) คน ซึ่ง
สมาชิกคนแรกจะถูกเลือกโดยเจ้าของ สมาชิกคนที่สองจะถูกเลือกโดยผู้จัดจาหน่าย และสมาชิกคนที่สาม
ซึ่งเป็นประธานคณะจะถูกเลือกโดยความตกลงของคู่สัญญาทั้ง สองฝ่าย ซึ่งประธานจะต้องเป็นนักกฎหมาย
และสมาชิกอื่นจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ในเรื่องกฎหมายการค้าระหว่างประเทศเป็นอย่างดี คณะอนุญาโตตุลาการมีอำนาจในการสั่ง ห้ามมิให้กระทำ การใด หรือกระทำการใดซึ่ง คล้ายคลึงกับคำสั่ง ของศาล
4 คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องค่าใช้จ่ายในอนุญาโตตุลาการ และค่าใช้จ่ายอื่นซึ่ง
อนุญาโตตุลาการเรียกเก็บอันเนื่องมาจากการใช้อนุญาโตตุลาการนั้น เป็นจำนวนเท่ากัน
คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้อ่านและเข้าใจสัญญานี้อย่างดีแล้ว จึงได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน ณ วันทำสัญญาซึ่งได้กำหนดไว้สัญญานี้


ขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ

1 คำตอบ

เรียน คุณ acharee.th
ตามข้อ 7. ของสัญญาการจัดจำหน่าย ระหว่าง บจ. A ซึ่ง เป็นบริษัทที่จดทะเบียนและมีอยู่ภายใต้กฎหมายของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (“เจ้าของ”) กับ บจ. ก ซึ่ง เป็นบริษัทที่จดทะเบียนและมีอยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศไทย (“ผู้จัดจาหน่าย”) กำหนดว่า
“7. กิจกรรมทางการตลาด
ก. กิจกรรมทางการตลาดทุกอย่างของผู้จัดจำหน่าย รวมถึงการทำโปรโมชั่น ซึ่งเกี่ยวข้องกับการโฆษณาสินค้าและการทำราคาสำหรับสินค้าใหม่ที่จำหน่าย ณ ร้านค้าหรือสถานที่จัดจำหน่าย จะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของ
ข. ผู้จัดจำหน่ายสามารถที่จะเรียกเก็บ “marketing fee” จากเจ้าของได้ในราคาที่อันสมควร สำหรับกิจการทางการตลาดและการส่งเสริมการขายในประเทศไทย marketing fee นั้น จะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของ”
ซึ่งบริษัท ก. จะเป็นผู้ว่าจ้างบริษัทโฆษณาทำโฆษณาทางโทรทัศน์ และในวันสิ้นปีบริษัท ก. ได้ออกใบแจ้งหนี้เรียกเก็บเงินจากบริษัท A ตามเงื่อนไขที่ว่าหากบริษัท ก. ซื้อสินค้าได้ตามจำนวนที่ตกลงกัน ค่าโฆษณาสินค้าสำหรับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว บริษัท A จะจ่ายให้ทั้งหมด (แต่ไม่ได้มีการระบุไว้ในสัญญา) นั้น
สัญญาดังกล่าว หากพิจารณาผิวเผิน เหมือนเป็นสัญญาตั้งตัวแทนจำหน่ายสินค้า แต่ความเป็นจริงแล้วถือเป็นสัญญา “ซื้อขายสินค้า” ดังนั้น รายจ่ายค่าโฆษณาที่บริษัท ก. ได้จ่ายไปย่อมเกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ ภาษีซื้อสำหรับค่าโฆษณาตามใบกำกับภาษีที่ได้รับจากบริษัทรับจ้างโฆษณา จึงนำมาถือเป็นภาษีซื้อหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 82/5 (3) แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีที่บริษัท ก. ได้รับเงินชดเชยค่าโฆษณาจากบริษัท A ถือเป็นรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ ที่ได้จากการส่งเสริมการขาย ในทางภาษีอากร ถือเป็นรายได้อื่น ที่ไม่อยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีอากร ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 118/2545
ตอบเมื่อ 21 ก.ค. 2559  .  ตอบโดย อจ.สุเทพ