ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจประมวลรัษฎากร และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
สุเทพ พงษ์พิทักษ์

เงินสำรองจ่ายค่าภาษี

ถามวันที่ 29 ก.ค. 2559  .  ถามโดย ms_majang  .  เข้าชม 13 ครั้ง

กรณีที่เรารับเงินมาจากลูกลูกเพื่อเป็นการสำรองจ่ายค่าภษีให้ลูกค้า500,000 บาทและจะจ่ายคืนกันเมื่อไม่มีการสำรองเงินค่าภาษีให้กันอีกต่อไปต้องออกใบเสร็จและถือเป็นรายได้หรือไม่
ปกติเราจะแอดวานซ์ให้ลูกค้ารายหนึ่งในวงเงินจำนวน 1 ล้านบาท ซึ่งลูกค้าก็จะจ่ายคืนมาเป็นรอบการจ่ายของเขา(เคสพิเศษ ปกติแอดวานซ์ให้เจ้าอื่นแล้วค้องจ่ายคืนภานใน3วัน) แต่มีเคสเร่งด่วนคือทางบริษัทได้สำรองจนครบวงเงินแล้ว1ล้านบาท แต่ยังมีค่าภาษีที่ต้องสำรองจ่ายให้อีก แต่ติดปัญหาคือเกินวงเงิน ดังนั้นทางลูกค้าจึงให้บริษัทbที่อยู่ต่างประเทศจ่ายค่าภาษีให้ก่อน โดยโอนเงินเฉพาะค่าภาษีที่ต้องจ่ายมาให้ จำนวน 150,000 บาท และ 70,000 บาท ตามลำดับ
ซึ่งทางลูกค้าต่างประเทศจะยังไม่เอาเงินจำนวนดังกล่าวคืนจนกว่าจะโอนมาสำรองไว้ให้จนครบ500,000 บาท และไม่มีการสำรองค่าภาษีกันอีก
ส่วนเงินค่าภาษีนี้ ทางลูกค้าในประเทศก็จะจ่ายคืนเรามาปกติตามยอดค่าภาษีที่สำรองไปด้วย 150,000 และ 70,000 บาท ดังนั้น มีผลทำให้เราได้รับเงินมา2ทาง ทางลูกค้าในประเทศและต่างประเทศ คำถามคือเราจำเป็นต้องถือว่าเงินจำนวน 150,000และ70,000 ที่ลูกค้าทางต่างประเทศโอนมาให้นี้เป็นเงินมัดจำหรือไม่อย่างไร มีผลกับภาษีอะไรบ้างคะ หรือหากเงื่อนไขเป็นเราต้องคืนให้ต่างประเทศ บริษัท b เมื่อลูกค้าในประเทศคืนเงินดังกล่าวมาให้เราแล้ว

1 คำตอบ
เรียน คุณ ms_majang

เงินค่าภาษีอากร ที่ทางลูกค้าในประเทศและในต่างประเทศคืนมาให้บริษัทฯ จำนวน 150,000 และ 70,000 บาท ทั้ง 2 ทาง เป็นผลทำให้บริษัทฯ ได้รับชำระเกินไป จำนวน 150,000 และ 70,000 บาท โดย nature แล้วถือเป็นเจ้าหนี้อื่น บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องคืนให้แก่ บริษัท b ในต่างประเทศ ซึ่งไม่มีผลกระทบทางภาษีอากรแต่อย่างใด เว้นแต่ลูกค้าไม่ประสงค์จะขอรับคืน ก็ย่อมเป็นรายได้อื่น ที่ไม่อยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หากแต่ต้องรับรับรายได้ในทางภาษีเงินได้นิติบุคคลแต่เพียงอย่างเดียว
ตอบเมื่อ 4 ส.ค. 2559  .  ตอบโดย อจ.สุเทพ