ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจประมวลรัษฎากร และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
สุเทพ พงษ์พิทักษ์

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ของธุรกิจระบบไฟฟ้า

ถามวันที่ 23 ก.ค. 2562  .  ถามโดย cattamajung  .  เข้าชม 1 ครั้ง

เรียนอาจารย์สุเทพ ที่เคารพ

บริษัท A เป็นบริษัท รับวางระบบไฟฟ้า ในตัวโรงงานและอาคาร โดยได้ว่าจ้าง ผู้รับเหมา บริษัท B มาทำการติดตั้งสายไฟและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (บริษัท B เป็นผู้ออกค่าของและค่าแรง) ต่อมา เป็นบริษัท ไม่สามารถหาแรงงานที่จะมาติดตั้งได้ จึงได้ มาเจรจาและตกลงกับบริษัท A ว่า ให้บริษัท A หาแรงงาน (บุคคลธรรมดา) เพื่อมาทำการติดตั้ง
โดยที่ค่าแรงดังกล่าว จะนำมาหักในงวดงานถัดไป (สำหรับข้อตกลงนี้ ตกลงกันด้วยวาจา ไม่มีลายอักษร)

ดังนั้น บริษัท A จึงได้ทำว่าจ้างบุคคลให้มาทำการติดตั้ง พร้อมทั้งจ่ายค่าแรงและได้มีการหัก ภาษี ณ ที่จ่าย (นำส่งสรรพากรแล้ว)
ในเดือนต่อมา ทางบริษัท B ได้ทำการวางบิลและ บริษัท A ได้ทำการจ่ายค่างวดงาน (หักค่าแรง 100%) แต่หลังจากนั้นบริษัท B มาทักทวงว่า ค่าแรงที่บริษัท A หักออกจากงวดงานที่บริษัท B วางบิลไปนั้น
ทางบริษัท B จะออกใบหัก ณ ที่จ่าย ในนามค่าแรง (บุคคลธรรมดา)

ดังนั้น จึงสอบถามว่า
1. ค่าแรง (บุคคลธรรมดา) ใครควรเป็นผู้ยื่นและนำส่งสรรพากร
2. ค่าแรงดังกล่าวควรถือเป็น รายได้ของ บริษัท A หรือไม่ (ต้องมี Vat ด้วยหรือไม่)

ขอบคุณอาจารย์ล่วงหน้าค่ะ