ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจประมวลรัษฎากร และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
สุเทพ พงษ์พิทักษ์

เงินทดรองจ่าย

ถามวันที่ 9 ส.ค. 2559  .  ถามโดย jaruwan22  .  เข้าชม 22 ครั้ง

เรียนถามท่านอาจารย์ค่ะ
บริษัท ก เป็นคู่สัญญากับบริษัท ข บริษัท ก ว่าจ้างบริษัท ข ซึ่งประกอบกิจการให้บริการพนักงานขับรถยนต์ บริษัท ข ได้ทดรองจ่ายค่าทางด่วน , ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด (ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดออกใบเสร็จรับเงินในนามบริษัท ก) ต่อมาบริษัท ข จะออกใบแจ้งหนี้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายดังกล่าวที่ได้ทดรองจ่ายไปคืนจากบริษัท ก ขอเรียนถามว่า
บริษัท ข ออกใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงิน จากรายได้ค่าบริการพนักงานขับรถ และหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับเงินทดรองจ่ายที่ได้จ่ายตามที่กล่าวข้างต้น จะออกเป็นใบเสร็จรับเงินแยกต่างหาก คนละรูปแบบกับใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงิน ที่เป็นรายได้ค่าบริการ ไม่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นถูกต้องหรือไม่ และต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือไม่อย่างไร อ้างอิงตามมาตราใด ขอบพระคุณท่านอาจารย์อย่างสูงค่ะ

1 คำตอบ
เรียน คุณ jaruwan22

กรณีบริษัท ก ว่าจ้างบริษัท ข ซึ่งประกอบกิจการให้บริการพนักงานขับรถยนต์ บริษัท ข ได้ทดรองจ่ายค่าทางด่วน ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด (ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดออกใบเสร็จรับเงินในนามบริษัท ก) ต่อมาบริษัท ข จะออกใบแจ้งหนี้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายดังกล่าวที่ได้ทดรองจ่ายไปคืนจากบริษัท ก เช่นนี้
บริษัท ข ออกใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงิน จากรายได้ค่าบริการพนักงานขับรถ และหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับเงินทดรองจ่ายที่ได้จ่ายตามที่กล่าวข้างต้น จะออกเป็นใบเสร็จรับเงินแยกต่างหาก คนละรูปแบบกับใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงิน ที่เป็นรายได้ค่าบริการ ไม่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นถูกต้องแล้ว และบริษัทฯ ไม่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย จากบริษัท ข แต่อย่างใด เพราะไม่ใช่เป็นการจ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่บริษัท ข เนื่องจากไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528
ตอบเมื่อ 14 ส.ค. 2559  .  ตอบโดย อจ.สุเทพ