ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจประมวลรัษฎากร และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
สุเทพ พงษ์พิทักษ์

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับค่า Freight

ถามวันที่ 9 ส.ค. 2559  .  ถามโดย churma  .  เข้าชม 19 ครั้ง

เรียน อาจารย์สุเทพ
รบกวนสอบถามดังนี้ค่ะ
บริษัทฯ มีการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ ทางเรือ โดยมีการเรียกเก็บค่า Freight charge ดังนี้ค่ะ
1. บริษัท Forwarder ต่างประเทศ ออกใบเสร็จรับเงินเรียกเก็บค่า Freight charge ในนาม บุคคลต่างชาติที่อยู่ในไทยเกิน 180 วัน
2. บุคคลต่างชาติที่อยู่ในไทยเกิน 180 วัน มาเรียกเก็บค่า Freight charge ดังกล่าวจากบริษัทฯผู้ส่งออกที่อยู่ในประเทศไทย
3. บริษัทฯ ผู้ส่งออกที่อยู่ในประเทศไทย เปิด Invoice ค่าสินค้า พร้อมเรียกเก็บค่า Freight charge ดังกล่าว จากบริษัทลูกค้าที่ซื้อสินค้า อีกต่อหนึ่ง
จึงอยากเรียนสอบถามดังนี้ค่ะ
1. เนื่องจากบุคคลต่างชาติ เป็นผู้ทำการติดต่อธุรกรรมต่างๆแทน บริษัทลูกค้าในต่างประเทศที่ซื้อสินค้า แต่ได้มีการเรียกเก็บค่า Freight charge โดยผ่านบริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้ส่งออกในประเทศไทย รายจ่ายดังกล่าว ถือเป็นเงินทดรองจ่าย ที่บริษัทฯ ได้จ่ายไป และเรียกเก็บเงินคืนจากลูกค้า โดยที่ไม่มีรายการภาษีใดๆเกี่ยวข้อง ได้หรือไม่อย่างไร
2. หากบริษัทฯผู้ส่งออกในประเทศไทย เรียกเก็บค่า Freight charge ซึ่งรวมไปใน Invoice จากลูกค้า บริษัทจะต้องรับรู้เป็นรายได้จากการขาย หรือ ไม่ต้องรับรู้ ก็ได้ หรือไม่
3. จากข้อ 2 หากบริษัทฯ ต้องรับรู้เป็นรายได้จากการขาย แสดงว่า ค่า Freight charge บริษัทสามารถรับรู้เป็นรายจ่ายได้ ใช่หรือไม่
4. เมื่อบริษัทจ่ายค่า Freight charge ให้กับ บุคคลต่างชาติซึ่งอยู่ในประเทศไทยเกิน 180 วัน บริษัทจะต้องหัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายหรือไม่ และหักในอัตราร้อยละเท่าไร (ถ้าหักตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อยากรบกวนสอบถามวิธีการคำนวณเนื่องจากเราไม่รู้รายได้บุคคลดังกล่าวทั้งปี)
5. ค่า Freight charge ดังกล่าว มีเพียงเอกสารหลักฐานที่ทาง Forwarder เรียกเก็บบุคคลต่างชาติ บริษัทฯผู้ส่งออกสามารถนำไปถือเป็นรายจ่ายของบริษัทได้หรือไม่ และต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในนามใคร
6. การออกเอกสารตามข้อ 1-3 ด้านบน สามารถกระทำได้หรือไม่
หมายเหตุ : เงื่อนไขการชำระเงิน เป็น FOB ส่งสินค้าจากท่าเรือ แหลมฉบัง

1 คำตอบ
เรียน คุณ churma

กรณีบริษัทฯ มีการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศทางเรือ จากท่าเรือแหลมฉบัง โดยเงื่อนไขการชำระเงิน เป็น FOB มีการเรียกเก็บค่า Freight charge ดังข้อเท็จจริงที่แจ้งไป นั้น
1. เนื่องจากบุคคลต่างชาติ เป็นผู้ทำการติดต่อธุรกรรมต่างๆ แทน บริษัทลูกค้าในต่างประเทศที่ซื้อสินค้า แต่ได้มีการเรียกเก็บค่า Freight charge โดยผ่านบริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้ส่งออกในประเทศไทย รายจ่ายดังกล่าว ถือเป็นเงินทดรองจ่าย ที่บริษัทฯ ได้จ่ายไป และเรียกเก็บเงินคืนจากลูกค้า โดยที่ไม่มีรายการภาษีใดๆ เกี่ยวข้อง ได้ แต่ต้องมีหลักฐานชัดแจ้งว่า เป็นการชำระค่าขนส่งแทนลูกค้าผู้ซื้อในต่างประเทศ
2. เนื่องจากข้อตกลงราคาเป็นเงื่อนไข FOB จึงไม่รวมค่า Freight charge หากบริษัทฯ ผู้ส่งออกเรียกเก็บค่า Freight charge จากลูกค้า โดยรวมไปใน Invoice อาจเป็นผลให้บริษัทฯ จะต้องรับรู้เป็นรายได้จากการขาย
3. จากข้อ 2 หากบริษัทฯ ต้องรับรู้เป็นรายได้จากการขาย แสดงว่า ค่า Freight charge บริษัทสามารถรับรู้เป็นรายจ่ายได้ ถูกต้องแล้วครับ
4. เมื่อบริษัทฯ จ่ายค่า Freight charge ให้กับบุคคลต่างชาติซึ่งอยู่ในประเทศไทยเกิน 180 วัน บริษัทฯ จะต้องหัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 ของเงินได้ หรือไม่ ขึ้นอยู้กับข้อเท็จจริงว่า บุคคลต่างชาตินั้นเป็นตัวแทนของบริษัทฯ หรือไม่
- กรณีที่ไม่เป็นตัวแทนของบริษัทฯ บริษัทฯ ต้องหัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 ของเงินได้ จากบุคคลต่างชาตินั้น
- กรณีที่ไม่เป็นตัวแทนของบริษัทฯ บริษัทฯ ต้องหัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 ของเงินได้ จาก Forwarder
5. ค่า Freight charge ดังกล่าว มีเพียงเอกสารหลักฐานที่ทาง Forwarder เรียกเก็บบุคคลต่างชาติ บริษัทฯ ผู้ส่งออกสามารถนำไปถือเป็นรายจ่ายของบริษัทได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงและหลักฐานประกอบ และต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในนามใคร
6. การออกเอกสารตามข้อ 1-3 ด้านบน สามารถกระทำได้ แต่ต้องมีความชัดเจนในความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับบุคคลต่างชาตินั้นด้วย
ตอบเมื่อ 14 ส.ค. 2559  .  ตอบโดย อจ.สุเทพ