ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจประมวลรัษฎากร และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
สุเทพ พงษ์พิทักษ์

การหักกลบลบหนี้ระหว่างกัน

ถามวันที่ 22 ก.ค. 2559  .  ถามโดย dingdongkrab  .  เข้าชม 26 ครั้ง

บริษัท MICV จำกัด เป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งที่ประเทศพม่า
บริษัท INDEX จำกัด เป็นบริษัท จดและจัดตั้งที่ไทย และถือครองหุ้น บริษัท I จำกัด 100%
บริษัท I&M จำกัด เป็นบริษัท จดและจัดตั้งที่ไทย และถือครองหุ้น บริษัท MICV จำกัด 40%

บริษัท MICV จำกัด มีลูกหนี้และเจ้าหนี้ดังนี้ :-
ลูกหนี้- บริษัท I&M จำกัด 500.000 บาท
ลูกหนี้- บริษัท INDEX จำกัด 100,000 บาท
เจ้าหนี้- บริษัท I&M จำกัด 600,000 บาท

บริษัท I&M จำกัด มีลูกหนี้เจ้าหนี้ดังนี้ :-
ลูกหนี้ - บริษัท MICV จำกัด 12,000,000
เจ้าหนี้ - บริษัท MICV จำกัด 500,000
เจ้าหนี้ - บริษัท INDEX จำกัด 800,000

บริษัท INDEX จำกัด มีลูกหนี้เจ้าหนี้ดังนี้ :-
ลูกหนี้ - บริษัท I&M จำกัด 800,000
เจ้าหนี้ - บริษัท MICV จำกัด 100,000


MICV ตกลงกับ INDEX และ I&M จะทำการจ่ายชำระหนี้ระหว่างกันด้วยการหักกลบลบหนี้

MICV บันทึกบัญชี
Dr เจ้าหนี้-I&M 600,000.00
Cr ลูกหนี้ - I&M 500,000.00
ลูกหนี้ - INDEX 100,000.00

***ทาง MICV ตัดหนี้ 100% ***


I&M บันทึกบัญชี
Dr เจ้าหนี้-MICV 500,000.00
เงินสดในมือ*** 100,000.00
ส่วนต่าง 75,000.00
Cr ลูกหนี้-MICV 600,000.00
wht-15% (ภ.ง.ด.54) 75,000.00

*** INDEX จะจ่ายเงินให้ I&M แทน


INDEX บันทึกบัญชี
Dr เจ้าหนี้-MICV 100,000.00
Cr เงินสดในมือ 85,000.00
wht-15% (ภ.ง.ด.54) 15,000.00
ปุจฉา
บริษัท I&M จำกัด และบริษัท INDEX ต้องหัก ณ ที่จ่าย 15% ซึ่งต่องยื่นแบบ ภ.ง.ด.54
ทำให้ยอดหนี้ระหว่างกันที่หักล้างไม่ครบตามจำนวนหนี้ ทาง I&M มีบัญชีพักเป็นเงินสดในมือ
รอตัดหนี้กับบริษัท index 100,000 และส่วนต่างจาก WHT 75,000 ส่วน INDEX มียอดพัก
เงินสดในมือรอจ่ายให้ I&M แทนเพียง 85,000 ไม่ทราบว่าเรามีวิธีการตัดหนี้ที่ถูกต้องอย่างไรครับ

1 คำตอบ
เรียน คุณ dingdongkrab
กรณี I&M หากจ่ายชำระหนี้ให้แก่ เจ้าหนี้-MICV 500,000.00 บาท นั้น จะส่งเงินออกไปเพียง 425,000.00 บาท อีก 75,000.00 บาท เป็นภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร บันทึกบัญชีโดย
Dr เจ้าหนี้ MICV …................500,000.00
......Cr เงินฝากธนาคาร ...........................425,000.00
...........ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ..................75,000.00

เมื่อล้างกับบัญชีลูกหนี้ MICV จำนวน 600,000.00 บาท ซึ่งจะได้จาก MICV เพียง 500,000.00 บาท และได้จาก INDEX อีก 100,000.00 บาท
ในขณะที่ INDEX จ่ายเงินให้ MICV เพียง 85,000.00 บาท โดย I&M ต้องนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากรแทน INDEX จำนวน 15,000.00 บาท ทำให้ I&M ซึ่งต้องจ่ายชำระหนี้ให้ INDEX เพียง 85,000.00 บาท เท่านั้น
Dr เงินฝากธนาคาร ................600,000.00
......Cr ลูกหนี้ MICV ............................... 600,000.00
Dr เจ้าหนี้ INDEX …................100,000.00 (MICV)
......Cr เงินฝากธนาคาร ..............................85,000.00
...........ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ..................15,000.00

เมื่อทำการ Compound Entry การบันทึกบัญชี ของ I&M ในเบื้องต้นเมื่อตกลงจ่ายชำระหนี้ระหว่างกันด้วยการหักกลบลบหนี้
Dr เจ้าหนี้-MICV ...................500,000.00
…..เงินฝากธนาคาร ................600,000.00
.... เจ้าหนี้-INDEX .................100,000.00 (MICV)
......Cr ลูกหนี้-MICV ............................ 600,000.00
......... เงินฝากธนาคาร ..........................425,000.00
......... เงินฝากธนาคาร .......................... 85,000.00
...........ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ..................75,000.00
...........ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ..................15,000.00

สำหรับรายการบัญชีเงินฝากธนาคาร ด้านเดบิต 600,000 บาท และด้านเครดิตจะมีจำนวนเท่ากัน คือ (425,000 + 75,000 + 85,000 + 15,000)
เมื่อนำส่งภาษีเงินหัก ณ ที่จ่าย ที่ต้องชำระหนี้ให้แก่ MICV 600,000 บาท มีภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย 90,000 บาท ซึ่งเป็นรายการที่มีการชำระเงินกันจริง
Dr ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย......... 75,000.00
…. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย......... 15,000.00
......Cr เงินฝากธนาคาร ........................... 90,000.00

การบันทึกบัญชี ของ INDEX
Dr เจ้าหนี้-MICV ......................100,000.00
......Cr เงินฝากธนาคาร .................................85,000.00
...........wht-15% (ภ.ง.ด.54) ….....................15,000.00
Dr เงินฝากธนาคาร ....................100,000.00
......Cr ลูกหนี้ I&M ……………………………….….100,000.00

รายการเงินฝากธนาคารด้านเดบิต และด้านเครดิตหักล้างกันหมดไปเมื่อนำเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายไปชำระแก่กรมสรรพากร โดยให้ I&M เป็นผู้ชำระแทน ในฐานะลูกหนี้
ตอบเมื่อ 22 ก.ค. 2559  .  ตอบโดย อจ.สุเทพ